พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำนันเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาแล้วปล่อยตัว ถือเป็นความผิดฐานใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต
กำนันจับผู้กระทำผิดฐานฆ่ากระบือ โดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย แล้วปล่อยตัวผู้เสียหายไป เป็นการนอกเหนือเหลือเกิน มิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 138 วรรคท้าย และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา พ.ศ. 2484 มาตรา 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวของพนักงานสอบสวน: ตำแหน่งหน้าที่ราชการ
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งทำไว้กับนายตำรวจในฐานะตำแหน่งหน้าที่ราชการและมีอำนาจทำได้นั้นนายตำรวจเปนโจทก์ฟ้องขอให้ปรับนายประกันฐานผิดสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชั่วคราวก็เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารได้ หากกระทำในตำแหน่งหน้าที่
เสมียนอำเภอซึ่งมีหน้าที่เขียนและรับเงินเกี่ยวกับตั๋วพิมพ์รูปพรรณสัตว์ได้ปลอมใบนำส่งเงินซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรนั้นถือว่าเป็นการกระทำในหน้าที่ ต้องมีผิดฐานปลอมหนังสือตาม ม.229 ความผิดในเรื่องเจ้าพนักงานกระทำผิดในตำแหน่งหน้าที่นั้นไม่จำต้องเป็นตำแหน่งหน้าที่ประจำ แม้เป็นหน้าที่ชั่วคราวก็เป็นผิด อ้างฎีกาที่ 758/2478 ในคดีที่จำเลยกระทำผิดกฎหมายหลายบทนั้น เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยมีผิดตามบทหนักแล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจะผิดกฎหมายบทเบาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีกล่าวหานายกรัฐมนตรีทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่: ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีอำนาจพิจารณาแต่เพียงผู้เดียว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ มาตรา 275 กำหนดให้คดีที่กล่าวหานายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ. หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาและพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยกำหนดหลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ว่า ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทำความเห็นส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 4 บัญญัติว่า "นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ศาลอื่นรับคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้พิจารณาพิพากษา" และมาตรา 9 บัญญัติว่า "ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้ (1) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี...กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น" เมื่อคดีนี้มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น หาอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบใน พ.ร.บ.เลือกตั้ง ต้องกระทำในอำนาจหน้าที่โดยตรงเท่านั้น
องค์ประกอบสำคัญในความผิดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 47 นั้น ผู้กระทำจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการเฉพาะที่เกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของตนโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตามระเบียบราชการหรือตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นโดยตรง แต่กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจหน้าที่ให้กระทำย่อมไม่เป็นความผิดตามบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสิบจะระบุตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านลงในหนังสือร้องเรียนก็หาเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสิบมีอำนาจหน้าที่ใด ๆ ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงไม่ ทั้งการทำหนังสือร้องเรียนนั้น จำเลยทั้งสิบสามารถกระทำได้โดยไม่จำต้องอาศัยการมีตำแหน่งหน้าที่ราชการใด จึงไม่ใช่การกระทำที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 47