พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าที่ดินเป็นของนางลมัย ไม่ใช่จำเลย
ล. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยยื่นฟ้องส. กับโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่ ส. และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและห้าม ส. และโจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท โดยอ้างสิทธิในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งในคดีดังกล่าวศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีเพราะโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นว่า ระหว่างจำเลยกับ ล. ผู้ใดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ล. ไม่ใช่เป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้งทั้งที่ทราบคำกำชับของศาลแล้วพฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าจำเลยมิได้ให้ความสนใจและความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลและตามคำร้องขอเลื่อนคดีและใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้องอ้างเหตุเพียงว่าจำเลยเดินทางไกลไม่ได้เท่านั้น มิได้มีปรากฏเหตุผลว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงไม่สามารถมาศาลได้อย่างแท้จริงหรือไม่สามารถเบิกความได้ทั้งจำเลยก็มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลชั้นต้นว่าหากไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี
ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้งทั้งที่ทราบคำกำชับของศาลแล้วพฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าจำเลยมิได้ให้ความสนใจและความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลและตามคำร้องขอเลื่อนคดีและใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้องอ้างเหตุเพียงว่าจำเลยเดินทางไกลไม่ได้เท่านั้น มิได้มีปรากฏเหตุผลว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงไม่สามารถมาศาลได้อย่างแท้จริงหรือไม่สามารถเบิกความได้ทั้งจำเลยก็มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลชั้นต้นว่าหากไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์คดีนี้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า กรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกดังที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้อง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีส่วนแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 7 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาที่เกี่ยวข้องกับโจทก์จึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์และการมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีเอกสาร ภ.บ.ท. 5แต่ยังไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์นำเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้าไปในที่ดินพิพาทเพื่อรังวัดและนำเสาซีเมนต์ไปปักไว้ 2 ต้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส่วนการเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท นอกจากนี้ภริยาโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้ซื้อที่ดินก็ไม่เคยเข้าไปดูแลหรือเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมอบหมายให้โจทก์ไปดูแลแทนหรือกระทำแทนเท่านั้น เช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท การพิพากษานอกฟ้อง และการพิสูจน์การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว เนื่องจาก ป. ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นเรือนหอก่อนแล้ว จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งได้ยกให้จำเลยโดยได้จดทะเบียนถูกต้องและ ป. ยังทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยเพียงผู้เดียวคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. และไม่ได้ยกให้แก่โจทก์หรือจำเลยแล้วพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นชื่อของ ป. ตามเดิม จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5856/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสที่ดินพิพาท การซื้อขายโดยไม่สุจริตและผลของการเพิกถอนนิติกรรม
บิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 1 และเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 1476(1) และเมื่อจำเลยที่ 2เบิกความยอมรับว่าก่อนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสามีคือโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อจากผู้ไม่มีอำนาจ & คำให้การขัดแย้ง
โจทก์ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งตอนแรกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ป. จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยรับมรดกจาก ส. คดีคงมีประเด็นพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตอนหลังว่าจำเลยเพิ่งโต้แย้งคัดค้านสิทธิครอบครองของโจทก์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี สิทธิของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 1375 วรรคสอง ก็เป็นคำให้การแก้ฟ้องแย้งที่ขัดกับคำฟ้องของโจทก์และเป็นคำให้การแก้ฟ้องแย้งไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครองปรปักษ์ และการบังคับคดี
การแย่งการครอบครองที่ดินจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ร. เพราะร. ได้ยกให้ ว. ก่อนตาย ว. ได้ครอบครองทำประโยชน์มาประมาณ20 ปี โดยโจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง แล้ว ว. ได้ขายให้จำเลย จำเลยจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อจาก ว. ไม่ได้บุกรุก เห็นได้ว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่จึงไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาคดีกรรมสิทธิ์ต่อสัญญาซื้อขายฝาก
เมื่อคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยฟังว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. จึงมีสิทธิดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่จะไปทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ได้ และการยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินเวนคืนกลายเป็นที่สาธารณะ แม้ไม่มีการจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกแก่ผู้รับโอนต่อๆ กัน
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนกับนายอำเภอภาษีเจริญและรับเงินค่าทดแทนไปครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความว่า พ. ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดสร้างถนน โดยจะนำโฉนดไปขอรังวัดแบ่งแยกเป็นที่ดินสาธารณะและให้ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าดูแลสถานที่ได้ทันทีนับแต่วันทำสัญญา เห็นได้ชัดเจนว่า พ. มีเจตนาขายที่ดินพิพาทเพื่อให้ก่อสร้างถนนสาธารณะโดยให้ยอมสร้างได้ทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีนับแต่วันทำสัญญา แม้ภายหลังจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกันก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงจะโอนให้แก่กันมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 การที่ พ. แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทออกเป็นชื่อของ พ. แล้วมีการโอนต่อให้ อ. และ อ. นำไปขายฝากให้แก่ น. แล้ว น. โอนให้แก่โจทก์ผู้รับโอนต่อ ๆ มารวมทั้งโจทก์ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของ พ. ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ข. ผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่ง จึงไม่ใช่นิติกรรมที่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงส่วนมาก ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1726 ย่อมไม่ผูกพันกองมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1724 การที่ ข. ให้ความยินยอมในภายหลังไม่ทำให้นิติกรรมที่ไม่ชอบกลับเป็นนิติกรรมสมบูรณ์ขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้จำเลยที่ 1 และ ข. ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และ ข. ในภายหลังโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 ได้แจ้งยกเลิกการขายที่ดินพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ทำลงโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237