พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง, ฟ้องเพิกถอนนิติกรรม, ทรัพย์มรดก
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นการฟ้องเรียกให้ได้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นคดีที่มีคำปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ด้วย จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนเมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมามีราคา 201,000 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ที่ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนตามส่วนเท่าๆ กัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนที่ดินมรดกไปเป็นของจำเลยทั้งสี่และ ค. หรือจัดการอย่างใดก็ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดก โดยศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 มิให้ได้รับมรดก เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องที่ฝ่าฝืนและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ที่ 1 และที่ 4 ให้โอนที่ดินดังกล่าวแก่ ค. แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ดี ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 นอกจากนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่โดยอาศัยข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการที่โอนที่ดินพิพาท เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ที่ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนตามส่วนเท่าๆ กัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนที่ดินมรดกไปเป็นของจำเลยทั้งสี่และ ค. หรือจัดการอย่างใดก็ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดก โดยศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 มิให้ได้รับมรดก เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องที่ฝ่าฝืนและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ที่ 1 และที่ 4 ให้โอนที่ดินดังกล่าวแก่ ค. แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ดี ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 นอกจากนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่โดยอาศัยข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการที่โอนที่ดินพิพาท เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีหมั้นและสินสอดที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีสิทธิในครอบครัว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครัว: ทุนทรัพย์เกินสองแสน และไม่ใช่สิทธิสภาพบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน: การฟ้องแย้งความเป็นเจ้าของและข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ประเด็นที่โจทก์ จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมโต้เถียงกันในชั้นฎีกามีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่สาธารณประโยชน์ โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์ จำเลยร่วมย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาและจัดการตามกฎหมาย อันมีผลให้จำเลยทั้งห้ามีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการด้วย ดังนั้น ประโยชน์ที่โจทก์ได้ตามฟ้องหรือประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมได้ตามคำให้การ รวมทั้งประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าได้ตามฟ้องแย้งย่อมเป็นกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งห้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา: ค่าเสียหายแยกรายบุคคล, ข้อโต้แย้งข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพัง ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิด แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ตามแต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุมิใช่ด้วยการจ้างวานใช้สอยจากจำเลยที่ 2 เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9014/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: การยื่นอุทธรณ์ฉบับแยกต่างหาก จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์
การชำระค่าขึ้นศาลจะต้องชำระเมื่อเวลายื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 ประกอบตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 4 ชำระเงินให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 4 ได้ยื่นอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหาก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์มาฉบับเดียวกันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องทุนทรัพย์, อายุความ, และการต่อสู้คดีเกินกว่าที่ยื่นมาในชั้นต้นในคดีแชร์
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จะต้องคำนวณจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาเล่นแชร์แต่ละวงโดยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับแชร์วงแรก มีจำนวน 42,787.23 บาท ต้องถือว่าอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับแชร์วงแรกเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับแชร์วงแรกเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนอุทธรณ์ในดอกเบี้ยค้างชำระเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง เพราะหนี้ประธานต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับแชร์วงแรก การที่โจทก์เพียงยื่นคำแก้ฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาใหม่ โดยพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 บังคับให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่มีผลเป็นการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งในประเทศดังกล่าว คดีสำหรับแชร์วงแรกจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าแชร์วงที่สองจัดตั้งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2532 แล้วแชร์ล้มก่อนครบกำหนด โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยนับแต่แชร์ล้ม แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความซึ่งมีกำหนด 5 ปี คำให้การของจำเลยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าหนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระขาดอายุความ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองนั้นชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าแชร์วงที่สองจัดตั้งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2532 แล้วแชร์ล้มก่อนครบกำหนด โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยนับแต่แชร์ล้ม แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความซึ่งมีกำหนด 5 ปี คำให้การของจำเลยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าหนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความ เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระขาดอายุความ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8563/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายต่างประเทศ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ และอายุความของหนี้
ตามคำร้องของจำเลยขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้อำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่รับโอนคดีนี้จากศาลแพ่ง โดยกล่าวอ้างว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบในการรับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษา มิใช่กรณีคู่ความเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 3 กำหนดไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงกรณีที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบว่า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อศาลเห็นสมควร หมายถึง กรณีที่ศาลเห็นถึงกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเองก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้โดยไม่ต้องมีคำร้องจากคู่ความแต่อย่างใด กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นกรณีที่เกิดจากความประสงค์ของคู่ความนั้นที่ต้องการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณา โดยกรณีนี้คู่ความผู้ยื่นคำร้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 27 วรรคสอง กล่าวคือต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่คู่ความนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามคำร้องของจำเลยขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ได้รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา โดยจำเลยอ้างว่าเป็นการโอนและรับโอนคดีที่ไม่ชอบ เป็นกรณีที่จำเลยประสงค์จะให้มีการเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นเอง จึงยื่นคำร้องฉบับนี้ต่อศาล อันเป็นกรณีที่คู่ความร้องขอตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่อยู่ในบังคับต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 วรรคสอง แล้ว และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนัดพร้อม ซึ่งทนายจำเลยเข้าร่วมดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้รับโอนคดีนี้จากศาลแพ่งและดำเนินการนัดสืบพยานจำเลยต่อไป ทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานบุคคลที่เหลืออีก 3 ปาก แสดงว่า จำเลยได้ทราบว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้ในวันนัดพร้อมแล้ว จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในวันนั้น ทั้งยังกลับขอดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปอีกด้วย ต่อมาจำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่รับโอนคดีไว้ อันเป็นการยื่นคำร้องเกินกว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบถึงกระบวนพิจารณาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างบริษัท จ. ผู้ส่งสินค้ากับจำเลยในคดีนี้ เป็นการขนส่งสินค้าโดยมีการออกใบตราส่ง จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งมีชื่อโจทก์ระบุในใบตราส่ง แม้ในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้าอาจสั่งให้ผู้ขนส่งจัดการแก่สินค้าเป็นประการอื่น นอกจากการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งได้ แต่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้ไว้แก่ผู้ขนส่ง หากผู้ขนส่งจัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแล้ว ผู้ขนส่งก็ยังต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ไม่ได้เวนคืนตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่ตามหนังสือแจ้งของผู้ส่งสินค้ามีใจความเพียงว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงให้จำเลยผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง (Consignee) โดยไม่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งเท่านั้น ซึ่งผู้รับตราส่งก็หมายถึงโจทก์ ไม่ใช่บริษัท ย. และไม่ปรากฏว่าได้มีการเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้ขนส่ง การที่จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. โดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง จึงไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าและไม่ใช่กรณีที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 36 แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ขนส่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับตราส่งในความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลย
มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในจำนวนเงินจำกัดตามข้อจำกัดไว้เฉพาะกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดเนื่องจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า โดยเหตุแห่งความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ข้อเท็จจริงคดีนี้ความว่า จำเลยผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. ซึ่งไม่ใช่ผู้รับตราส่งไปโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขนส่งที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่กรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหายหรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับตราส่งเต็มตามจำนวนความเสียหาย โดยไม่ได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 58
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศมาเลเซียได้ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าไม้จากประเทศมาเลเซียโดยทางเรือมายังประเทศไทย โดยจำเลยได้ระบุในใบตราส่งว่า โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง แต่เมื่อสินค้ามาถึงปลายทางในประเทศไทยแล้วจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ย. ไปโดยมิได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งและมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ผู้รับตราส่งโดยมีการเวนคืนใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญา โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้รับตราส่ง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะระบุในคำฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยโดยละเอียด อันมีลักษณะทั้งเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาและละเมิดด้วย ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะนำบทกฎหมายเรื่องใดมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งผู้มีสิทธิในสินค้าที่ขนส่งในความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นความรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า อันจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ซึ่งจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวและความรับผิดของจำเลยที่ปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเลในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างบริษัท จ. ผู้ส่งสินค้ากับจำเลยในคดีนี้ เป็นการขนส่งสินค้าโดยมีการออกใบตราส่ง จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งมีชื่อโจทก์ระบุในใบตราส่ง แม้ในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้าอาจสั่งให้ผู้ขนส่งจัดการแก่สินค้าเป็นประการอื่น นอกจากการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งได้ แต่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้ไว้แก่ผู้ขนส่ง หากผู้ขนส่งจัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแล้ว ผู้ขนส่งก็ยังต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ไม่ได้เวนคืนตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่ตามหนังสือแจ้งของผู้ส่งสินค้ามีใจความเพียงว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงให้จำเลยผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง (Consignee) โดยไม่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งเท่านั้น ซึ่งผู้รับตราส่งก็หมายถึงโจทก์ ไม่ใช่บริษัท ย. และไม่ปรากฏว่าได้มีการเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้ขนส่ง การที่จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. โดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง จึงไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าและไม่ใช่กรณีที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 36 แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ขนส่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับตราส่งในความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลย
มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในจำนวนเงินจำกัดตามข้อจำกัดไว้เฉพาะกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดเนื่องจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า โดยเหตุแห่งความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ข้อเท็จจริงคดีนี้ความว่า จำเลยผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. ซึ่งไม่ใช่ผู้รับตราส่งไปโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขนส่งที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่กรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหายหรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับตราส่งเต็มตามจำนวนความเสียหาย โดยไม่ได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 58
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศมาเลเซียได้ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าไม้จากประเทศมาเลเซียโดยทางเรือมายังประเทศไทย โดยจำเลยได้ระบุในใบตราส่งว่า โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง แต่เมื่อสินค้ามาถึงปลายทางในประเทศไทยแล้วจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ย. ไปโดยมิได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งและมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ผู้รับตราส่งโดยมีการเวนคืนใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญา โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้รับตราส่ง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะระบุในคำฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยโดยละเอียด อันมีลักษณะทั้งเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาและละเมิดด้วย ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะนำบทกฎหมายเรื่องใดมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งผู้มีสิทธิในสินค้าที่ขนส่งในความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นความรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า อันจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ซึ่งจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวและความรับผิดของจำเลยที่ปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเลในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีพิพาทที่ดินมีทุนทรัพย์ แม้ฟ้องขอให้ถอนคำคัดค้าน ศาลต้องพิจารณาตามราคาที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้าน ที่ได้คัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นคดีที่มี คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า โจทก์ได้นำชี้แนวเขตที่ดินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลย จึงเห็นได้ว่าทั้งคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยมีจุดประสงค์โต้เถียงแย่งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลัก คำฟ้องของโจทก์ ที่ขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ เป็นผลอันสืบเนื่องมาจากว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ คือ ตามราคาที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคแรก ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ที่ศาลแขวงอ้างว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนจากคดีปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดขอให้ห้ามจำเลยและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ได้