คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางหลังจากโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยได้2เดือนโจทก์ได้ลาป่วยทุกเดือนติดต่อกัน7เดือนโดยลาป่วยเดือนละ1วันถึง8วันแสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถตรากตรำในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารอันเป็นงานหนักไว้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานถือเป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9(3)และไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานโดยไม่ได้โอนย้ายสถานะ ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
การตกลงโอนข้าราชการหรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมไปเป็นลูกจ้างของการท่าอากาศยานจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างข้าราชการหรือลูกจ้างนั้น ๆ กับกระทรวงกลาโหมและจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่มีผลเกี่ยวกับการที่โจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ส่วนการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์มิได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำในฐานะเป็นหน้าที่ราชการของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงทำการงานให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายสินจ้างให้โจทก์ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้เกิดขึ้นโดยปริยายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน: การพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างโรคประจำตัวและสภาพแวดล้อมการทำงาน
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ผู้ตายเป็นลูกจ้างได้ประสบอันตรายถึงแก่ความตายและเรียกเงินทดแทนแยกเป็นค่าทดแทนและค่าทำศพ เท่ากับโจทก์อ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว ส่วนจำนวนที่เรียกร้องจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะวินิจฉัยต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โรคหรือการเจ็บป่วยที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายอันเป็น ผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทน จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงดังนี้ เมื่อผู้ตายเดินตรวจสต๊อกในโชว์รูมแล้วลื่นล้มศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายโดยมีบาดแผลบริเวณแก้มขวาเพียงเล็กน้อย ประกอบทั้งการตรวจพิสูจน์ของแพทย์ว่าสาเหตุของการตายเกิดจากหัวใจวาย และปรากฏว่าผู้ตายเป็นโรคหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก่อนแล้ว โอกาสที่จะประสบอันตรายเพราะเกิดภาวะหัวใจวายโดยฉับพลันมีขึ้นเมื่อใดก็ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: การเดินทางก่อนเริ่มงานไม่ถือว่าเป็นการประสบอันตราย
อ.เป็นลูกจ้างโจทก์โดยประจำอยู่ที่ต่างจังหวัดได้รับคำสั่งให้มารับการอบรมที่สำนักงานใหญ่จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 7-11 มิถุนายน 2525อ.เดินทางมาถึงเมื่อวันที่6 มิถุนายน 2525 และได้รับอันตรายขณะนั่งรถแท็กซี่เดินทางหาที่พักในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังไม่ถึงวันเวลาทำงานตามที่โจทก์มอบหมายจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลให้แก่ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทนและการพิสูจน์ความเสียหายจากการทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วย เงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขั้นตอนการฟ้องร้องเงินทดแทน และการพิจารณาความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเงินทดแทน ได้กำหนดขั้นตอนการเรียกร้องและการสั่งการในเรื่องเงินทดแทนไว้แล้ว.โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสียก่อน ไม่ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนทันทีโดยมิได้อุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมแรงงานก่อน เพราะเป็นการขัดกับขั้นตอนในการที่จะนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย
คำสั่งอุทธรณ์เงินทดแทนของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน ไม่ลบล้างคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนที่ยังมีผลบังคับโจทก์ผู้เป็นนายจ้างอยู่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานเงินทดแทน และคำสั่งอุทธรณ์ของอธิบดีกรมแรงงานพร้อมกันได้
อธิบดีกรมแรงงานเป็นผู้แทนของกรมแรงงานอันเป็นนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยกระทำในนามของกรมแรงงานนั่นเอง กรมแรงงานย่อมอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยในกรณีที่ผู้แทนกระทำการดังกล่าวแทนได้
ลูกจ้างโจทก์ได้รับอันตรายในขณะเดินทางไปเข้าเวรสำรองฉุกเฉินพนักงานขับรถของโจทก์ ณ ที่ทำการแขวงสารวัตรรถจักรธนบุรี ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ เพราะยังมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือลงมือทำงานให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาค่าทดแทนกรณีลูกจ้างถูกฆ่าตายก่อนเริ่มทำงาน และความเชื่อมโยงกับการทำงานหรือป้องกันประโยชน์ให้นายจ้าง
ผู้ตายเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่เป็นพนักงานกำกับการเดินรถ เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 00.00นาฬิกา ถึง 8.00 นาฬิกา ในวันรุ่งขึ้น วันเกิดเหตุผู้ตาย ไปถึงย่านปล่อยรถเวลา 21 นาฬิกาเศษ เพื่อรอโดยสารรถยนต์ของเพื่อนร่วมงานไปยังหอควบคุมการเดินรถซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 600 เมตร รออยู่จนกระทั่ง 22 นาฬิกาก็ยังไม่มาผู้ตายจึงเดินไปเอง หลังจากนั้นประมาณ 5 นาทีผู้ตายถูกยิงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าผู้ตายถูกยิงตายก่อนเริ่มลงมือทำงาน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายถูกฆ่าตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ "พนักงาน" ตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่ได้มาทำงานประจำทุกวัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทจำเลยมิได้นิยามคำว่า "พนักงาน" ไว้ จึงต้องถือว่าคำนี้มีความหมายตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปการที่โจทก์มิได้มาทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นประจำทุกวันเพราะลักษณะงานในหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริษัทจำเลยไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นหาทำให้โจทก์ไม่เป็นพนักงานไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2507/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียชีวิตจากการถูกรถชนก่อนเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน จึงไม่เข้าข่ายการจ่ายเงินทดแทน
ลูกจ้างยืนอยู่ภายนอกหน้าประตูโรงงานก่อนถึงเวลาเริ่มทำงาน มีรถยนต์ที่แล่นมาตามถนนพุ่งเข้าชนตาย ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างคำสั่งอุทธรณ์ที่ให้จ่ายเงินทดแทนไม่ถูกต้องศาลเพิกถอนคำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อเอาเงิน ไม่ถือว่าหลอกลวงเพื่อให้ทำงาน จึงไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผล คือ การทำงานของผู้ที่ถูกหลอกให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน ฯลฯ
เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยหลอกเพื่อให้ส่งเงินเท่านั้น ไม่ได้หลอกให้ทำงาน เพราะไม่มีงานให้ทำ จึงไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามมาตรา 344 จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรานี้
พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานที่จำเลยยังไม่จ่ายให้แก่ผู้เสียหาย กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะเรียกร้องคืน แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยใช้ในทางแพ่ง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 บัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานหลอกลวงประชาชน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวง ช. กับพวกรวม 10 คน ไม่ได้ฟ้องว่าหลอกลวงประชาชนจำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 เท่านั้นแม้จะมิได้มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ชอบที่จะปรับบทลงโทษที่ถูกได้
of 5