คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนสัญชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศคณะปฏิวัติ และการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่โจทก์ก็เกิดระหว่างที่บิดามารดาของโจทก์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและเข้ามาโดยไม่ชอบตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์จึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(2) และ (3) แล้วดังนั้นการที่จำเลยจดชื่อโจทก์ลงในทะเบียนคนญวนอพยพและยึดบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้ จึงเป็นการกระทำตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ต้องเป็นการโต้แย้งการเข้าเมือง ไม่ใช่การถอนสัญชาติโดยชอบ
การขอพิสูจน์ว่าตนมีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ผู้ขอจะต้องเป็นคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย แต่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่โต้แย้งเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรว่าเป็นคนต่างด้าวจึงจะร้องขอพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ และเมื่อไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้พิจารณา โดยยื่นคำร้องต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้
ผู้ร้องเป็นชายสัญชาติไทยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงสัญชาติญวนรับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว มีบุตรเกิดด้วยกัน ทางจังหวัดสั่งถอนสัญชาติไทยของบุตร ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57 ขอพิสูจน์สัญชาติของบุตรไม่ได้ เมื่อเป็นการโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับสัญชาติของบุตรผู้เยาว์ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาลได้ ปัญหานี้แม้ผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นโต้แย้งแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทย: การพิสูจน์สถานะบุคคล การถอนสัญชาติ และผลกระทบต่อผู้เกิดจากมารดาคนญวนอพยพ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแล้วถูกทางราชการตำรวจภูธรอำเภอท่าอุเทนซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยบังคับให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ดังนี้เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติเรื่องถอนสัญชาติ ต้องตีความตามกฎหมายว่าหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ที่ว่า ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น คำว่า "บิดา" ในประโยคที่ว่า "บิดาเป็นคนต่างด้าว" กฎหมายมิได้กล่าวว่าให้หมายรวมทั้งบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายบทนี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า "บิดา" ในที่นี้เป็นคำในกฎหมาย จึงต้องตีความว่าหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
บ. คนสัญชาติญวนซึ่งเป็นบิดาโจทก์มิได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย บ. จึงมิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฯ เกี่ยวกับการถอนสัญชาติไทย ต้องตีความตามกฎหมายหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ที่ว่า ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น คำว่า 'บิดา' ในประโยคที่ว่า 'บิดาเป็นคนต่างด้าว' กฎหมายมิได้กล่าวว่าให้หมายรวมทั้งบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายกฎหมายบทนี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า 'บิดา' ในที่นี้เป็นคำในกฎหมาย จึงต้องตีความว่าหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
บ. คนสัญชาติญวนซึ่งเป็นบิดาโจทก์มิได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย บ. จึงมิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยต้องเป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติ การโต้แย้งสิทธิฟ้องร้องได้โดยไม่ต้องรอขั้นตอนทะเบียนราษฎร์
เมื่อคำสั่งของจำเลยที่สั่งถอนสัญชาติไทยของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ก่อนอีก
ว. บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง และมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และเกิดบุตรคือโจทก์ในประเทศไทย ดังนี้ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่โจทก์จึงมิใช่บุคคลประเภทหนึ่งประเภทใดที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยต้องเป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติ และต้องพิจารณาถึงสถานะบิดา-มารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคำสั่งของจำเลยที่สั่งถอนสัญชาติไทยของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ก่อนอีก
ว. บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง และมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และเกิดบุตรคือโจทก์ในประเทศไทย ดังนี้ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่โจทก์จึงมิใช่บุคคลประเภทหนึ่งประเภทใดที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศคณะปฏิวัติ: 'บิดา' หมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ที่ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น หมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นเมื่อคนต่างด้าวมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงไม่อาจถอนสัญชาติไทยของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987-1995/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติโดยประกาศคณะปฏิวัติ ผู้ถูกถอนสัญชาติไม่มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้มีสัญชาติ
ผู้ร้องถูกทางราชการถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ซึ่งผู้ร้องอาจได้สัญชาติไทยอีกเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว และพระราชบัญญัติสัญชาติ แต่พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ในส่วนที่ไม่ขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้องร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นบุคคลมีสัญชาติไทยได้ กรณีของผู้ร้องจึงไม่มีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยวิธีร้องขอให้ศาลสั่งเช่นนั้น หากผู้ร้องเห็นว่าทางราชการถอนสัญชาติผู้ร้องเป็นการกระทำโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาล ดังนั้น แม้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลและพนักงานอัยการยื่นคำคัดค้านแล้ว จึงเกิดเป็นคดีมีข้อพิพาทในคดีไม่มีข้อพิพาท แต่เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาล ข้อพิพาทในคดีนี้จึงตกไปโดยไม่จำต้องดำเนินคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งถอนสัญชาติโดยรัฐมนตรี การฟ้องจำเลยที่ไม่ใช่ผู้มีอำนาจโดยตรง ศาลไม่อาจบังคับได้
โจทก์ฟ้อง ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นจำเลยที่ 1และ ม. อธิบดีกรมตำรวจเป็นจำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้ถอนสัญชาติไทย ของโจทก์เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนเสียศาลชั้นต้นรับฟ้องเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ไม่รับฟ้องที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดดังนี้ คำสั่งถอนสัญชาติของโจทก์เป็นคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่คดีคงมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นจำเลยแต่ผู้เดียวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้เป็นคู่ความด้วยไม่มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ ศาลจึงจะพิพากษาว่าคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนเสียตามคำขอของโจทก์หาได้ไม่ แม้จะสืบพยานต่อไปและข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการถอนสัญชาติด้วย และเป็นผู้เสนอต่อคณะกรรมการถอนสัญชาติว่าควรถอนสัญชาติไทยของโจทก์โดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงก่อน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลอาจพิพากษาบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ไม่ คดีจึงไม่ต้องสืบพยานต่อไป
of 5