คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์สินร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินร่วมจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ภริยาเดิมยังมิได้หย่าขาด
ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่า ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำนามาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมี่ส่วนเท่ากัน เมื่อผู้ตาย ตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการมอบอำนาจและยึดทรัพย์สินร่วม: ผลผูกพันต่อภริยา
ภริยารู้เห็นยินยอมในการที่สามีลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจและมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้บุคคลภายนอกนำไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการที่บุคคลภายนอกเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารนั้น แม้ภริยาจะมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยภริยาก็ต้องผูกพันในการกระทำของสามี
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินร่วมจากความสัมพันธ์ฉันท์ภรรยา แม้ไม่จดทะเบียนสมรส
โจทก์นำยึดที่พิพาทของผู้ร้องในฐานะผู้ร้องเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์อ้างว่าเป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องมิใช่ภริยาจำเลย โจทก์ต่อสู้ว่า (1) จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันทำมาหากินจนเกิดทรัพย์พิพาท จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้อง (2) ทรัพย์พิพาทเป็นสินบริคณห์ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในการทำมาหากินร่วมกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะยึดทรัพย์พิพาทได้ (3) แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทมาจริง ผู้ร้องก็ซื้อมาในระหว่างเป็นภริยาจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย โจทก์ชอบที่จะยึดได้ ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทและผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้องดังข้อต่อสู้ของโจทก์ข้อ 1 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินร่วมจากการทำมาหากิน แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์นำยึดที่พิพาทของผู้ร้องในฐานะผู้ร้องเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์อ้างว่าเป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องมิใช่ภริยาจำเลย โจทก์ต่อสู้ว่า (1) จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันทำมาหากินจนเกิดทรัพย์พิพาท จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้อง (2) ทรัพย์พิพาทเป็นสินบริคณห์ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในการทำมาหากินร่วมกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะยึดทรัพย์พิพาทได้ (3) แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทมาจริงผู้ร้องก็ซื้อมาในระหว่างเป็นภริยาจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย โจทก์ชอบที่จะยึดได้ ดังนี้แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาท และผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้องดังข้อต่อสู้ของโจทก์ข้อ 1 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน ศาลสั่งแบ่งทรัพย์สินตามสัดส่วนการครอบครอง
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท ศาลพิพากษาว่าโจทก์จำเลยและสามีได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกันมา จึงไม่อาจพิพากษาขับไล่ได้ ให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่เรียกทรัพย์ส่วนแบ่งของตนตามส่วนที่จะพึงได้ คดีนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในนาพิพาทว่าเป็นของโจทก์ทั้งหมด และขอให้ขับไล่จำเลยกับบริวารอีก ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่พิพาทบางส่วน ก็ควรพิพากษาแบ่งส่วนให้โจทก์จำเลยไปเสียทีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) โดยไม่จำต้องให้ไปฟ้องใหม่กันอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของร่วม แม้สถานะสมรสไม่ชัดเจน และขอบเขตการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
เมื่อพิพากษาคดีครั้งแรก ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิพากษาใหม่ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คณะเดิมย่อมทำคำพิพากษาใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้เปลี่ยนผู้พิพากษา
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยคดีเดียวกันนี้ไว้ครั้งหนึ่งว่า แม้โจทก์จำเลยจะมีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์ที่โจทก์จำเลยหาได้ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์ได้ การที่ศาลจะวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันในฐานะเจ้าของร่วม หาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในเรื่องนี้ย่อมเป็นอันยุติ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องทรัพย์ที่โจทก์ขอแบ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้ แล้วให้พิพากษาใหม่ โจทก์จะฎีกาได้เฉพาะข้อที่ศาลฎีกาให้พิพากษาใหม่เท่านั้น จะรื้อฟื้นข้อที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้หรือข้ออื่นที่มิได้พิพากษาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกไม่ได้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินร่วม: สิทธิในสินสมรสและขอบเขตการทำพินัยกรรม
บุคคลจะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จะกำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินของคนอื่นไม่ได้ หากเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตน
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า 'เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาของข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย' และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตามก็ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรมหากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรมพินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาในความสัมพันธ์นอกสมรส: ไม่ถือเป็นทรัพย์สินร่วม
โจทก์จำเลยได้ประกอบพิธีสมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้อยู่ร่วมกันที่ร้านของโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ถูกกับบุตรโจทก์ จึงได้แยกไปอยู่ที่อื่น โจทก์จำเลยต่างก็ประกอบอาชีพของตน และมีทรัพย์สมบัติแยกกัน ต่อมาโจทก์หวังจะคืนดีกับจำเลยจึงมอบเช็คให้จำเลยไปซื้อที่ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของและปลูกบ้านลงในที่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ดังนี้ถือว่าการให้เช็คและการปลูกบ้านให้เป็นการให้โดยเสน่หา มิใช่เป็นทรัพย์ที่ประกอบทำมาหาได้ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาหลังแยกกันอยู่ ไม่ถือเป็นทรัพย์สินร่วม
โจทก์จำเลยได้ประกอบพิธีสมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้อยู่ร่วมกันที่ร้านของโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ถูกกับบุตรโจทก์ จึงได้แยกไปอยู่ที่อื่น โจทก์จำเลยต่างก็ประกอบอาชีพของตนและมีทรัพยสมบัติแยกกันต่อมาโจทก์หวังจะคืนดีกับจำเลยจึงมอบเช็คให้จำเลยไปซื้อที่ใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของและปลูกบ้านลงในที่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวดังนี้ ถือว่าการให้เช็คและการปลูกบ้านให้เป็นการให้โดยเสน่หา มิใช่เป็นทรัพย์ที่ประกอบทำมาหาได้ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและเจ้าหนี้ในการบังคับคดีทรัพย์สินร่วมกัน: การกันส่วนได้ของทายาท
ผู้ตายและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน เมื่อผู้ตาย ที่ดินส่วนของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะยึดทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้ตนได้ แต่ต้องไม่ทำให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้ของผู้อื่นผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย
เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นของบุคคลหลายคนรวมกันถูกขายทอดตลาดตามคำพิพากษาของศาลเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ร่วมกับจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันส่วนได้ของตนเสียภายในห้าปี
of 7