คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินเช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6953/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อผู้รับโอนทราบฐานะผู้เช่า และผลของการไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล
การที่โจทก์ร้องขอซื้อนาพิพาทต่อ คชก.ตำบล และคชก.ตำบล วินิจฉัยให้โจทก์ซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยทั้งสองซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันโดยมิได้กำหนด ราคาให้ เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่ถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองขายนาพิพาทให้แก่โจทก์ได้ คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ได้ระบุให้ซื้อนาพิพาทคืนได้ในราคาเท่าใด จึงเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจะให้โจทก์ซื้อในราคาใดเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะนำเรื่องคำเสนอคำสนองมาใช้ในกรณีนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้โจทก์สนองตอบว่าจะซื้อนาพิพาทตามราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้มิได้เพราะจะขัดกับคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลซึ่งถือเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วว่าให้โจทก์ซื้อนาพิพาทได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองโอนขายนาพิพาทแก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ตามคำขอท้ายฟ้องเป็นการพิพากษาไม่เกินคำขอ ส่วนการกำหนดราคานาพิพาทเป็นเรื่องโจทก์กะประมาณราคาของนาพิพาทในราคา 1,075,831 บาท เพื่อคำนวณเสียค่าขึ้นศาล การที่จำเลยทั้งสองนำสืบได้ว่าซื้อนาพิพาทมาในราคา 1,175,831 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 คำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สิน: เจ้าของบ้านมีสิทธิไล่ผู้ครอบครองโดยไม่มีสิทธิ แม้บ้านจะตั้งอยู่บนที่ดินเช่า
โจทก์เป็นเจ้าของบ้านย่อมมีสิทธิใช้สอย และได้ซึ่งดอกผลกับทั้งมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิจะยึดถือครอบครองบ้านของโจทก์ด้วยเหตุใด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบบ้านแก่โจทก์ และขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ กับเป็นการใช้สิทธิขัดขวางและใช้สิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองบ้านจากจำเลยผู้เข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ด้วยวิธีการทางศาลแม้บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ ม. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่ามาก็ไม่เป็นเหตุตามกฎหมาย ให้จำเลยมีสิทธิครอบครองบ้านแต่อย่างใดเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หมดสิทธิปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่ามาแล้ว ย่อมไม่กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ในฐานะเจ้าของบ้านให้เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการขายทอดตลาด – การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาทพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อ คชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่รู้ว่า พ.โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า แม้จะมีการโอนขายหรือถูกยึด
จำเลยปลูกบ้านพิพาทในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ แม้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าจำเลยขายบ้านพิพาทให้ส.โดยมีข้อตกลงให้ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านพร้อมขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการโอนขาย: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน คชก. ก่อนฟ้อง
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อนหากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยังคชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าหลังสัญญาหมดอายุ และผลของการเจรจาทำสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นผล
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลย-ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146) กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 และมาตรา 1311
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146)กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 และมาตรา 1311 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กันโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169/1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องซื้อที่ดินเช่า: ต้องเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.จังหวัดก่อน จึงจะฟ้องบังคับขายได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด จะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการ แต่ไม่ได้ฟ้องคชก.จังหวัดสมุทรปราการเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่นาที่เช่าให้ขายที่นาที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ แต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากราคาตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องแล้วการที่โจทก์ขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีเพราะศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินเช่าเกษตรกรรม ผู้รับโอนต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเดิม
มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯบัญญัติว่าการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านา บทบัญญัติดังกล่าวและในมาตราอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่มีการยกเว้นไว้ว่า การรับโอนในกรณีใดที่จะให้การโอนเป็นผลให้การเช่านาตามพระราชบัญญัตินี้ระงับไปการที่โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยซื้อได้จากการขายทอดตลาดก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติยกเว้นที่จะไม่ต้องรับภาระผูกพันที่มีเหนือทรัพย์นั้น กรณีต้องถือว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาจากเจ้าของเดิมที่เป็นผู้ให้จำเลยทั้งสองเช่า โจทก์จึงต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิม ขณะโจทก์ฟ้องสิทธิการเช่าของจำเลยทั้งสองยังไม่สิ้นสุด โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็น 'บริวาร' ในคดีขับไล่: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเรือนไม้และที่ดินเช่าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับคดี
ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของเรือนไม้ 2 หลังในจำนวนเรือนไม้ 3 หลังที่จำเลยทำสัญญาขายฝากโจทก์ โดยขออาศัยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอก และมิได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยนำไปขายฝาก ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ใช่บริวารของจำเลย.
of 12