พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทในการประกอบธุรกิจ ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี
โจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โดยรับฝากขายสินค้าผงชูรสและผงชูรสและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการผลิตผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ซึ่งเรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือคอนซายน์เมนท์พี (consignmentfee) เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากการเป็นตัวแทนนายหน้าตามธรรมดา และการที่โจทก์ รับสินค้าฝากขายดังกล่าวนี้โจทก์ได้รับเปอร์เซนต์ การขาย เป็นค่าตอบแทน แสดงว่า ตามปกติธรรมดาค่าตอบแทนย่อมคิดตามผลของงาน กล่าวคือ ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่จำหน่ายไป ถ้าจำหน่ายได้มากค่าตอบแทนย่อมสูงขึ้นแต่หากโจทก์จำหน่ายสินค้าที่รับฝากจากบริษัท อ. มาก ขึ้นไม่ว่าจำนวนเท่าใด โจทก์ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนมากขึ้นซึ่งเหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัทอ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน 60-70 คันต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้า โดย ไม่เสียค่าตอบแทนนั่นเอง อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า หากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการ และ ย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์ จะต้องสูงขึ้น เพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะ เพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว เช่นนี้ ดังนั้นการที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทน หรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินตายตัวตามสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้ เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีการค้า แม้ผลประโยชน์เนื่องจากการประกอบการค้าที่เป็นรายรับจากการประกอบกิจการประเภทนายหน้าและตัวแทนหรือรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้า 10 คือ ค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ตาม ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดเป็นตัวเงินนั้นเป็นประโยชน์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าหากโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือนายหน้ารับจัดธุรกิจฝากขายสินค้าให้ตัวการไม่ได้รถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนจากตัวการแล้วค่าตอบแทนหรือค่าบริการจะต้องสูงขึ้นตามปริมาณสินค้าที่จำหน่ายได้ หรือสูงกว่ากรณีที่ได้รับรถยนต์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทน ดั้งนั้น การที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนทำให้ผลประโยชน์ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่กำหนดไว้เป็นตัวเงินต่ำลง แทนที่จะสูงขึ้นหากโจทก์ใช้รถยนต์ที่ตนเองหามา ประโยชน์จากการที่โจทก์ได้ใช้รถยนต์ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ซึ่งจะเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357-358/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องชั่งผิดอัตราเพื่อฉ้อโกงทางธุรกิจ ศาลตัดสินลงโทษตามบทอาญาที่หนักที่สุด
จำเลยทั้งสามตกลงทำการชั่งเศษทองแดงที่จำเลยทั้งสามตกลงซื้อจากโจทก์ร่วมรวม 13 ครั้ง ต่างวันเวลากันด้วยเครื่องชั่งที่ผิดอัตราซึ่งถูกแก้ไขโดยเจตนาลดเครื่องชั่งทำให้ได้เศษทองแดงเกินไป เป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 270และพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31หลายกรรมต่างกัน รวม 13 ครั้ง แต่การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามแต่ละครั้งนั้น จำเลยทั้งสามมีและใช้เครื่องชั่งในวันเวลาเดียวกัน เท่ากับจำเลยทั้งสามมีเจตนาเดียวกันเป็นกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 270 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทกิจการขนส่งผู้โดยสาร: การพิจารณาตามลักษณะธุรกิจที่แท้จริง แม้มีบริการอื่นประกอบ
โจทก์ทำสัญญาสัมปทานกับท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยดำเนินธุรกิจรับส่งผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยาน ซึ่งกิจการดังกล่าวต้องใช้รถยนต์และพนักงานขับ ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ตามระยะทาง กิจการของโจทก์จึงเป็นกิจการขนส่งผู้โดยสาร ไม่ใช่เป็นเพียงกิจการสำนักงานบริการ โจทก์จึงต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนประเภทกิจการขนส่งรหัส 1407 ร้อยละ 1.2 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีการเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจากธุรกิจจัดหางาน จำเลยมีส่วนร่วมรับรู้และจัดการเอกสาร
จำเลยเป็นภริยาของ จ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ซึ่งโจทก์ระบุว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลย แม้จำเลยจะมิได้หลอกลวงให้ผู้เสียหายมาสมัครไปทำงานยังต่างประเทศกับ จ.ก็ตาม แต่ในวันสมัครงานจำเลยก็เข้ามาจัดการตรวจดูเอกสารที่ผู้เสียหายยื่นประกอบใบสมัครงานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ โดยมีจ. เป็นผู้รับเงินค่าบริการ สถานที่รับสมัครงานก็คือสำนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย ที่พักอาศัยของ จ. และจำเลยก็อยู่ด้านหลังสำนักงานนั้นเอง จำเลยจึงย่อมทราบว่ามีคนไปสมัครงานกับ จ. เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ไปทำงานยังต่างประเทศและมาติดตามเรื่อง จำเลยก็รับทำหน้าที่แทน จ.และพยายามหาเงินใช้คืนผู้เสียหาย ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยร่วมรับรู้ถึงการทำงานของ จ. มาโดยตลอด ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมกับ จ. ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีสำนักงานหรือป้ายโฆษณา ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
จำเลยตกลงหางานให้บุตรของป. ม. และ ห. แล้ว เรียก เอา ค่าบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และจำเลยได้ได้ ดำเนินการ ที่จะให้บุตรของบุคคลทั้งสามได้เข้าทำงานโดยพาไปสมัครสอบ ถือได้ว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่บุคคลทั้งสามแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อทำงานในประเทศ โดยเรียกเก็บค่าบริการตอบแทนในการจัดหางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งของธุรกิจ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" ตามบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยงานบ้านนั้นจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของนายจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความในบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" เป็นข้อยกเว้นต้องตีความโดยเคร่งครัดหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100คน โดยมี ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างตำแหน่งแม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ซึ่งสภาพงานที่ทำแม้จะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่จำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. งานบ้านที่โจทก์ทำดังกล่าวจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย กรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยค่าจ้างที่ขาดหายไป รวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่มได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างงานบ้าน: งานบ้านที่รวมกับการประกอบธุรกิจของนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึง ลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน"ตาม บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตี ความโดย เคร่งครัดดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะ ที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดย งานบ้านนั้นจะต้อง มิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใด รวมอยู่ด้วย จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่าง ประเทศ มีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่ง แม่บ้านมีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่ งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้ จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้ รับความคุ้มครองตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำ กว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเสริมการขายและการตอบแทนไม่ถือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แจ้งชัดมาแสดงโดยตรงว่าโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนกัน การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการแผนกเวชภัณฑ์ของบริษัท บ. ดำเนินการให้บริษัท บ. เพิ่มส่วนลดให้โจทก์พนักงานของบริษัท บ. ไม่นำฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มไปขายในท้องที่ที่โจทก์ขายอยู่ และบริษัท บ. ให้ของแถมเพื่อให้โจทก์นำไปแจกแก่ลูกค้าของโจทก์อีกต่อหนึ่งซึ่งทำให้โจทก์มีกำไรจากการซืสินค้าจากบริษัท บ. ไปขายมากขึ้น ล้วนแต่เป็นการส่งเสริมการขายเพื่อทำให้บริษัท บ. ขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทางการค้า แม้โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยร้อยละห้าของกำไรที่ได้จากการขายฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์ม ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนซื้อฟิล์มเอ็กซเรย์และน้ำยาล้างฟิล์มจากบริษัท บ. ไปขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรแต่เป็นเรื่องจำเลยดำเนินการให้โจทก์มีกำไรจากกิจการค้ามากขึ้นและโจทก์ให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน จำเลยจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินอันเกิดจากกิจการค้านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมทรัพย์สิน: สามีภรรยาไม่จดทะเบียนร่วมกันทำธุรกิจ เงินร่วมกันซื้อทรัพย์เป็นของทั้งสองร่วมกัน
ผู้ร้องกับจำเลยอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ร่วมกันประกอบธุรกิจ และใช้เงินซึ่งทำมาหาได้ด้วยกันซื้อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมจึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้