พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368-2375/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและปิดกั้นโรงงาน: การเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและคืนเงินประกัน
เมื่อการกระทำของโจทก์ที่นัดหยุดงานแล้วปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การที่จำเลยมิได้เลิกจ้างทันทีจนเวลาล่วงเลยมาปีเศษและที่จำเลยพิจารณาลูกจ้างอื่นรวมทั้งโจทก์ที่เข้าทำงานตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า ลูกจ้างคนใดประพฤติตัวดีก็ไม่เลิกจ้าง คงเลิกจ้างเฉพาะผู้ที่มิได้กลับตัวประพฤติตนให้ดีขึ้นนั้นเป็นเพียงเหตุประกอบการพิจารณาที่จะอภัยแก่การกระทำของลูกจ้างและโจทก์ที่ปิดกั้นประตูโรงงานหรือไม่เท่านั้น และเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับพวกก็คือเหตุที่ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานนั่นเองจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสละสิทธิเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์กระทำผิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงไม่ต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์แต่จำเลยเพียงนำสืบว่าโจทก์ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยเสียหายอย่างไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์กระทำผิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงไม่ต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์แต่จำเลยเพียงนำสืบว่าโจทก์ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยเสียหายอย่างไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งลูกค้าถึงการนัดหยุดงาน
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงในโรงงานขัดขวางการทำงาน ละเมิดต่อนายจ้าง ไม่เป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมาย
ลูกจ้างหยุดงานและชุมนุมกันในบริเวณที่นายจ้างต้องใช้ทำงานผลิตและอยู่ใกล้สถานที่เก็บวัสดุไวไฟ นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างชุมนุมในบริเวณดังกล่าวจึงได้ขอร้องให้ไปชุมนุมที่อื่นในบริเวณโรงงานนั้นเองแต่ลูกจ้างคงขัดขืนชุมนุมกันอยู่ที่เดิมและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างดังนี้ การกระทำของลูกจ้างเป็นการละเมิดต่อนายจ้างแล้วกรณีละเมิดและการเลิกจ้างเป็นคนละกรณีกันมิใช่ว่านายจ้างจะต้องเลิกจ้างก่อนแล้วการกระทำของลูกจ้างจึงจะเป็นการละเมิด
การนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น การกระทำอย่างอื่นเช่น การปิดกั้นถนน หรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น ย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด ผู้กระทำจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 99
เมื่อลูกจ้างเป็นผู้กระทำละเมิดเอง ลูกจ้างก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นโดยไม่คำนึงว่าสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกจะสั่งให้ลูกจ้างกระทำหรือไม่
การนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น การกระทำอย่างอื่นเช่น การปิดกั้นถนน หรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น ย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด ผู้กระทำจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 99
เมื่อลูกจ้างเป็นผู้กระทำละเมิดเอง ลูกจ้างก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นโดยไม่คำนึงว่าสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกจะสั่งให้ลูกจ้างกระทำหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องและการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าชดเชยได้
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นหัวหน้าคนงานได้บอกให้คนงานเก็บเครื่องมือและหยุดงานประท้วงจำเลยเพราะไม่พอใจที่จำเลยไล่ลูกจ้างบางคนออกจากงาน เมื่อการนัดหยุดงานดังกล่าวยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยจึงเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 การกระทำของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้าง ได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์ ลักเอาใบลาและบัตรลงเวลาของโจทก์ไป แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในภายหลังหาใช่เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เอาใบลาและบัตรลงเวลาคืนไป จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานที่เกินขอบเขต การปิดกั้นทางเข้าออกบริษัทถือเป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และเป็นเหตุเลิกจ้างได้
สภาพปกติของการนัดหยุดงานได้แก่การที่ลูกจ้างหยุดการกระทำใด ๆ อันลูกจ้างมีหน้าที่ต้องกระทำอยู่ตามปกติ ผลที่เกิดขึ้นจากการหยุดผลิตหรือหยุดการขนส่งย่อมถือเป็นผลธรรมดาหรือธรรมชาติของการหยุดงาน แต่การที่ผู้คัดค้านกับพวกซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่เพียงแต่หยุดงานแต่กลับปิดกั้นประตูทางเข้าออกบริษัทผู้ร้อง จนเป็นเหตุให้บริษัทผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามสัญญากับคู่สัญญาได้ และต้องรับผิดในความเสียหายต่อคู่สัญญา ย่อมถือได้ว่าผลที่เกิดขึ้นมิใช่ผลธรรมดาของการนัดหยุดงานแต่เป็นเรื่องที่กรรมการลูกจ้างผู้คัดค้านจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานที่เกินเลยขอบเขต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและคู่สัญญา ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
สภาพปกติของการนัดหยุดงานได้แก่การที่ลูกจ้างหยุดการกระทำใด ๆอันลูกจ้างมีหน้าที่ต้องกระทำอยู่ตามปกติผลที่เกิดขึ้นจากการหยุดผลิตหรือหยุดการขนส่งย่อมถือเป็นผลธรรมดาหรือธรรมชาติของการหยุดงาน แต่การที่ผู้คัดค้านกับพวกซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่เพียงแต่หยุดงาน แต่กลับปิดกั้นประตูทางเข้าออกบริษัทผู้ร้อง จนเป็นเหตุให้บริษัทผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามสัญญากับคู่สัญญาได้ และต้องรับผิดในความเสียหายต่อคู่สัญญา ย่อมถือได้ว่าผลที่เกิดขึ้นมิใช่ผลธรรมดาของการนัดหยุดงาน แต่เป็นเรื่องที่กรรมการลูกจ้างผู้คัดค้านจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานของลูกจ้างทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาที่นัดหยุดงานและนายจ้างปิดงานตอบโต้
การนัดหยุดงานเป็นมาตรการที่ลูกจ้างกระทำเพื่อบีบบังคับให้นายจ้างต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้าง นายจ้างไม่ได้รับประโยชน์จากแรงงานของลูกจ้าง การจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างนัดหยุดงานย่อมจะต้องเล็งเห็นความเสียหายอันจะเกิดแก่นายจ้าง และลูกจ้างก็ต้องยอมรับผลแห่งการที่ไม่ได้ทำงานแก่นายจ้างด้วย ดังนั้น เมื่อทั้งลูกจ้างซึ่งนัดหยุดงานและนายจ้างก็ปิดงานเป็นการโต้ตอบกันโดยสมัครใจและถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วจึงเรียกร้องสิทธิอันจะพึงเกิดจากการจ้างแรงงานหาได้ไม่ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างนัดหยุดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานและการปิดงานโดยนายจ้างทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว
การนัดหยุดงานเป็นมาตรการที่ลูกจ้างกระทำเพื่อบีบบังคับให้นายจ้างต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้าง นายจ้างไม่ได้รับประโยชน์จากแรงงานของลูกจ้าง การจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างนัดหยุดงานย่อมจะต้องเล็งเห็นความเสียหายอันจะเกิดแก่นายจ้าง และลูกจ้างก็ต้องยอมรับผลแห่งการที่ไม่ได้ทำงานแก่นายจ้างด้วย ดังนั้น เมื่อทั้งลูกจ้างซึ่งนัดหยุดงานและนายจ้างก็ปิดงานเป็นการโต้ตอบกันโดยสมัครใจและถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วจึงเรียกร้องสิทธิอันจะพึงเกิดจากการจ้างแรงงานหาได้ไม่ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างนัดหยุดงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานภายใต้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้
แม้ลูกจ้างจะมีสิทธินัดหยุดงานได้ เพราะเป็นวิธีเดียวที่ลูกจ้างสามารถใช้เป็นฐานอำนาจในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างแต่จะต้องอยู่ในกรอบบังคับของกฎหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิได้เสมอไป สิทธินัดหยุดงานจะเกิดขึ้นหรือมีขึ้นได้ เมื่อลูกจ้างได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน แล้วนายจ้างกับลูกจ้างไม่อาจตกลงกันได้โดยถือว่าข้อพิพาทแรงงานนั้นเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิ นัดหยุดงาน