พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การได้รับประโยชน์จากที่ดินที่ขาย ถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ปลูกสร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุในโจทก์ฟ้องร้องเป็นคดีเกิดจากการที่โจทก์ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ผ่านถนนของจำเลยโดยไม่จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและเปิดถนนให้โจทก์ใช้ประโยชน์ตามเดิมดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์ไม่ว่าโจทก์จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตามเมื่อโจทก์ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้นเพราะบุคคลอื่นที่สร้างบ้านหรืออาคารในที่ดินที่ซื้อไปจากโจทก์ก็ต้องขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ถนนของจำเลยเช่นกันจึงต้องตีความว่าการที่โจทก์ขายที่ดินให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้นย่อมถือเสมือนว่าโจทก์จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินเพราะหากโจทก์ไม่ขายที่ดินแล้วบุคคลอื่นก็ไม่มีสิทธิจะเข้าไปปลูกสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวได้และโจทก์ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดินถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ไม่ได้สร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิมดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตามเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้นและการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้นย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องและโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดินถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความข้อตกลงเรื่องสิ่งปลูกสร้างก่อนและหลังสัญญา
ข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าที่ดินว่าเมื่อสิ้นอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่าต้องรื้อออกจากที่ดินของผู้ให้เช่าทันทีโดยไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนหรือค่าเสียหายใดจากผู้ให้เช่าส่วนสิ่งที่ได้ปลูกสร้างลงไว้ในที่ดินของผู้ให้เช่าผู้เช่ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นนั้นเป็นข้อความที่ระบุถึงสิ่งก่อสร้างไว้เป็นสองตอนตอนแรกระบุให้ผู้เช่าต้องรื้อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงตอนหลังระบุถึงสิ่งที่ผู้เช่าปลูกสร้างว่าผู้เช่าต้องยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าข้อความทั้งสองตอนมีความหมายที่แตกต่างกันคือข้อความตอนแรกไม่ได้กล่าวถึงการปลูกสร้างแต่กล่าวถึงการรื้อถอนเลยแสดงว่าขณะทำสัญญาเช่าที่ดินในที่พิพาทมีสิ่งปลูกสร้างของผู้เช่าอยู่ก่อนแล้วซึ่งก็คือบ้านพิพาทเลขที่354และ356ของจำเลยเพราะบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวจำเลยปลูกสร้างก่อนทำสัญญาเช่าที่ดินสำหรับข้อความในตอนหลังคู่สัญญาน่าจะหมายถึงสิ่งที่จะปลูกสร้างหลังจากทำสัญญาเช่าที่ดินแล้วดังนั้นบ้านพิพาททั้งสองหลังจึงยังไม่เป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าที่ดินโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะหารายได้จากบ้านพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา หลักประกัน ค่าเสียหาย และเบี้ยปรับ: การตีความข้อสัญญาและการบังคับใช้
จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้ทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลโดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเองเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวระบุให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมาย จำเลยที่ 2 สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย่อมอ่านและเข้าใจข้อความในหมายเรียกได้ดีกว่าจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกนั้นแต่จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนด จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 สิงหาคม 2535ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามที่โจทก์ขอเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าไม่เคยถูกฟ้องคดีแพ่งมาก่อนและไม่ทราบกระบวนพิจารณาทางกฎหมาย เข้าใจว่าคงเป็นเช่นเดียวกับคดีอาญาซึ่งจำเลยทั้งสองเคยถูกฟ้องและได้ไปหาทนายความก่อนวันที่ศาลนัดเพียง 2 ถึง 3วันก็ได้นั้น ไม่เป็นเหตุผลให้รับฟังได้ แม้ได้ความจากเอกสารการตรวจรับงานและการจ่ายเงินว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ยึดถือระยะเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 300 วัน ตามสัญญาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ.ก่อสร้างบ้านต่อจากจำเลยที่ 1 ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จ โดยตกลงค่าจ้างเป็นเงินจำนวน 3,916,901 บาท และโจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกักผ.ทำการก่อสร้างบ้านต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเงิน 1,816,901 บาทจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามที่ได้สัญญาไว้ แต่โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์เป็นเงินเพียง900,000 บาท และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียง 900,000 บาท คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ทำงานนอกสัญญาจ้างเดิมโดยให้ก่อสร้างรั้วป้อมยามกับศาลาพักร้อนและโจทก์ค้างชำระค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงิน 624,000 บาทเศษ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยได้นั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ขอหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะขอหักกลบลบหนี้ได้เช่นนั้น ศาลไม่มีอำนาจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยได้ เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับ ข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3 ที่ว่าถ้าจำเลยผู้รับเหมาเพิ่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่โจทก์ผู้ว่าจ้างมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ 5,000 บาท มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแยกไว้ชัดแจ้งเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว ส่วนการที่หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคาร ข้อ 5 มีข้อความว่า ในวันทำสัญญานี้จำเลยได้นำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท มีกำหนดเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันที่สัญญานี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจำเลยจะพ้นความรับผิดชอบตามสัญญามามอบให้ผู้ว่าจ้างยึดถือไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ถ้าระยะเวลาการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเหตุให้ระยะเวลาต้องยึดออกไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามหรือมีเหตุให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเพิ่มขึ้น จำเลยสัญญาว่าจะต่ออายุหนังสือค้ำประกันออกไปหรือเพิ่มจำนวนเงินที่ค้ำประกันให้เพียงพอกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น โดยจะนำมามอบให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์เรียกร้อง และวรรคสองระบุว่าหนังสือค้ำประกันที่จำเลยนำมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้ตามวรรคแรกโจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยได้มอบงานซึ่งเสร็จสมบูรณ์ให้แก่โจทก์และนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันความชำรุดบกพร่องของอาคารที่สร้างขึ้นตามข้อ 22 มามอบให้โจทก์แล้ว และข้อ 21 ระบุว่าเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยอมให้โจทก์ดำเนินการตามข้อ 21.1คือริบหลักประกันดังกล่าวในสัญญาข้อ 5 เช่นนี้ ข้อสัญญาเกี่ยวกับหลักประกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5 เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยทั้งสอง แต่ในที่สุดจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์สัญญาข้อ 5 และข้อ 21.1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำขึ้นและปฏิบัติต่อกันเช่นที่กล่าวมานี้จึงเป็นเพียงให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งโจทก์อาจมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเช่นที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 3เท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาเพื่อกำหนดเบี้ยปรับขึ้นใหม่ไม่ และกรณีนี้เมื่อไม่มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 5และ ข้อ 21.1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินจำนวน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9775/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาซื้อขายที่ดินตามเจตนาที่แท้จริงและการหักชำระหนี้
ข้อสัญญาจะมีความหมายเพียงใดต้องอ่านข้อความทั้งหมดประกอบกับทางปฏิบัติของคู่สัญญา เพื่อจะได้ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงตาม ป.พ.พ.มาตรา 368ที่ให้ตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริต
โจทก์และทายาทอื่นของ ท.ไม่มีเงินไถ่จำนองที่ดินพิพาทตามที่ธนาคารผู้รับจำนองเร่งรัดมา จึงได้ขอให้ บ.น้องชายของ ท.ช่วยเหลือ แต่ บ.มีข้อแม้ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท.โอนที่ดินพิพาทเป็นขายให้จำเลย โดยทำบันทึกกันไว้ให้โจทก์ซื้อที่ดินได้ภายใน 3 ปี ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทมีราคาสูงกว่าราคาที่จำนองไว้มาก ดังนี้ การที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยก็เพื่อให้เป็นหลักประกันเท่านั้น ส่วนข้อความในเอกสารดังกล่าวที่ว่าให้โอกาสแก่โจทก์เพียงผู้เดียวที่จะมาซื้อที่ดินคืนภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่รับโอน หรือให้โอกาสแก่โจทก์เป็นผู้มาติดต่อในการที่จะขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกได้ โดยผู้ที่จะติดต่อกับจำเลยจะต้องเป็นโจทก์เท่านั้น โดยจำเลยจะไม่ติดต่อกับบุคคลใดอีกเป็นอันขาด มีความหมายว่า ให้โจทก์เพียงผู้เดียวที่จะซื้อคืนได้หรือพาบุคคลภายนอกมาซื้อ จำเลยจะไม่ติดต่อขายให้แก่บุคคลใดนอกจากผู้ที่ติดต่อผ่านทางโจทก์มาเท่านั้น แม้ต่อมาในวันที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยนั้น โจทก์และจำเลยจะได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นอีกฉบับหนึ่งโดยกำหนดราคาที่โจทก์จะซื้อคืน และเริ่มนับระยะเวลาซื้อคืนไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันนั้นก็ตาม ก็เป็นเพียงบันทึกที่ต่อเนื่องมาจากบันทึกข้อตกลงฉบับแรกเท่านั้น ส่วนข้อความในบันทึกข้อตกลงฉบับหลังที่ว่า โจทก์มีสิทธิจะมาซื้อที่ดินคืนได้แต่เพียงผู้เดียว จึงหาได้เป็นข้อยกเว้นข้อความในบันทึกข้อตกลงฉบับแรกที่ให้โอกาสโจทก์เป็นผู้ติดต่อในการที่จะขายที่ดินให้บุคคลภายนอกได้แต่อย่างใดไม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งหมดมีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิเพียงหักเงินที่จำเลยชำระให้แก่ธนาคารแทนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเท่านั้นจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมที่ดินพิพาทที่เหลือให้โจทก์ ส่วนโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยต้องคืนที่ดินแก่โจทก์ ศาลจึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากเงินที่จำเลยจะต้องชำระคืนให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์และทายาทอื่นของ ท.ไม่มีเงินไถ่จำนองที่ดินพิพาทตามที่ธนาคารผู้รับจำนองเร่งรัดมา จึงได้ขอให้ บ.น้องชายของ ท.ช่วยเหลือ แต่ บ.มีข้อแม้ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท.โอนที่ดินพิพาทเป็นขายให้จำเลย โดยทำบันทึกกันไว้ให้โจทก์ซื้อที่ดินได้ภายใน 3 ปี ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทมีราคาสูงกว่าราคาที่จำนองไว้มาก ดังนี้ การที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยก็เพื่อให้เป็นหลักประกันเท่านั้น ส่วนข้อความในเอกสารดังกล่าวที่ว่าให้โอกาสแก่โจทก์เพียงผู้เดียวที่จะมาซื้อที่ดินคืนภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่รับโอน หรือให้โอกาสแก่โจทก์เป็นผู้มาติดต่อในการที่จะขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกได้ โดยผู้ที่จะติดต่อกับจำเลยจะต้องเป็นโจทก์เท่านั้น โดยจำเลยจะไม่ติดต่อกับบุคคลใดอีกเป็นอันขาด มีความหมายว่า ให้โจทก์เพียงผู้เดียวที่จะซื้อคืนได้หรือพาบุคคลภายนอกมาซื้อ จำเลยจะไม่ติดต่อขายให้แก่บุคคลใดนอกจากผู้ที่ติดต่อผ่านทางโจทก์มาเท่านั้น แม้ต่อมาในวันที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยนั้น โจทก์และจำเลยจะได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นอีกฉบับหนึ่งโดยกำหนดราคาที่โจทก์จะซื้อคืน และเริ่มนับระยะเวลาซื้อคืนไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันนั้นก็ตาม ก็เป็นเพียงบันทึกที่ต่อเนื่องมาจากบันทึกข้อตกลงฉบับแรกเท่านั้น ส่วนข้อความในบันทึกข้อตกลงฉบับหลังที่ว่า โจทก์มีสิทธิจะมาซื้อที่ดินคืนได้แต่เพียงผู้เดียว จึงหาได้เป็นข้อยกเว้นข้อความในบันทึกข้อตกลงฉบับแรกที่ให้โอกาสโจทก์เป็นผู้ติดต่อในการที่จะขายที่ดินให้บุคคลภายนอกได้แต่อย่างใดไม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งหมดมีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิเพียงหักเงินที่จำเลยชำระให้แก่ธนาคารแทนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเท่านั้นจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมที่ดินพิพาทที่เหลือให้โจทก์ ส่วนโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยต้องคืนที่ดินแก่โจทก์ ศาลจึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากเงินที่จำเลยจะต้องชำระคืนให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจะซื้อขายและขอบเขตการนำสืบพยาน การนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติมจากเอกสารสัญญาไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ 4 ว่าในการจะซื้อจะขาย ผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อ ถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อ ถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ ค่าขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดออกโฉนดใหม่ ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่า การขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย หาได้เป็นการนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 94 (ข)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การตีความข้อตกลงเรื่องการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ4ว่าในการจะซื้อจะขายผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ค่าขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดออกโฉนดใหม่ฝ่ายละเท่าๆกันซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่าการขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ดังนี้การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายหาได้เป็นนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา94(ข)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาการจ้างเหมา ข้อพิพาทราคาทรายเพิ่มขึ้นหลังบอกเลิกสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยตามเจตนาสุจริตและหลักความยุติธรรม
ตามสัญญาข้อ19(3)กำหนดไว้ว่าจำเลยจะเรียกค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานได้ต่อเมื่อจำเลยต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าด. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนแรกและส. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนต่อมาต่างเป็นลูกจ้างของจำเลยเองจำเลยไม่ต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าควบคุมงานตามสัญญาข้อ19(3) ตามสัญญาข้อ20มีข้อความว่า"ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1)ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ3 (2)ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ (3)เรียกเอาค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ (4)เรียกค่าเสียหายอันพึงมีจากผู้รับจ้าง"ตามข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยอมให้จำเลยเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานซึ่งจำเลยว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำการต่อไปภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์นั้นแสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะให้โจทก์ต้องรับผิดสำหรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ20(2)ต่อเมื่อจำเลยดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการเสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดนั้นมีจำนวนเท่าใดเพราะกรณีของโจทก์จำเลยในคดีนี้ค่าถมทรายราคาขึ้นลงไม่แน่นอนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จำเลยได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดน. ก่อสร้างเขื่อนและถมทรายหลังเขื่อนต่อจากโจทก์ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวถมทรายได้บางส่วนแล้วจำเลยให้หยุดและจำเลยไม่ได้จ้างบุคคลอื่นทำการถมทรายต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการจำเลยจึงยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาข้อ20(2)จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างในส่วนราคาทรายที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าตามเจตนาสุจริตและสิทธิของผู้รับโอนทรัพย์
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 368 คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28 ปี แสดงว่า คู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด เมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิม มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุด โจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย ตาม ป.พ.พ. 569 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย