พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและอำนาจการฟ้องร้องในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้านภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)สีดำและที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (u) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)สีดำในลักษณะตั้งกับพื้นและมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่า Lite-Joy อยู่ด้านล่างด้วยจึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่า Foot-Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่า Joy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกันไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่าGREEN-JOYS,SOFT-JOYS,SOFT-JOYSII,ULTRA-JOYS,DRYJOYS,COOL-JOYS และ COURT-JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite-Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9607/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารและพยานหลักฐานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา การกำหนดค่าทนายความ
จำเลยร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า NEXT เริ่มจดทะเบียนที่ต่างประเทศตั้งแต่ปี 2525 โดยรับฟังจากเอกสารหมาย จ.10 และรับฟังว่าจำเลยร่วมมิได้คัดค้านเอกสารดังกล่าว ทั้งที่จำเลยร่วมได้ให้การว่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งรวมทั้งเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 เป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายและไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย การรับฟังเอกสารดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10โจทก์เพิ่งส่งคำแปลต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยร่วมการยื่นคำแปลดังกล่าวย่อมขัดต่อกฎหมายรับฟังไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลชั้นต้นมิได้รับฟังเฉพาะแต่พยานเอกสารหมาย จ.9และ จ.10 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้วินิจฉัยคำเบิกความของ ธ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมมิได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างเป็นอย่างอื่นลำพังคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้แล้วว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศอังกฤษและ ธ.มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ.ฟ้องคดีแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรับฟังจากพยานเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10แต่ประการใดนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อแรกของจำเลยร่วม ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไป โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์แจ้งความเท็จและละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา: การกระทำโดยสุจริตเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
จำเลยที่1ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้หรือทำให้ปรากฎที่สินค้าหีบห่อวัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา272(1)เท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา273และมาตรา274อันเป็นความผิดเกี่ยวด้วยเครื่องหมายการค้าในอันที่จะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่1ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแล้วหรือไม่เมื่อจำเลยที่1มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวแล้วแม้จำเลยที่1จะไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวตามกฎหมายจำเลยที่1ก็ย่อมมีสิทธิ์ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ รองเท้าฟ้องน้ำตราม้าดาวของจำเลยที่1และตราหมีสู้งูของโจทก์ที่1ต่างมีรูปดาวห้าแฉกอยู่ภายในวงกลมเล็กและวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่อีกชั้นหนึ่งระหว่างวงกลมทั้งสองมีอักษรโรมันอยู่ด้านบนและมีอักษรไทยอยู่ด้านล่างเหมือนกันตัวอักษรดังกล่าวและวงกลมเล็กกับวงกลมใหญ่มีขนาดเท่าๆกันการวางตำแหน่งรูปและรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกันจะผิดกันก็แต่เฉพาะรูปสัตว์ที่อยู่ในดาวห้าแตกกับตัวอักษรโรมันและอักษรไทยเท่านั้นส่วนหูรองเท้านั้นนอกจากจะมีรูปและรอยประดิษฐ์ที่คล้ายคลึงกันแล้วหูรองเท้าที่โจทก์ที่1ผลิตยังมีรูปเกือกม้าเช่นเดียวกับของจำเลยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวม้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวหมีและงูที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกทั้งถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุรองเท้าของโจทก์ทั้งสี่ก็มีลายเส้นและลวดลายเหมือนกันและโค้งไปทางเดียวกันขนาดเส้นโค้งก็โตเท่ากันกับของจำเลยที่1สีของลายเส้นก็เหมือนกันยิ่งสนับสนุนถึงมูลเหตุที่มีน้ำหนักพอทำให้จำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้มีอำนาจทำแทนจำเลยที่1เชื่อโดยสุจริตใจว่าโจทก์ทั้งสี่ได้นำรูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1ไปใช้กับรองเท้าฟ้องน้ำที่โจทก์ทั้งสี่ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1การที่จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ในการประกอบกิจการค้าของตนโดยสุจริตมาได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ส่วนขั้นตอนหลังจากที่จำเลยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่มีส่วนหรือไม่มีสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนการกระทำของจำเลยที่1ถึงที่3จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าต้องใช้กฎหมายเฉพาะ อายุความฟ้องเป็นไปตามบทบัญญัติทั่วไป ป.พ.พ.
การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่มีรูปร่างอันได้แก่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์-สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองไว้โดยเฉพาะอันได้แก่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ กรณีของโจทก์ไม่อาจนำมาตรา 1336 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับได้ ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีว่า ส. และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้รับมรดกของ ส. เป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม คือนับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2514 อันเป็นวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 เกินกว่า 10 ปี แล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8514/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: นับแต่วันจดทะเบียน, ไม่ใช่การติดตามทรัพย์สิน
การฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่มีรูปร่างอันได้แก่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองไว้โดยเฉพาะอันได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่อาจนำมาตรา 1336 มาใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่า ส. เป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิมคือนับตั้งแต่วันที่ ส. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนสับสน และการกำหนดค่าเสียหายจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมี ค.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อรับรองและยืนยันว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลายมือชื่อในเอกสารฉบับนี้เป็นลายมือชื่อของร.ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจโดยถูกต้องในการลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ และ ร.ได้สาบานตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าตนจริง จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างให้เห็นว่า ร.มิใช่ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในการมอบอำนาจให้นายบุญมาฟ้องคดีนี้ และโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง ดังนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีใบสำคัญของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า ค.เป็นโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีผู้มีอำนาจเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แต่เมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง หนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันและประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัวเหมือนกับตัวอักษร 5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่าโมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฎว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโอนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศ ประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า"MOTILIUM" ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมมีให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน100,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ10,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า SAB ของโจทก์โดยจำเลยในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตได้ร่วมกันกระทำละเมิดด้วยการเอาชื่อทางการค้าคำว่า SAB และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องไปใช้ในการประกวดราคาผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติทั้งสองครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และร่วมกันจัดทำแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของ SABที่มีรูปแบบ ภาพจำลอง คำบรรยายเหมือนคล้าย และละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปภาพจำลองเป็นเหตุให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำและยื่นต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์และอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ และได้พิจารณาซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอแทนการรับซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติของแท้ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยไม่อาจขายสินค้าของโจทก์ได้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเกี่ยวกับความเสียหายของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนรายละเอียดว่าโจทก์เสียหายอย่างไรจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนตามฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองได้เสนอขายสินค้าแก่ ร. โดยระบุไปตามความเป็นจริงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศโปแลนด์ มิใช่สินค้าของโจทก์ที่ผลิตในประเทศสวีเดน จำเลยทั้งสองหาได้ระบุว่าสินค้าที่เสนอขายเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ประเทศสวีเดนไม่ ทั้งปรากฎตามเงื่อนไขรายละเอียดของการประกวดราคาว่า ร. ต้องการซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ผลิตโดย SAB ประเทศสวีเดน หรือเทียบเท่า มิได้ระบุว่าต้องการซื้อเฉพาะสินค้าของโจทก์เท่านั้นประกอบกับเหตุที่ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาของ ร.รับซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 เนื่องจากราคาต่ำสุดและใช้แทนของเดิมได้ จึงได้เสนอให้ ร.รับซื้อไว้ ขณะตรวจรับก็ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนปรากฎว่าใช้การได้กรรมการตรวจสอบมิได้หลงเชื่อหรือหลงผิดในข้ออ้างที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของ SABหรือไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า SAB ของโจทก์
แม้รูปแบบภาพจำลองและคำบรรยายในแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ทำขึ้นในประเทศสวีเดนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและโจทก์เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น แต่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองเสนอต่อ ร.เป็นแคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองได้รับมาจากประเทศโปแลนด์ มิใช่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นโดยลอกเลียนแคตตาล็อกของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยทั้งสองได้เสนอขายสินค้าแก่ ร. โดยระบุไปตามความเป็นจริงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศโปแลนด์ มิใช่สินค้าของโจทก์ที่ผลิตในประเทศสวีเดน จำเลยทั้งสองหาได้ระบุว่าสินค้าที่เสนอขายเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ประเทศสวีเดนไม่ ทั้งปรากฎตามเงื่อนไขรายละเอียดของการประกวดราคาว่า ร. ต้องการซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ผลิตโดย SAB ประเทศสวีเดน หรือเทียบเท่า มิได้ระบุว่าต้องการซื้อเฉพาะสินค้าของโจทก์เท่านั้นประกอบกับเหตุที่ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาของ ร.รับซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 เนื่องจากราคาต่ำสุดและใช้แทนของเดิมได้ จึงได้เสนอให้ ร.รับซื้อไว้ ขณะตรวจรับก็ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนปรากฎว่าใช้การได้กรรมการตรวจสอบมิได้หลงเชื่อหรือหลงผิดในข้ออ้างที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของ SABหรือไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า SAB ของโจทก์
แม้รูปแบบภาพจำลองและคำบรรยายในแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ทำขึ้นในประเทศสวีเดนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและโจทก์เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น แต่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองเสนอต่อ ร.เป็นแคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองได้รับมาจากประเทศโปแลนด์ มิใช่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นโดยลอกเลียนแคตตาล็อกของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้ว ปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการ-ค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้า สลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า และตัวสินค้าเป็นสำคัญ หาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสาร สลากเครื่องหมาย-การค้า และภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้ว การสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม 2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMAC" ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมัน และเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F." จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้ารูป "EKOMAG" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม 2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMAC" ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมัน และเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F." จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้ารูป "EKOMAG" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า EDWIN และจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน EDWINและมีข้อความเป็นคำขวัญกำกับข้างล่างว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันว่า EDWIN ในประเทศไทย 3 ปี การที่จำเลยที่ 2 ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่ายในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า EDWIN มีลักษณะเป็นการเขียนแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ แต่กางเกงยีนที่จำเลยที่ 2 ผลิตใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันมีลักษณะการเขียนเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ทั้งยังมีข้อความว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ด้วย เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคำขวัญกำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ นอกจากนี้กระดาษป้ายฉลากที่ติดอยู่กับกางเกงยีนดังกล่าวมีแบบ ขนาด สีสัน และข้อความเหมือนกันทุกประการ รวมทั้งที่ป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยที่ 2ก็มีคำว่า "EDWIN" อยู่ใต้ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคำว่า"EDWIN" นี้ตรงกับที่ปรากฏอยู่ในป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์อันหมายถึงว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"EDWIN" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ดังนี้แสดงให้เห็นแจ้งชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ในการปลอมเครื่องหมายการค้า EDWIN ของโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นและบริษัทโจทก์อยู่ในประเทศนั้นถือว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร และเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยที่ 2 เป็นสินค้าของโจทก์กับเป็นการจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อรูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นและเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการค้าขายสินค้ากางเกงยีนด้วยการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและนำมาใช้กับสินค้าของตนในรูปของการตั้งเป็นโรงงานผลิตสินค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นเวลานานถึงประมาณ 8 ปี กางเกงยีนและกระโปรงยีนที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางมีจำนวนถึง 2,277 ตัว และกระดาษป้ายฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมที่เตรียมไว้ใช้ติดกับสินค้ากางเกงยีนและกระโปรงยีนมีจำนวนถึง 28,880 แผ่น ทั้งโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2ระงับการผลิตกางเกงยีนโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2531 ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะไปตรวจค้นโรงงานของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2532 เป็นเวลาถึงประมาณ 1 ปีแต่จำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ยอมหยุดผลิตกางเกงยีนดังกล่าว พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ยังไม่มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.