พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ ศาลยกฟ้อง
ตามฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาททั้งหกสายเป็นทางสาธารณะหรือไม่และในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นสมประโยชน์แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาททางเดิน: ทางภาระจำยอม vs. ทางสาธารณะ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม ไม่เป็นทางสาธารณะ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ คงมีแต่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ ส่วนโจทก์มิได้ฎีกา ปัญหาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การก่อสร้างหลังคาและประตูปิดกั้นทางพิพาทโดยไม่จำเป็น ขัดสิทธิการใช้ภารจำยอม แม้มีการอนุญาตจากเจ้าของเดิมก็ยกเลิกได้
ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ฉะนั้นการก่อสร้างหลังคาคลุมทางพิพาทก็ดี การทำประตูปิดกั้นทางพิพาทก็ดี หาใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมไม่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท และแม้เจ้าของที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์คนเดิมจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทได้ การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ดังนั้น เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิมจะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้เปิดทางพิพาทโดยไม่ระบุโฉนดที่ดิน แม้มีการแบ่งแยกที่ดินก่อนฟ้อง ก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2822 มีการรังวัดแบ่งแยกก่อนฟ้อง และทางพิจารณาโฉนดเลขที่ 2822 ไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าทางพิพาทมีอยู่ในแห่งอื่นอีก และโฉนดเลขที่ 5977 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมนั้นก็แบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 2822 ที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ทางพิพาทที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือทางพิพาทที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุโฉนดเลขที่ ทางพิพาทก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5977 จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมโดยอายุความและการพิพากษาเกินคำขอ: การบังคับใช้สิทธิในทางพิพาทที่แบ่งแยกจากที่ดินเดิม
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2822 มีการรังวัดแบ่งแยกก่อนฟ้องและทางพิจารณาโฉนดเลขที่ 2822 ไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าทางพิพาทมีอยู่ในแห่งอื่นอีก และโฉนดเลขที่ 5977ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมนั้นก็แบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 2822 ที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าทางพิพาทที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือทางพิพาทที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุโฉนดเลขที่ ทางพิพาทก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5977 จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางพิพาทโดยยินยอมไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอม และประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ใช้ทางพิพาทโดย ส.เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินยินยอมให้ใช้ เมื่อเป็นการใช้โดยเจ้าของที่ดินยินยอม แม้จะเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่ได้ภาระจำยอม
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อต่อไปว่าโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนน จะมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนกำแพงออกจากถนนพิพาทได้หรือไม่ และตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนนพิพาท ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนกำแพงออกไป และในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มีคำขอให้พิพากษาตามฟ้องของโจทก์ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงมิได้พิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขออุทธรณ์ของโจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ก็ต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อต่อไปว่าโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนน จะมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสี่รื้อถอนกำแพงออกจากถนนพิพาทได้หรือไม่ และตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมบนถนนพิพาท ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนกำแพงออกไป และในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มีคำขอให้พิพากษาตามฟ้องของโจทก์ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงมิได้พิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์เกิดจากการอุทิศที่ดิน แม้ไม่มีการแสดงเจตนาชัดแจ้ง
การที่เจ้าของที่ดินเดิมและจำเลยยอมให้ที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นทางพิพาทในที่ดินของจำเลยให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปี มีการวางท่อประปา เดินสายไฟฟ้าที่ไหล่ทาง มีการสร้างซ่อมสะพานข้ามคู คลอง โดยใช้เงินของทางราชการในทางที่ต่อจากทางพิพาทเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สอย ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ทางเดินโดยวิสาสะ แต่แสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เจ้าของที่ดินเดิมหาจำต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งว่าเป็นการยกให้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นแม้มีทางอื่น ทางพิพาทเดิมมีผลบังคับใช้ได้ แม้มีการยกเลิกภาระจำยอม
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะโดยตรงได้ แม้จะได้ความว่าโจทก์จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นออกไปสู่ทางสาธารณะทางด้านอื่นได้ก็ตาม แต่ก็ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นกัน ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 เดิม เจ้าของที่ดินของโจทก์เคยใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ และต่อมาได้มีการจดทะเบียนภารจำยอมให้ที่ดินของโจทก์ใช้ที่พิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ภายหลังมีการจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอม แต่ก็ทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย กับทั้งยังมีการตกลงให้โจทก์ใช้ทางพิพาทของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ดังนี้ เป็นการสมควรที่โจทก์เลือกใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ กรณียังไม่มีเหตุสมควรที่โจทก์จะเปลี่ยนแปลงไปใช้ทางอื่น สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับอาคารชุดจำเลยที่ขัดกับพ.ร.บ. อาคารชุดฯ มาตรา 10 ซึ่งห้ามมิให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและห้ามผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดก่อภาระผูกพันเกี่ยวกับอาคารชุดเมื่อได้มีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว แม้ข้อตกลงเป็นโมฆะ ก็หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะตามกฎหมายไม่ เพราะกรณีเป็นเรื่องทางจำเป็นที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและสิทธิในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ ทางพิพาท
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความเมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390 ที่ดินที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอมก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบ โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาททางภารจำยอมและอายุความ การใช้ทางส่วนเกินเพื่อรถยนต์
ตามคำฟ้องโจทก์ยอมรับว่าจำเลยยังเปิดทางกว้าง 1 เมตร จากที่ดินโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ขอให้จำเลยเปิดทางกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกได้ด้วย โจทก์จำเลยจึงมีข้อพิพาทกันเฉพาะทางส่วนที่กว้างเกินกว่า 1 เมตร ที่พอจะให้รถยนต์แล่นเข้าออกได้เท่านั้น
แม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากโฉนดเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ตกอยู่ด้านในไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่ปรากฏจากคำฟ้องว่ามีทางออกจากที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า โจทก์ได้ใช้บางส่วนของที่ดินของจำเลยเป็นทางสำหรับรถยนต์ผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมาเป็นเวลาติดต่อกันรวม 31 ปีโดยไม่มีผู้ใดห้ามปราม แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะอ้างว่า ทางพิพาทส่วนที่กว้างเกินกว่า 1 เมตรนั้น เป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความซึ่งจำเลยก็เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นเช่นนั้น เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยใช้ที่ดินบางส่วนของจำเลยเป็นทางสำหรับรถยนต์เข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลา 31 ปี ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะนำรถยนต์เข้าจอดในที่ดินของจำเลยเมื่อประมาณ 3 ปีมานี้ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์ได้ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทสู่ทางสาธารณะจนได้อายุความหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเรื่องทางจำเป็น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาเรียกร้องให้จำเลยรื้อรั้วคอนกรีตเปิดทางให้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาทเพราะเป็นทางจำเป็นได้
แม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากโฉนดเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ตกอยู่ด้านในไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่ปรากฏจากคำฟ้องว่ามีทางออกจากที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า โจทก์ได้ใช้บางส่วนของที่ดินของจำเลยเป็นทางสำหรับรถยนต์ผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมาเป็นเวลาติดต่อกันรวม 31 ปีโดยไม่มีผู้ใดห้ามปราม แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะอ้างว่า ทางพิพาทส่วนที่กว้างเกินกว่า 1 เมตรนั้น เป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความซึ่งจำเลยก็เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นเช่นนั้น เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยใช้ที่ดินบางส่วนของจำเลยเป็นทางสำหรับรถยนต์เข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลา 31 ปี ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะนำรถยนต์เข้าจอดในที่ดินของจำเลยเมื่อประมาณ 3 ปีมานี้ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์ได้ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทสู่ทางสาธารณะจนได้อายุความหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเรื่องทางจำเป็น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาเรียกร้องให้จำเลยรื้อรั้วคอนกรีตเปิดทางให้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาทเพราะเป็นทางจำเป็นได้