คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตกลงกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการสละมรดก: การตกลงชำระหนี้และสละสิทธิในทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องเจาะจงสละที่ดินมรดกส่วนของผู้ร้องให้จำเลยโดยเฉพาะ ไม่ใช่การสละมรดกตามความในมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่การที่ผู้ร้องและจำเลยตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายให้จำเลยเป็นผู้ใช้หนี้โจทก์แทนนาง อ. และผู้ร้องยอมสละที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลย เช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 ใช้บังคับได้ และเมื่อผู้ร้องยอมสละส่วนมรดกของตนให้จำเลยไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันเมื่อตกลงกันสมบูรณ์ แม้จะมีการแบ่งชำระเบี้ยประกันภัย การบอกล้างกรมธรรม์เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา
โจทก์เสนอขอเอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ต่อบริษัทรับประกันภัยจำเลยนอกจากบริษัทจำเลยจะให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัยแล้ว พนักงานบริษัทยังได้จดแจ้งจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยไว้บนใบเสนอขอเอาประกันภัยนี้ เพื่อโจทก์ได้ทราบด้วยแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งเงินเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันทีเมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัย เช่นนี้ย่อมถือว่าสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกมัดคู่กรณีแล้ว ข้อความในหนังสือบริษัทจำเลยซึ่งขอให้โจทก์รีบส่งเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันที รวมทั้งที่มีระบุไว้ในคำขอเอาประกันภัยว่า "ยังไม่มีความรับผิดใด ๆ จนกว่าบริษัทจะยอมรับคำขอเอาประกันนี้และได้ชำระเบี้ยประกันเต็มจำนวนแล้ว" ไม่พอฟังเป็นเงื่อนไขว่า สัญญาจะมีผลผูกพันต่อเมื่อมีการชำระเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันเมื่อตกลงกันแล้ว แม้ยังไม่ชำระเบี้ยประกันภัยทั้งหมด
โจทก์เสนอขอเอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ต่อบริษัทรับประกันภัยจำเลยนอกจากบริษัทจำเลยจะให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัยแล้ว พนักงานบริษัทยังได้จดแจ้งจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยไว้บนใบเสนอขอเอาประกันภัยนี้เพื่อโจทก์ได้ทราบด้วยแล้วต่อมาบริษัทจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งมีหนังสือเตือนให้โจทก์ส่งเงินเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันทีเมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัย เช่นนี้ย่อมถือว่าสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกมัดคู่กรณีแล้ว ข้อความในหนังสือบริษัทจำเลยซึ่งขอให้โจทก์รีบส่งเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัททันที รวมทั้งที่มีระบุไว้ในคำขอเอาประกันภัยว่า "ยังไม่มีความรับผิดใด ๆ จนกว่าบริษัทจะยอมรับคำขอเอาประกันนี้และได้ชำระเบี้ยประกันเต็มจำนวนแล้ว"ไม่พอฟังเป็นเงื่อนไขว่า สัญญาจะมีผลผูกพันต่อเมื่อมีการชำระเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: อัตราค่าเช่าต้องตกลงกัน อัตราเดิมไม่ใช่สิทธิจำเลยโดยอัตโนมัติ
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกันมีข้อความว่า "ผู้ให้เช่าจะยอมให้ผู้เช่า เช่าสถานที่ต่อไปอีกคราวหนึ่งมีกำหนด 10 ปี ในอัตราค่าเช่าอย่างเดิมหรืออัตราค่าเช่าอื่นใดสุดแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน" นั้นหมายความว่าการที่โจทก์จะยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 10 ปีนั้น อัตราค่าเช่าจะเป็นอย่างเดิมก็ดี หรืออย่างอื่นใดก็ดี โจทก์จำเลยจะต้องตกลงซึ่งกันและกันเสียก่อน ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการเช่าตามกฎหมาย และเป็นเจตนาของคู่สัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลื่อนการขายทอดตลาดและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อความเป็นธรรม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง โดยวิธีให้ศาลขายทอดตลาด เมื่อขายได้เงินแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง ต่อมาในวันขายทอดตลาด จำเลยแถลงว่าราคายังต่ำอยู่ควรประกาศขายใหม่โจทก์คัดค้านว่าราคาสูงแล้วศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกันและมีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปตามที่คู่ความตกลงกันดังนี้การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดตลาดหรือไม่ก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ
เมื่อคู่ความได้ตกลงกันต่อหน้าศาลและข้อตกลงนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานกระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม และรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทยโจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลื่อนการขายทอดตลาดและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อความเป็นธรรมได้
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง โดยวิธีให้ศาลขายทอดตลาด. เมื่อขายได้เงินแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง. ต่อมาในวันขายทอดตลาด จำเลยแถลงว่าราคายังต่ำอยู่ควรประกาศขายใหม่โจทก์คัดค้านว่าราคาสูงแล้ว. ศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกันและมีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปตามที่คู่ความตกลงกันดังนี้. การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดตลาดหรือไม่. ก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ.
เมื่อคู่ความได้ตกลงกันต่อหน้าศาลและข้อตกลงนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน.กระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย. การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม และรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทย. โจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป.กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการตกลงกันในคดีอาญา: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นตามฟ้องเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในอันที่จะตกลงกันหรือที่เรียกว่าท้ากัน ขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อหนึ่งข้อใดโดยเฉพาะแล้วให้ศาลพิพากษาชี้ขาดไปตามประเด็นข้อที่ตกลงหรือท้ากันนั้นได้. และในการนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138,182 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตกลงหรือท้ากันในคดีแพ่งมาใช้กับคดีอาญาโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ก็ไม่ได้. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 บัญญัติบังคับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสียค่าภาคหลวง.จำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในข้อหานี้แต่รับสารภาพในข้ออื่นที่โจทก์มิได้ฟ้อง. เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน.ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้เป็นโมฆะ การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นตามตกลง ทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เอามารวมเป็นต้นเงินกู้ในสัญญา ดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งหมด มิใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกิน (อ้างฎีกาที่478/2488)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน 14,000 บาท จำเลยให้การว่ากู้และรับเงินเพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 4,000 บาทเอาดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 8 เดือน มารวมเข้าเป็นเงินต้นด้วย เป็นคำให้การที่ต่อสู้ถึงหนี้ตามสัญญากู้ 4,000 บาท ว่าไม่สมบูรณ์
การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์ คู่ความมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างได้
การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรของเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้กับบุตรมีสิทธิจะได้รับ แล้วเอามาหักชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ มิใช่เป็นกรณีเจ้าหนี้ตั้งตัวแทนรับชำระหนี้ แต่เป็นการตกลงที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321หนี้นั้นย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่มีผลผูกพันเมื่อตกลงกันยังไม่ชัดเจน และการลงทุนปรับปรุงพื้นที่เป็นประโยชน์จำเลยเอง
จำเลยพูดขอเช่าที่พิพาทกับผู้แทนโจทก์มีกำหนด 10 ปีผู้แทนโจทก์รับว่าจะให้เช่าเป็นเวลา 10 ปีตามขอแต่ให้รอการแบ่งแยกที่ดินมรดกกันเสียก่อน เมื่อรู้ว่าตกเป็นของใครจึงจะค่อยทำสัญญาเช่ากันต่อไป จำเลยเชื่อว่าจะได้เช่ามีกำหนด 10 ปี จึงลงทุนปรับพื้นที่ซึ่งเป็นหลุมบ่อและสร้างเขื่อนริมคลอง ดังนี้ การที่จำเลยกระทำดังนั้นก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง ไม่ได้เป็นข้อตกลงหรือข้อเรียกร้องจากฝ่ายเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ตกลงกันระหว่างผู้ออกและผู้รับว่าจะลงวันถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด ไม่ถือเป็นตั๋วที่ใช้เงินเมื่อเห็น และไม่ขาดอายุความ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทอุดม จำกัด ได้กู้เงินจากโจทก์ไป 500,000 บาท โดยมอบกระดาษฝากเข้าคลังสินค้าของโจทก์และจำนำกระดาษนั้นไว้เป็นประกัน โดยโจทก์ออกใบรับคลังสินค้าและใบประทวนสินค้าให้ไว้เป็นสำคัญ มีกำหนดชำระหนี้ภายใน 3 เดือน แต่โจทก์ยอมผ่อนผันให้ต่ออายุใบประทวนสินค้าไปได้เป็นระยะๆ เพื่อให้โจทก์อำนวยประโยชน์ต่ออายุใบประทวนสินค้าให้บริษัทอุดม จำกัด จำเลยจึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ไว้หนึ่งฉบับ ลงวันที่27 ธันวาคม 2494 มีข้อความว่า จำเลยในฐานะส่วนตัวสัญญาจะใช้เงิน 500,000 บาทให้แก่โจทก์ในวันถึงกำหนดและได้มอบตั๋วนี้ไว้แก่กรรมการบริษัทโจทก์โดยมีคำสั่งมอบหมายแก่กรรมการบริษัทโจทก์ว่า วันถึงกำหนดแห่งตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เมื่อใดมีความจำเป็นที่โจทก์จะใช้ตั๋วนี้ฟ้องร้องชำระหนี้จากจำเลยเป็นส่วนตัว ก็ให้กรรมการบริษัทโจทก์กรอกวันถึงกำหนดแห่งตั๋วเอาเอง ดังนี้ กำหนดใช้เงินตามตั๋วต้องเป็นไปตามกำหนดเวลาในใบประทวนสินค้าคือ ระยะละ 3 เดือน ถ้ามีการต่ออายุใบประทวนสินค้าไปเท่าไร กำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินก็ตามไปด้วยถ้าไม่มีการต่ออายุใบประทวนสินค้าเมื่อไร การใช้เงินตามตั๋วก็ถึงกำหนดไปด้วยเมื่อนั้น แล้วจึงให้ฝ่ายโจทก์กรอกวันถึงกำหนดใช้เงินลงในตั๋ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยกันเองเช่นนี้ ต้องถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับนี้มีกำหนดเวลาใช้เงินตามกำหนดเวลาในใบประทวนสินค้า หาใช่กำหนดให้ใช้เงินเมื่อเห็นตั๋วไม่ ข้อตกลงเช่นว่านี้ไม่เป็นการผิดหรือขัดต่อกฎหมาย และไม่เป็นการขยายอายุความ
of 7