คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัวแทนจำหน่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าโดยตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) หากไม่มีเจตนาทำให้ประชาชนหลงเชื่อ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้น จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำมีเจตนาพิเศษในการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าคำว่า Q-MATIC จึงเป็นการใช้ตามสิทธิที่จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการกระทำอันมีลักษณะเป็นการเอาชื่อ รูป หรือรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าคำว่า Q-MATIC ของโจทก์ไปใช้กับการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และมีเจตนาพิเศษเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์แต่อย่างใด แม้ต่อมาโจทก์จะได้แจ้งยกเลิกการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ และไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า Q-MATIC ประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 ต่อไป หากจำเลยทั้งสองยังคงใช้คำดังกล่าวต่อไปอีกก็เป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งของจำเลยทั้งสองเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิดทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 272 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397-399/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินส่วนลดจากตัวแทนจำหน่ายเครื่องสำอาง: เงินได้จากการขาย (มาตรา 40(8)) ไม่ใช่เงินได้จากการรับทำงาน (มาตรา 40(2))
สินค้าที่โจทก์รับไปจากบริษัทเป็นสินค้าที่บริษัทขายให้โจทก์ในลักษณะขายขาด โดยบริษัทได้ออกใบส่งของและใบกำกับภาษีในนามของโจทก์เป็นลูกค้าไม่ได้ออกในนามของบุคคลอื่นที่แสดงว่าบุคคลอื่นซื้อสินค้าจากโจทก์ในฐานะเป็นตัวแทนขายสินค้าของบริษัท โจทก์ต้องรับผิดชอบกำไรขาดทุนเอง จึงเป็นการซื้อขายธรรมดา เงินส่วนลดที่โจทก์ได้รับจากบริษัท จึงเป็นเงินได้จากการธุรกิจขายสินค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเรียกค่าเสียหายจากเลิกสัญญาตัวแทนจำหน่ายเดิม ย่อมเป็นฟ้องซ้อนหากฟ้องคดีใหม่ระหว่างคดีเดิมยังพิจารณาอยู่
คดีสองสำนวนก่อนกับคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเลิกสัญญาตัวแทนจำหน่ายฉบับเดียวกันในคราวเดียวกัน จึงมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นเดียวกัน แม้คดีนี้จะมีคำขอที่แตกต่างกันไปโดยอ้างข้อตกลงในสัญญาตัวแทนจำหน่ายว่าภายหลังเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยมีหน้าที่รับคืนสินค้าแต่จำเลยไม่รับคืน ทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นคำขอที่สามารถขอได้ในสองคดีก่อนอยู่แล้ว เพราะการเรียกค่าเสียหายเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุที่จำเลยเลิกสัญญาฉบับเดียวกัน และจำเลยมีหนังสือแจ้งการไม่ต่อสัญญาตัวแทนจำหน่ายไปยังโจทก์ พร้อมกับแจ้งสิทธิหน้าที่ตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายให้โจทก์ส่งมอบสินค้าในคลังสินค้าคืนแก่จำเลยตามราคาที่สั่งซื้อไปถึงสองครั้งแต่โจทก์เพิกเฉยและกลับไปฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นสองคดีก่อน แสดงได้ชัดเจนว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องคืนสินค้ากันก่อนฟ้องสองคดีก่อน และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกในคดีนี้สามารถเรียกได้ในสองคดีก่อนอยู่แล้ว หรือหากมีความเสียหายเพิ่งปรากฏภายหลังฟ้องสองคดีก่อน โจทก์ก็สามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเรียกค่าเสียหายในสองคดีก่อนได้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันใหม่เป็นคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสนับสนุนส่งเสริมการขายจากผู้ผลิตรถยนต์ให้ตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือเป็นค่าตอบแทนบริการโฆษณา ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจะพิจารณาว่ากิจกรรมของโจทก์เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายหรือเพื่อรับจ้างให้บริการโฆษณาสินค้าให้แก่บริษัท ต. ควรพิจารณาจากวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดกิจกรรมของโจทก์ ซึ่งตามพยานหลักฐานเห็นได้ว่า โจทก์คิดรูปแบบรายละเอียดกิจกรรมของโจทก์ขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเพิ่มยอดขาย ส่วนบริษัท ต. ก็ย่อมได้รับประโยชน์ไปด้วยโดยปริยาย โดยการที่มีผู้ซื้อรถยนต์จากโจทก์ย่อมทำให้บริษัท ต. ขายรถยนต์แก่โจทก์เพิ่มขึ้น เงินที่บริษัท ต. จ่ายไปเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของโจทก์ ก็ย่อมเป็นเงินที่บริษัทดังกล่าวจ่ายเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้โจทก์ทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มยอดขายจนบริษัท ต. ได้ประโยชน์จากยอดขายด้วย จึงถือได้ว่าเงินที่บริษัท ต. เบิกจ่ายให้ตามคำขอของโจทก์เพื่อทดแทนเงินที่โจทก์ต้องออกไปก่อนเป็นค่าใช้จ่ายการทำกิจกรรมของโจทก์ดังกล่าว เป็นเงินสนับสนุนการขาย ไม่ใช่ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการให้บริการโฆษณาโดยโจทก์แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.118/2545 ข้อ 1 และ 8 และเมื่อเงินสนับสนุนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ต. ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนจากการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินดังกล่าวไปรวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่ง ป.รัษฎากร
of 4