คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินสาธารณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินโดยรู้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาด้วยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้ที่บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ไม่ได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณะประโยชน์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในที่ดินสาธารณะชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้การเพิกถอนคำสั่งมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้นและที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน200,000บาทต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเป็นคำขอหลักส่วนที่โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นผลที่ได้ตามมาจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304หรือไม่หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แม้ทางราชการมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามและมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ก็หาทำให้กลับไม่เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ไปได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, ที่ดินสาธารณะ, สิทธิของผู้ซื้อเมื่อที่ดินไม่ครบตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า จำเลยทั้งสองผู้ขายตกลงขายที่ดินเนื้อที่ดิน 285 ตารางวา เป็นเงิน 7,267,500 บาท แสดงว่า คู่สัญญาได้ระบุที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่ 285 ตารางวาไว้ชัดเจนในหนังสือสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นสาระสำคัญ และยึดถือเป็นหลักในการคิดราคาที่ดินที่ซื้อขาย มิใช่เป็นการขายเหมาโดยประมาณ จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องโอนหรือส่งมอบที่ดินจำนวนเนื้อที่ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วน
การที่เจ้าของที่ดินยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ถนนซอยสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่าได้อุทิศที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นถนนซอยดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา1304 (2) ทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์
เมื่อจำนวนเนื้อที่ดินขาดไปจากจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเกินกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ทั้งหมดที่จะซื้อขายกัน โจทก์ผู้ซื้อจึงชอบที่จะขอใช้ราคาลดลงตามส่วนหรือบอกปัดเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคแรก เมื่อโจทก์ได้ต่อรองขอลดราคาลงเพื่อใช้ราคาตามส่วนกับจำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม โจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียได้ จำเลยทั้งสองต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเจรจาให้เงินเพื่อออกจากที่ดินสาธารณะ ไม่ถือเป็นการข่มขู่หรือข่มเหง
ก่อนเกิดเหตุ ท.ได้ให้ผู้ตายไปบอกจำเลยให้ขนย้ายบริวารออกไปจากที่ดินป่าซายเลนซึ่งเป็นที่ดินของทางราชการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ และที่ดินแปลงดังกล่าวทางราชการได้ให้บุคคลอื่นเช่าไปแล้ว โดยเสนอให้เงินจำเลยจำนวน 60,000 บาท โดยมี พ.กับนายดาบตำรวจ บ.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไปด้วย และบุคคลทั้งสามไม่มีอาวุธปืนติดตัว ผู้ตายยืนพูดกับจำเลยบริเวณหน้า-ประตูบ้านจำเลย ส่วน พ.และนายดาบตำรวจ บ.ยืนห่างผู้ตายประมาณ 10 เมตรซึ่งเป็นบริเวณนอกบ้านจำเลย ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ก็มีบุคคลอื่นเช่าแล้วจำเลยจึงอยู่อาศัยในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิโดยชอบ การพูดจาระหว่างจำเลยกับผู้ตายน่าจะพูดถึงเงินจำนวน 60,000 บาท ที่เสนอให้ด้วย และการที่พ.กับนายดาบตำรวจ บ.ไปด้วยก็เป็นการไปเป็นเพื่อด้วยเท่านั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่กระทำไปโดยสมควร ไม่มีลักษณะเป็นการข่มขู่แต่อย่างใดจึงไม่ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีบุกรุกที่ดินสาธารณะ คำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
ที่ดินพิพาท อำเภอวารินชำราบเคยเป็นโจทก์ฟ้อง บ. บิดาจำเลยว่า บ. ได้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการบ. จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่สาธารณะ คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า พยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ที่ทางการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ปกครองดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายกลับมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นทายาทผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อจาก บ. เป็นคดีนี้อีกว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุสืบต่อจาก บ. ขอให้บังคับขับไล่และจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของ บ. บิดาจำเลย โจทก์ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ นอกจากที่ดินพิพาททั้งสองคดีจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้ว ประเด็นพิพาททั้งสองคดีก็เป็นอย่างเดียวกันว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้โจทก์จำเลยคดีนี้มิใช่เป็นคู่ความคนเดียวกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์ในคดีนี้ก็เป็นผู้รับผิดชอบปกครองดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสืบต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก บ. บิดา ย่อมต้องถือว่าโจทก์จำเลยคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกันผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณ-สมบัติของแผ่นดินจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้มิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณะ: การครอบครองก่อนการประกาศเป็นสาธารณสมบัติ, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองการที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน พิพาทก่อนที่ทางราชการจะถือเป็นที่สาธารณะ เป็นฎีกาใน ข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ดินที่ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าฯ นั้นจำกัดเฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(1) เท่านั้นที่ดินพิพาทเป็นที่ใช้เลี้ยงสัตว์ซึ่งพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องขึ้นทะเบียนและออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณะ: ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้ที่ดินเป็นสาธารณะ
โจทก์เข้าครอบครองและปลูกพืชไร่ในที่พิพาทอันเป็นที่สาธารณะประชาชนใช้ทำประโยชน์ร่วมกันอยู่ก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยเมื่อจำเลยเข้าไปไถพืชไร่ที่โจทก์ปลูกไว้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยเข้ารบกวนการครอบครองที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณะ: ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้เป็นที่สาธารณะ
แม้ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ แต่เมื่อโจทก์เข้าครอบครองและปลูกพืชไร่อยู่ก่อน จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเข้าไปไถพืชไร่ที่โจทก์ปลูกไว้ โจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสี่ เมื่อจำเลยทั้งสี่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางน้ำสาธารณะด้วยการก่อสร้างกำแพง เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิในที่ดินสาธารณะ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 16573 และ 17726 ทิศใต้ของที่ดินทั้งสองแปลงมีลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ตั้งอยู่ ลำกระโดงดังกล่าวชาวบ้านได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี โดยไม่มีผู้ใดขัดขวางหวงห้าม นอกจากนี้ทางราชการยังเคยเข้าไปขุดลอกเมื่อลำกระโดงนั้นตื้นเขิน ถือได้โดยปริยายว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นลำกระโดงให้เป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์แล้วลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ซึ่งไม่อาจโอนให้กันได้ การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 69 และข้อ 72 วรรคแรก เมื่อปรากฏว่ากำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กของจำเลยทั้งสองในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงดังกล่าวไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 72 วรรคแรกได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กให้พ้นพื้นที่ลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้
of 13