พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องนำสืบโดยให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสตรวจสอบเพื่อรับรองหรือปฏิเสธ หากไม่ทำ ศาลไม่รับฟังเป็นหลักฐาน
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุที่จำเลยทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามที่จำเลยนำสืบก็น่าจะได้นำเข้าถามค้านพยานโจทก์โดยเปิดเสียงเพื่อให้พยานโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าได้บันทึกเสียงไว้ รับรองหรือปฏิเสธเสียงหรือข้อความนั้น เมื่อพยานโจทก์นั้นไม่ได้ฟังข้อความในแถบบันทึกเสียงและไม่ได้ยอมรับคำถอดข้อความที่จำเลยอ้าง แม้แถบบันทึกเสียงจะมีข้อความดังคำถอดข้อความก็ตาม ก็ไม่พอฟังเป็นยุติตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบทรัพย์สินที่ได้มาไม่สมเหตุสมผลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการ โดยพิจารณาจากรายได้ที่แท้จริงและแหล่งที่มา
การส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินตามมาตรา20แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯไม่จำเป็นต้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษไล่ออกเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเสียก่อนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นวิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอันเป็นวิธีการทางวินัยไม่ใช่การลงโทษทางอาญาที่บุคคลจะต้องรับโทษต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้กฎหมายนี้จึงใช้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ได้ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหรือบุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมาตรา21จัตวาที่ว่าแม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปด้วยเหตุอื่นนอกจากตายก็ให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้แต่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน1เดือนนับแต่ผู้นั้นพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมีเจตนารมณ์ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะแสดงทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย: ศาลต้องตรวจสอบอาการก่อนปฏิเสธคำร้อง
ในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นการนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุว่าไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย โจทก์รับสำเนาคำร้องแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริง ดังนั้นศาลชอบที่จะดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่ง คือตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลยหรือให้แพทย์ไปตรวจด้วย แล้วพิจารณาจากรายงานของผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจดังกล่าวหากเชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงก็อนุญาตให้เลื่อนคดีไปตามขอ แต่หากอาการป่วยไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้ก็ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการขาดนัดหรือการไม่มาศาลของทนายจำเลย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปในทันทีว่าไม่น่าเชื่อว่าทนายจำเลยจะป่วยถึงขนาดมาศาลไม่ได้ จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบโดยไม่ได้ดำเนินการไต่สวนหรือตั้งผู้ใดไปตรวจสอบจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบบัญชีคุมสินค้าเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
บัญชีคุมสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ทวิ เป็นบัญชีอื่นอันควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกหรือสั่งให้ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนำมาแสดงหรือมอบอำนาจให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไต่สวนได้ตามมาตรา 19
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ทวิ ในการทำบัญชีคุมสินค้า แต่โจทก์ไม่นำบัญชีคุมสินค้ามาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้บุคคลของโจทก์ได้ตามมาตรา 71 (1)
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 ทวิ ในการทำบัญชีคุมสินค้า แต่โจทก์ไม่นำบัญชีคุมสินค้ามาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้บุคคลของโจทก์ได้ตามมาตรา 71 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนสิทธิในที่ดิน กรณีตรวจสอบลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่รอบคอบ
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดเนื่องจากประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในการตรวจสอบหลักฐานต่างๆให้ถูกต้องในขณะที่ ว. จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทโดยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นเหตุให้ ว. นำที่ดินพิพาทมาขายฝากให้โจทก์ทั้งสี่ต่อมาเจ้าของที่ดินพิพาทได้ฟ้อง ว.โจทก์ที่2และที่4กับจำเลยที่3และที่4ขอให้เพิกถอนการขายฝากและศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดฐานละเมิดมิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับเรื่องนิติกรรมหรือสัญญาแม้โจทก์ที่1และที่3จะมิได้มีชื่อเป็นผู้รับซื้อฝากในสารบัญจดทะเบียนโจทก์ที่1และที่3ก็มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่4และที่5ในคดีที่เจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากหรือจำเลยที่4และที่3ในคดีนี้ได้ฎีกาขอให้ตนเองไม่ต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้แต่จำเลยที่2และที่3ในคดีดังกล่าวหรือโจทก์ที่2และที่4ในคดีนี้ก็ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ด้วยเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีแล้วซึ่งฟังได้ว่าบุคคลใดบ้างมีส่วนกระทำละเมิดและต้องรับผิดต่อโจทก์คดีจึงเริ่มนับอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ผู้แทนของจำเลยที่4ปฏิบัติราชการในหน้าที่โดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่4โดยมิได้ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจและถ่ายภาพบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจเก็บไว้ขณะจดทะเบียนนิติกรรมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารใบแจ้งรายการบัตรเครดิตเป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรครบถ้วน
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่า ผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไปซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฏถึง วัน เดือน ปี รหัสประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักเกณฑ์การรับฟังเอกสารทางแพ่ง, หนี้บัตรเครดิต, และการตรวจสอบรายการใช้จ่ายโดยผู้ถือบัตร
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่าผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฎถึง วัน เดือน ปี รหัส ประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใดส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในครอบครองของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) เดิมและถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตามมาตรา 93(2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา & การตรวจสอบใบมอบอำนาจ: เงื่อนไข & ขอบเขต
ป.วิ.พ. มาตารา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสอง คือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 วรรคสาม มิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่า ผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญา ก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนเมื่อใด: การซื้อขายมีเงื่อนไขตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพ
เมื่อโจทก์ร่วมสั่งซื้อน้ำยาเคมีสไตรีนโมโนเมอร์สำหรับทำพลาสติกเม็ดจากบริษัท ช. บริษัท ช. จะว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ใช้รถยนต์บรรทุกน้ำยา-เคมีไปส่งให้โจทก์ร่วม เมื่อรถส่งน้ำยาเคมีมาถึงโรงงานของโจทก์ร่วม เจ้าหน้าที่ตรวจรับนำยาเคมีของโจทก์ร่วมจะชั่งน้ำหนักของรถรวมกับน้ำยาเคมีเสียก่อนหากปรากกฏว่าแตกต่างกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในใบส่งของเป็นจำนวนมาก โจทก์ร่วมจะสอบถามไปยังบริษัทช. หากชั่งน้ำหนักถูกต้องเรียบร้อย โจทก์ร่วมจะตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาเคมีว่าได้มาตรฐานถูกต้องตามความต้องการของโจทก์ร่วมหรือไม่อีก หากถูกต้องจึงจะถ่ายน้ำยา-เคมีสู่ถังเก็บนำยาของโจทก์ร่วมหากไม่ถูกต้องก็จะให้รถบรรทุกน้ำยาเคมีกลับไป การซื้อขายระหว่างโจทก์ร่วมกับบริษัท ช. จึงเป็นการซื้อขายโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ร่วมจะรับมอบน้ำยาเคมีต่อเมื่อมีการตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพแล้ว เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมีที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อจากบริษัท ช. จะตกเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อมีการถ่ายน้ำยาเคมีจากรถบรรทุกลงสู่ถึงเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ขับรถบรรทุกน้ายาเคมีไปที่โรงงานของโจทก์ร่วม แล้วชั่งน้ำหนักรถรวมกับน้ำยาเคมี ปรากฏว่าน้ำหนักขาดหายไปมาก โจทก์ร่วมไม่อนุญาตให้ถ่ายน้ำยาเคมีลงสู่ถังเก็บของโจทก์ร่วมจำเลยจึงขับรถกลับไป แสดงว่าโจทก์ร่วมยังไม่ได้ตับมอบน้ำยาเคมีที่สั่งซื้อ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมียังคงเป็นของบริษัท ช. ยังไม่โอนไปยังโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้เมื่อน้ำยาเคมีหายไป โจทก์ย่อมไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำยาเคมีแก่โจทก์ร่วมได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ขับรถบรรทุกน้ายาเคมีไปที่โรงงานของโจทก์ร่วม แล้วชั่งน้ำหนักรถรวมกับน้ำยาเคมี ปรากฏว่าน้ำหนักขาดหายไปมาก โจทก์ร่วมไม่อนุญาตให้ถ่ายน้ำยาเคมีลงสู่ถังเก็บของโจทก์ร่วมจำเลยจึงขับรถกลับไป แสดงว่าโจทก์ร่วมยังไม่ได้ตับมอบน้ำยาเคมีที่สั่งซื้อ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมียังคงเป็นของบริษัท ช. ยังไม่โอนไปยังโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้เมื่อน้ำยาเคมีหายไป โจทก์ย่อมไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำยาเคมีแก่โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาเอกสารต้องให้ถึงมือคู่ความก่อนวันสืบพยานตามกฎหมาย เพื่อให้ตรวจสอบและซักค้านได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 บัญญัติไว้ความว่า คู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐาน ให้ส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งสำเนาเอกสารนั้น ๆ ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันนั้นกฎหมายประสงค์ให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อน จะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กันคำว่า "ส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสำเนาเอกสารนั้น ๆ"จึงมีความหมายว่า ส่งสำเนาเอกสารให้ถึงคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหากจะถือเอาวันที่ส่งสำเนาเอกสารเป็นสำคัญแล้วก็ย่อมเปิดช่องให้มีการเอาเปรียบแก่กันได้ เป็นการไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติของกฎหมาย.