คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่อเนื่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่อเนื่องและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8) กระทงหนึ่ง และมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364อีกกระทงหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเป็นกรณีที่พิพากษาแก้เพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย และฎีกาของโจทก์ ที่ว่าศาลไม่ควรลดโทษให้จำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ ในการลงโทษแก่จำเลยล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาอันเดียวคือมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 เท่านั้น แต่การที่ผู้เสียหายที่ 3ซึ่งอยู่คนละบ้านกับผู้เสียหายที่ 1 จะเข้ามาช่วยผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงใช้ไม้รวกตีผู้เสียหายที่ 3 จนแขนหัก เจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง แยกออกจากเจตนาบุกรุกได้ มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 3จึงมิใช่กรรมเดียว แต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่จดทะเบียนก็มีผล
แม้โจทก์ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อคำนวณถึงวันที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกยังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์มานาน 20 ปีแล้ว แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกตั้งแต่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันแล้วเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดจากการใช้ทางต่อเนื่อง สงบ เปิดเผย เกิน 10 ปี
โจทก์ทั้งสี่และผู้อยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเดินเข้าออกโดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภารจำยอมเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมของโจทก์ทั้งสี่ ส่วนที่จำเลยเคยฟ้อง ส. ซึ่งอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ให้รื้อถอนสะพานไม้บนที่ดินพิพาทและศาลพิพากษาให้ ส. รื้อสะพานออกไปและห้ามเกี่ยวข้อง ย่อมเป็นเรื่องที่ผูกพันระหว่างจำเลยและบริวารกับ ส. และมีผลบังคับให้ ส. ต้องรื้อสะพานและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องในการก่อสร้างสิ่งใด ๆ ขึ้นอีกเท่านั้น หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117-4287/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพจ้างเรื่องโบนัสมีผลใช้บังคับต่อเนื่อง หากไม่มีการแก้ไขหรือตกลงใหม่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เฉพาะปี
จำเลยกับสหภาพแรงงานทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกในปี 2539 โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับไว้ คงกำหนดเพียงว่าสหภาพแรงงานจะไม่เรียกร้องโบนัสประจำปีเป็นระยะเวลา 2 ปี กำหนดระยะเวลานี้จึงหาใช่กำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ แต่เป็นข้อตกลงยอมสละสิทธิการเรียกร้องเรื่องโบนัสภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและไม่มีผลทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการมีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ทั้งข้อความที่ว่าจะไม่เรียกร้องเรื่องโบนัสเป็นระยะเวลา 2 ปี แสดงให้เห็นว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องโบนัสไม่ได้มีลักษณะให้ใช้บังคับเฉพาะในปีแรกที่ทำข้อตกลงเท่านั้น กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 12
ข้อตกลงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างฉบับแรก ย่อมมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่วันที่ตกลงกัน หลังจากใช้บังคับครบหนึ่งปีแล้วไม่มีการตกลงกันใหม่ ข้อตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละหนึ่งปี หาใช่สิ้นผลเมื่อใช้บังคับครบ 2 ปี ดังที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ซึ่งจำเลยได้จ่ายโบนัส สำหรับปี 2539 และปี 2540 แก่ลูกจ้างครบถ้วนแล้ว ครั้นในปี 2541 จำเลยประสบปัญหาขาดทุน จำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงฉบับที่สองกับสหภาพแรงงานโดยไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสเฉพาะปี 2541 เป็นให้จ่ายในอัตราเฉลี่ย 1.29 เท่าของเงินเดือน ส่วนเงื่อนไขการจ่ายโบนัสประการอื่นคงให้เป็นไปตามข้อตกลงเดิม และลูกจ้างทุกคนยอมรับ ถือได้ว่าข้อตกลงฉบับที่สองเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่คู่กรณีทำขึ้นเพื่อแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมฉบับแรก แม้ข้อตกลงฉบับที่สองจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างน้อยกว่าข้อตกลงฉบับแรก ก็มีผลใช้บังคับได้ และเมื่อหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงฉบับที่สอง มีข้อความลักษณะให้ใช้บังคับเฉพาะการจ่ายโบนัสในปี 2541 เท่านั้น จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามอายุงานในปี 2539 ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรก มาใช้บังคับแก่การจ่ายโบนัสในปี 2541 ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงฉบับที่สองได้กำหนดไว้ด้วยว่า เงื่อนไขการจ่ายโบนัสในเรื่องอื่นนอกจากหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสดังกล่าวยังคงใช้บังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมในฉบับแรก ดังนั้น หลังจาก ข้อตกลงฉบับที่สองใช้บังคับครบกำหนดแล้ว หลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสประจำปี 2541 ตามข้อตกลงฉบับนี้ ย่อมสิ้นผลและไม่อาจนำไปใช้บังคับแก่การจ่ายโบนัสในปี 2542 ได้ ต่อมาในปี 2542 สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่สาม กำหนดให้มีผลใช้บังคับ 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา และระบุว่าสภาพการจ้างใดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลงฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตามเดิม โดยไม่ได้กำหนดเรื่องโบนัสไว้เช่นนี้ เกี่ยวกับเรื่องโบนัสในปี 2542 จำเลยจึงผูกพันจะต้องจ่ายโบนัส ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมในฉบับแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังหมดระยะห้ามโอน แม้ช่วงแรกไม่ได้สิทธิ แต่หากเจตนายึดถือเพื่อตนต่อเนื่อง ย่อมได้สิทธิครอบครอง
แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน 10 ปี โจทก์ซึ่งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อมา จะไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากต้องห้ามโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินตลอดมาหลังจากเกินระยะเวลา 10 ปีดังกล่าว โดยโจทก์ปลูกบ้านพร้อมขอเลขที่บ้านจากทางราชการ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตลอดมา จำเลยไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครองแต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยเสนอราคาเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทคืน ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับถึงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์เจตนาจะยึดถือเพื่อตนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกรรมต่างกัน แม้เหตุการณ์ต่อเนื่อง
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 4 ให้นิยามคำว่า "ขาย" หมายความรวมถึงจำหน่าย และมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำนวนหนึ่ง และขายไปจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันและเป็นความผิดกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มิใช่ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518และนิยามคำว่า "ขาย" ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อาจนำมาใช้กับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้โดยมีนิยามคำว่า "จำหน่าย" ไว้โดยเฉพาะในมาตรา 4 แล้วว่า ขาย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ให้ มิได้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย ทั้งความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 66 เป็นความผิดที่แยกเจตนาจากกันได้การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย17 เม็ด เป็นความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อจำหน่ายไป 2 เม็ดย่อมมีความผิดฐานจำหน่ายอีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะมีระเบียบให้ลูกจ้างของจำเลยเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่จำเลยกับโจทก์ได้ตกลงกันทำสัญญาจ้างกันใหม่ ให้โจทก์ทำงานต่อเนื่องกันไปอีก 5 ฉบับ โดยมิได้ให้โจทก์ออกจากงานและยังจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ทุกเดือน อีกทั้งยังขึ้นเงินเดือนให้แก่โจทก์เหมือนลูกจ้างของจำเลยที่ยังไม่เกษียณอายุ ดังนั้น ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ครบเกษียณอายุ แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานต่อไปและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงไม่มีการกระทำใดของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือ เหตุใด ๆ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันดังกล่าวอันเป็นวันครบเกษียณอายุของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดอกเบี้ย และเงินเพิ่มแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องไม่ได้ขอโทษฐานฆ่า แต่การกระทำต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานฆ่า
แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 มาด้วย แต่ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยกับพวกว่าร่วมกันใช้อาวุธปืนตีทำร้ายร่างกายผู้ตาย และร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า ในลักษณะต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับที่พวกของจำเลยมาเอาอาวุธปืนของจำเลยยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ใช้อาวุธปืนตีทำร้ายผู้ตายจึงเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่รวมอยู่ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าพวกของจำเลยยิงผู้ตายโดยลำพังซึ่งเป็นคนละตอนกับที่จำเลยทำร้ายผู้ตายก็ตาม แต่การที่จำเลยทำร้ายผู้ตายก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่รวมอยู่ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้ายได้
พฤติการณ์ที่จำเลยก่อเหตุทะเลาะวิวาทกับผู้ตายและใช้อาวุธปืนที่เตรียมไปตีทำร้ายผู้ตายแล้วพวกของจำเลยที่ไปด้วยกันยังใช้อาวุธปืนที่จำเลยนำไปด้วยนั้นยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย กรณีจึงยังไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ต่อเนื่องจากการลักทรัพย์: การยื้อแย่งไม้กวาดและทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเพื่อหลบหนีถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
การที่จำเลยที่ 1 ยื้อแย่งไม้กวาดจากผู้เสียหายที่ 2 และเหวี่ยงกันไปมาโดยจำเลยที่ 1 ทำหน้าตาและส่งเสียงข่มขู่จะทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และการเหวี่ยงไปมาขณะแย่งไม้กวาด เป็นเหตุให้ข้อมือของผู้เสียหายที่ 2 ได้รับบาดเจ็บถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นกรณีที่ต่อเนื่องกับการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านของผู้เสียหาย ทั้งนี้ เพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการข่มขืนกระทำชำเรา: ศาลฎีกาพิพากษาความผิดฐานฆ่าจากการกระทำต่อเนื่อง
การที่จำเลยที่ 1 ถอดกางเกงเดินเข้าไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่ผู้ตายไม่ได้สวมกางเกงและยืนพิงลูกกรงระเบียงซึ่งสูงเพียงก้น โดยผู้ตายมิได้ยินยอมที่จะให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเรานั้น จำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากผู้ตายหลบหลีกขัดขืนมิให้จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราแล้วอาจจะตกลงไปจากระเบียงอาคารโรงเรียนถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้ตายดิ้นรนขัดขืนเพื่อมิให้จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราจนผู้ตายพลัดตกลงไปจากระเบียงอาคารโรงเรียนจนได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จึงเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย กระทำอนาจาร พยายามข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น
จำเลยทั้งสามขึ้นไปบนอาคารโรงเรียนพร้อมกัน ขณะที่จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยืนอยู่ข้างหน้าพยานโจทก์ซึ่งยืนอยู่ห่างผู้ตายประมาณ 1 วา พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมหรือสนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด
of 36