พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516-2517/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกที่ขัดขวางการจัดการมรดกและไม่ให้ความร่วมมือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1723 จะเห็นว่าไม่ได้ห้ามผู้จัดการมรดกตั้งตัวแทนเสียเลยทีเดียว หากเป็นการตั้งตัวแทนกระทำการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกย่อมจักกระทำได้ ดังนี้ แม้ผู้จัดการมรดกทั้งสองได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ฉ. ซึ่งเป็นทนายความจัดการแทน. ฉ. ได้แต่เพียงมีหนังสือถึงทายาทให้ส่งทรัพย์มรดกเฉพาะผู้ร้องให้ส่งมอบโฉนดและให้แจ้งทรัพย์มรดกเท่านั้น ซึ่งก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกนอกนั้นผู้จัดการมรดกทั้งสองได้จัดการมรดกด้วยตนเอง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกทั้งสองมิได้กระทำการตามหน้าที่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านทั้งสองและจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลานานหลายปี แต่บรรดาทายาทยังมิได้รับการแบ่งปันมรดกเลย เพราะจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการมรดกและคัดค้านตลอดมา หากจะให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกอีกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช้าและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวมา กรณีมีเหตุสมควรที่จะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านทั้งสองและจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลานานหลายปี แต่บรรดาทายาทยังมิได้รับการแบ่งปันมรดกเลย เพราะจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการมรดกและคัดค้านตลอดมา หากจะให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกอีกต่อไป การจัดการมรดกย่อมจะล่าช้าและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวมา กรณีมีเหตุสมควรที่จะถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: การทำบัญชีทรัพย์มรดก ความเพิกเฉยหน้าที่ และการระบุทายาท
บัญชีทรัพย์ที่ผู้จัดการมรดกยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728,1729
เมื่อทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของ ส.ผู้จัดการมรดกมีเพียงสิทธิในการเช่าที่ดิน 1 แปลงกับบ้านไม้ที่ได้ปลูกอยู่ในที่ดินเท่านั้น ซึ่ง ส.ผู้จัดการมรดกก็ได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์แสดงต่อศาลไว้ขณะยื่นคำร้องขอครั้งหนึ่งแล้ว มิได้ปิดบังทรัพย์มรดกแต่อย่างใดแสดงว่ามิได้เพิกเฉยในหน้าที่ผู้จัดการมรดกประกอบมีพฤติการณ์อื่น จึงไม่สมควรถอน ส. จากเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของ ส.ผู้จัดการมรดกมีเพียงสิทธิในการเช่าที่ดิน 1 แปลงกับบ้านไม้ที่ได้ปลูกอยู่ในที่ดินเท่านั้น ซึ่ง ส.ผู้จัดการมรดกก็ได้เคยยื่นบัญชีทรัพย์แสดงต่อศาลไว้ขณะยื่นคำร้องขอครั้งหนึ่งแล้ว มิได้ปิดบังทรัพย์มรดกแต่อย่างใดแสดงว่ามิได้เพิกเฉยในหน้าที่ผู้จัดการมรดกประกอบมีพฤติการณ์อื่น จึงไม่สมควรถอน ส. จากเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกจากความไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย แม้ศาลขยายเวลาให้แล้ว
ผู้จัดการมรดกแถลงรับว่าไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1728,1729แต่อ้างว่าเป็นคนจีนต้องให้ทนายความทำแทนซึ่งไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพราะล่วงเลยเวลามาถึง 8 เดือนแล้วและเมื่อศาลขยายเวลาให้อีก 1 เดือน ผู้จัดการมรดกก็ยังละเลยไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นเดิมโดยอ้างว่าผู้คัดค้านไปร้องคัดค้านในการที่ผู้จัดการมรดกจะขายที่ดินมรดก ซึ่งก็ไม่เป็นเหตุที่ทำให้ผู้จัดการมรดกไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์ได้พฤติการณ์ที่ปรากฏจากคำแถลงรับของผู้จัดการมรดกดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงออกถึงความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนสืบพยานอื่นอีกต่อไป
บัญชีทรัพย์มรดกที่ได้ยื่นไว้แล้วในวันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่บัญชีทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 เพราะบัญชีทรัพย์มรดกตามมาตราดังกล่าว หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลแล้ว
การที่ผู้จัดการมรดกดำเนินการโอนขายที่ดินมรดกโดยยังไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1730, 1563 เพราะมิใช่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น
บัญชีทรัพย์มรดกที่ได้ยื่นไว้แล้วในวันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่บัญชีทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 เพราะบัญชีทรัพย์มรดกตามมาตราดังกล่าว หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลแล้ว
การที่ผู้จัดการมรดกดำเนินการโอนขายที่ดินมรดกโดยยังไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1730, 1563 เพราะมิใช่เป็นการเร่งร้อนและจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอในคดีเดิมได้ ไม่ต้องฟ้องคดีใหม่
คดีตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อศาลสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกโดยเสนอคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมได้ ไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการถอนผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากพฤติการณ์และความสามารถในการจัดการทรัพย์มรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรก็สั่งถอนได้ หรือถ้าศาลเห็นว่ายังไม่มีเหตุสมควรศาลจะยังไม่สั่งถอนก็ได้.
พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดก.
พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจเมื่อยังไม่มีเหตุเลินเล่อหรือทุจริต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรก็สั่งถอนได้ หรือถ้าศาลเห็นว่ายังไม่มีเหตุสมควรศาลจะยังไม่สั่งถอนก็ได้
พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดก
พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ทนายหลังถอนจากกรณี – การแจ้งผลคำพิพากษาและการปฏิบัติหน้าที่แทนตัวความ
โจทก์แต่งให้จำเลยเป็นทนายฟ้องคดีให้โจทก์จำเลยได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีโจทก์ขอถอนจำเลยออกจากการเป็นทนายโดยจำเลยยินยอมโจทก์ตั้งทนายใหม่เป็นผู้ดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ต่อมา ดังนี้ หน้าที่ทนายความระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลง แต่ในแง่ที่เกี่ยวกับศาลและคนอื่น จำเลยยังเป็นทนายของโจทก์อยู่ เพราะโจทก์จำเลยยังหาได้แจ้งถอนหรือเลิกการการแต่งตั้งไม่
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิที่จะกระทำการนั้นจำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
การที่จำเลยเซ็นรับทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซึ่งตนพ้นจากหน้าที่ทนายแล้ว มีผลเท่ากับจำเลยทำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิที่จะกระทำการนั้นจำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกร่วมได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของทายาท
แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งได้แล้ว
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เหตุผลความจำเป็นในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินกองมรดก
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลยังมีภาระหน้าที่ที่จะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกซึ่งมีจำนวนมากมายหลายรายการ ต่อสู้คดีที่ถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องให้ชำระหนี้แทนกองมรดก รวมทั้งบริหารจัดการบริษัทกล้วยไม้สืบแทนเจ้ามรดก เมื่อภาระหน้าที่ดังกล่าวยังไม่ลุล่วง ผู้ร้องย่อมจะไม่สามารถลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1728 (2) ประกอบมาตรา 1716 โดยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 นับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง มิใช่ผู้ร้องละเลย ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเพราะผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้คัดค้านล่วงรู้ว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากเพื่อปิดบังทรัพย์มรดกนั้น ผู้คัดค้านมิได้นำสืบพยานใดสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนตามภาระการพิสูจน์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่พอรับฟัง แม้ผู้ร้องไปขอรับเงินฝากอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกจากธนาคาร ตามหนังสือทายาทขอรับมรดก แต่ความก็ปรากฏจากเอกสารฉบับนั้นว่าผู้ร้องขอรับเงินในฐานะผู้จัดการมรดก มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว ส่วนการรับโอนที่ดินมรดกก็ปรากฏจากคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านเองว่าผู้ร้องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นกัน จึงไม่ใช่การกระทำที่ส่อว่าเป็นการทุจริตหรือปิดบังทรัพย์มรดก ที่ผู้ร้องยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทก็เนื่องจากกองมรดกมีหนี้สิน ดังนั้น ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ โดยในวรรคสองกำหนดว่าในระหว่างเวลาเช่นว่านั้นผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่น แก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้วผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก แม้กระนั้นมาตรา 1744 ยังบัญญัติรับรองต่อไปว่า ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้แล้วทุกคน ดังนั้น การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก