คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ กรณีเรียกร้องรายได้จากทรัพย์มรดก: รายได้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นดอกผลของที่ดิน ไม่ใช่มรดก
รายได้จากการกรีดยางของสวนยางมรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกแต่เป็นดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดกตกได้แก่เจ้าของที่ดินตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และ 1360 โจทก์ทราบดีว่าจำเลยได้นำน้ำยางไปจำหน่ายหารายได้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อน โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบรายได้ดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกัน แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทอื่น สิทธิโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โจทก์ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกโดยโจทก์มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องเลยเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว สิทธิของโจทก์ให้จำเลยทั้งสี่แบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์มรดกโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อทายาทอื่น
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าทายาทหลายคนไม่ได้ให้ความยินยอม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสุจริต
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดตามทรัพย์มรดก
ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึง ห.ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ ซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดความรับผิดตามทรัพย์มรดก
ผู้ร้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมถึง ห. ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: สิทธิทายาท, อายุความ, และการครอบครองทรัพย์สิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โดยอ้างว่าเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินดังกล่าวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ายินยอมให้เจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยหรือไม่ เพราะเจ้ามรดกมิได้ถือกรรมสิทธิ์เอง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การที่เจ้ามรดกยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขออนุญาตนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองขณะที่จำเลยยังเป็นผู้เยาว์ เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และแม้เจ้ามรดกเป็นบุคคลต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่เจ้ามรดกยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้ ตราบใดที่ยังมิได้จำหน่าย ที่ดินพิพาทและโรงงานก็ยังคงเป็นของเจ้ามรดก ซึ่งอาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดได้ทั้งสิ้น
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทตามพินัยกรรม ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ย่อมต้องถือว่าการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น อายุความยังไม่เริ่มต้นนับ ฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีทรัพย์มรดก: แม้ชื่อในโฉนดเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์สินยังเป็นของทายาท
ป. ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่ดินโฉนดพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทซึ่งรวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นบุตรด้วยในทันที แม้ที่ดินโฉนดพิพาทจะเป็นชื่อ ล. แต่ก็ระบุรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. จึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันให้แก่ทายาทและ ล. ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทรวมทั้งจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดพิพาทมาบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, การสละสิทธิ, การล้มละลายของลูกหนี้ที่เสียชีวิต และการจัดการทรัพย์มรดก
การนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอม เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมิสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่า จำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจะมาติดต่อ แต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์ กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้และต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้ โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึง บทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษา ให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84 ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การจัดการทรัพย์มรดกหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย, อายุความ, และการสละประโยชน์แห่งอายุความ
การนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้ธนาคารโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุกคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยจะมาติดต่อแต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตามพาณิชย์ มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย แต่จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึงบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8073/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทและการตั้งผู้จัดการมรดก: กรณีที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก
เมื่อที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแม้ภายหลังผู้ตายถึงแก่กรรม เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธไม่ยอมแก้ไขชื่อในโฉนดที่ดินจากผู้ตายมาเป็นของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกล่าวแต่เพียงว่า ที่ดินตามคำร้องขอเป็นของผู้ตายและเป็นมรดกตกได้แก่ผู้คัดค้าน และผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทของผู้ตาย ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินมรดกเท่านั้น แต่ผู้คัดค้านไม่ได้กล่าวอ้างว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเช่นกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินตามคำร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อฝ่ายใดเห็นว่าตนถูกอีกฝ่ายโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนเรียกร้องเอาที่ดินจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทกรณีไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่กองมรดก กรณีของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1)(2) ที่จะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 49