พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอดถอนผู้ชำระบัญชีเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามฎีกา
การวินิจฉัยว่า คดีมีเหตุควรจะถอดถอนผู้ชำระบัญชีหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอดถอนผู้ชำระบัญชีเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามฎีกา
การวินิจฉัยว่า คดีมีเหตุควรจะถอดถอนผู้ชำระบัญชีหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอดถอนผู้จัดการมฤดก กรณีปกปิดข้อมูลทายาท และความรับผิดของผู้จัดการมฤดกต่อทายาท
น้าของเจ้ามฤดกเป็นทายาทของเจ้ามฤดกตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1629 (6) อยู่แล้ว แม้จะตายไปก่อนเจ้ามฤดก ผู้สืบสันดานของเขา ย่อมมีสิทธิรับมฤดกแทนที่ ตามมาตรา 1639 โดยตรง
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่า ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คน แสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมฤดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มฤดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่จะได้รับมฤดก ย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมฤดกเสียตามมาตรา 1731.
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิตกทอดแก่ตนโดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมฤดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมฤดกนั้นไว้อย่างไรได้ แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมฤดกอยู่ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมฤดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754, 1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมฤดก ผู้จัดการมฤดกจะยกอายุความ ขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมฤดกสุดสิ้นลง.
การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดกนั้น จำเลยได้ปกปิดความจริงอันควรบอกให้ชัดแจ้งว่า ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ยังคงมีตัวอยู่ถึง 3 คน แสดงความไม่สุจริตของจำเลยมาตั้งแต่ต้น และเมื่อได้รับตั้งเป็นผู้จัดการมฤดกแล้ว จำเลยก็ไม่ปรารถนาที่จะทำบัญชีทรัพย์มฤดกตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับไว้ในมาตรา 1728,1729 ซ้ำในชั้นศาล ในคดีนี้จำเลยก็ยังคงยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่จะได้รับมฤดก ย่อมเป็นการสมควรทุกประการที่ศาลจะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมฤดกเสียตามมาตรา 1731.
คดีที่ทายาทเรียกร้องเอาทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิตกทอดแก่ตนโดยขอให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเสียก่อนโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมฤดกเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมฤดกที่จะยึดถือทรัพย์สินอันเป็นมฤดกนั้นไว้อย่างไรได้ แม้จำเลยจะยังคงเป็นผู้จัดการมฤดกอยู่ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 โดยลักษณะตัวแทนตัวการ จำเลยจะยกฐานะผู้จัดการมฤดกมาต่อสู้อายุความกับทายาทตามมาตรา 1754, 1755 หาได้ไม่
คดีเกี่ยวกับการจัดการมฤดก ผู้จัดการมฤดกจะยกอายุความ ขึ้นต่อสู้ทายาทได้ก็แต่มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมฤดกสุดสิ้นลง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการถอดถอนผู้จัดการมฤดกที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล โดยอาศัยข้อตกลงระหว่างคู่ความ
+ส่วนได้เสียในกอง+ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ผู้จัดการมฤดกแสดงบัญชีและถ้าไม่นำมายื่นก็ขอให้ถอดถอน ผู้จัดากรมฤดก+เพี้ยนมาหลายครั้ง ในที่สุดให้ตกลงกันกำหนดวัน+บัญชีต่อหน้าศาล และถ้าไม่นำมายื่นในวันนั้นก็ให้ศาลถอดถอนได้ ครั้นถึงกำหนดผู้จัดการมฤดกไม่นำบัญชีมายื่นผู้ร้องจึงขอให้ศาลสั่งตามที่ได้ตกลงกันไว้ดังนี้ ศาลมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเสียได้ ไม่เป็นการเกินคำขอของผู้ร้อง
ศาลตั้งผู้จัดการมฤดกก่อนกันใช้ประมวลแพ่ง ฯ บรรพ 6 ศษลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมฤดกนั้นโดยอาศัย ม.1731 ได้หรือไม่
ศาลตั้งผู้จัดการมฤดกก่อนกันใช้ประมวลแพ่ง ฯ บรรพ 6 ศษลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมฤดกนั้นโดยอาศัย ม.1731 ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอดถอนผู้จัดการมรดก กรณีปฏิบัติหน้าที่ไม่สมควร แม้ไม่มีทุจริต
ผู้จัดการมฤดกจ้างผู้อื่นให้เป็นผู้ช่วยเหลือในการจัดการมฤดกโดยคิดค่าจ้างให้เป็นจำนวนมากเกินสมควร และปกปิดมิให้ทายาทอื่นทราบถึงแม้ไม่ปรากฎความทุจจริตในการนี้ก็ถือได้ว่าผู้จัดการมฤดกปฏิบัติหน้าที่ไม่สมควรและอาจถอดถอนเสียได้โจทก์ฟ้องขอให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเดิมและตั้งตนแทนสืบไป เมื่อศาลพิพากษาให้ถอดถอนผู้จัดการมฤดกเดิมแล้ว ต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมฤดกแทนก่อนตามระเบียบและในระวางไต่สวนคำร้องนี้ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมฤดกเดิมดำเนินการจัดการในกรณีที่จำเป็นไปก่อนชั่วคราวได้ ค่าธรรมเนียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด: ต้องใช้มติที่ประชุมใหญ่ ไม่ใช่ฟ้องศาลโดยตรง
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35/3 เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการพ้นตำแหน่งของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อเข้าเหตุในหลายกรณี มิใช่เป็นบทกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลในการถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดไปแล้วด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้บัญญัติไว้ทำให้ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการได้อีกต่อไป จึงขอให้บังคับห้ามมิให้จำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุด ฟ้องโจทก์จึงมิเกี่ยวด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในอันที่จะนำมาใช้บังคับแก่คดี
อำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 49 (1) ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ต้องดำเนินการด้วยมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ซึ่งหากจำเลยจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หรือข้อบังคับประการใด โจทก์และเจ้าของร่วมก็พึงต้องดำเนินการเพื่อให้มีการถอดถอนจำเลยทางมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่บุคคลใดจะมาใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และเมื่อตามคำฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับห้ามมิให้จำเลยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดได้เช่นกัน
อำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 49 (1) ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ต้องดำเนินการด้วยมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ซึ่งหากจำเลยจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หรือข้อบังคับประการใด โจทก์และเจ้าของร่วมก็พึงต้องดำเนินการเพื่อให้มีการถอดถอนจำเลยทางมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่บุคคลใดจะมาใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และเมื่อตามคำฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับห้ามมิให้จำเลยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกกรณีห้างหุ้นส่วนเสียหาย และการถอดถอนผู้ชำระบัญชีที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่
แม้โจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หากมีการกระทำไปในทางที่จะทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเสียหาย ย่อมถือว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดและตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี เพื่อให้มีความผิดฐานเบิกความเท็จ การเบิกความถึงเหตุการณ์ก่อนดำรงตำแหน่งไม่มีผลถอดถอน
คดีที่จำเลยขอให้ถอดถอนโจทก์จากตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 129 เป็นเรื่องกล่าวหาการกระทำของโจทก์ขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการมูลนิธิเป็นหลัก เมื่อได้ความว่าข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ การที่จำเลยเบิกความจึงเป็นเพียงให้พฤติการณ์ของโจทก์ตามที่จำเลยกล่าวหาในขณะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเท่านั้น ลำพังพฤติการณ์ของโจทก์ตามที่จำเลยเบิกความยังไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟังเป็นเหตุถอดถอนโจทก์ได้ ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
เมื่อข้อความที่จำเลยเบิกความไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จหรือไม่อีกต่อไป
เมื่อข้อความที่จำเลยเบิกความไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จหรือไม่อีกต่อไป