พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาเกิดได้จากการตกลงด้วยวาจา
สัญญานายหน้าเป็นการตกลงระหว่างกันว่า นายหน้าจะทำการเพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอก และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการทำสัญญาจะต้องปฏิบัติเช่นใด ดังนั้นการทำสัญญาหรือตกลงดังกล่าวจึงไม่มีแบบ เพียงแต่คู่สัญญาตกลงกันด้วยวาจาสัญญานายหน้าย่อมเกิดขึ้นตามข้อตกลงนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด vs. นายหน้า: การซื้อขายไม่ผูกพันเจ้าของหากจำเลยที่ 2 เป็นเพียงนายหน้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 มาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จากโจทก์จำนวนหนึ่งและก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 2 ก็เป็นเช่นนี้ตลอดมา จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงนายหน้า เท่านั้นหาใช่เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์ไม่ การซื้อขายรถยนต์พิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 จะขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องแย้งไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนายหน้าชี้ช่องทำสัญญาเช่า: จำเลยต้องชำระค่านายหน้าเมื่อการทำสัญญาสำเร็จได้จากการชี้ช่องของโจทก์
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าอาคารกับสำนักงาน ท. โดยจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์โจทก์และบิดาโจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้จำเลยทำหนังสือขอเช่ายื่นต่อสำนักงาน ท. จนสำนักงาน ท. ได้มีหนังสือเรียกให้จำเลยไปทำสัญญาเช่า แต่เนื่องจากจำเลยแจ้งการครอบครองอาคารไม่ตรงกับความจริง สำนักงาน ท. จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยขอระงับการทำสัญญาแล้วให้จำเลยเข้าประมูลสู้ราคากับผู้เช่าเดิมเพียงสองราย แต่ผู้เช่าเดิมไม่มาประมูล จำเลยจึงเข้าประมูลเสนอให้ค่าธรรมเนียมพิเศษแต่ฝ่ายเดียว และได้เข้าทำสัญญาเช่ากับสำนักงาน ท.กรณีถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่นายหน้าครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยได้เข้าประมูลราคากับผู้เช่าเดิมจนได้เข้าทำสัญญากับสำนักงาน ท. เป็นผลแห่งการชี้ช่องของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนายหน้าชี้ช่องทำสัญญาเช่า แม้มีการประมูลราคาก็ตาม จำเลยยังต้องจ่ายค่านายหน้า
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าอาคารกับสำนักงาน ท. โดยจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์โจทก์และบิดาโจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้จำเลยทำหนังสือขอเช่ายื่นต่อสำนักงาน ท.จนสำนักงานท. ได้มีหนังสือเรียกให้จำเลยไปทำสัญญาเช่า แต่เนื่องจากจำเลยแจ้งการครอบครองอาคารไม่ตรงกับความจริง สำนักงาน ท. จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยขอระงับการทำสัญญา แล้วให้จำเลยเข้าประมูลสู้ราคากับผู้เช่าเดิมเพียงสองรายแต่ผู้เช่าเดิมไม่มาประมูล จำเลยจึงเข้าประมูลเสนอให้ค่าธรรมเนียมพิเศษแต่ฝ่ายเดียว และได้เข้าทำสัญญาเช่ากับสำนักงาน ท. กรณีถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่นายหน้าครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยได้เข้าประมูลราคากับผู้เช่าเดิมจนได้เข้าทำสัญญากับสำนักงาน ท. เป็นผลแห่งการชี้ช่องของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน หากเงื่อนไขไม่สำเร็จ นายหน้าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
จำเลยทั้งสามทำสัญญาจะขายที่ดินให้ผู้จะซื้อโดยตกลงกันว่าที่ดินที่จะซื้อขายยังมีคดีพิพาทอยู่กับบุคคลภายนอก ถ้าคดีถึงที่สุดเมื่อใดไม่ว่าจะโดยคำพิพากษาของศาลหรือโดยการประนีประนอมยอมความ ถ้าผู้ขายชนะคดีและมีสิทธิแต่ฝ่ายเดียว ผู้ขายจะแจ้งยืนยันให้ผู้ซื้อทราบ ถ้าผู้ขายไม่มีสิทธิตามกฎหมายโดยผลแห่งคำพิพากษา ผู้ขายจะคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จ ได้มีการเลิกสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นนายหน้าให้กับการซื้อขายดังกล่าว เมื่อข้อตกลงการเป็นนายหน้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาบำเหน็จค่านายหน้าได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จ ได้มีการเลิกสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นนายหน้าให้กับการซื้อขายดังกล่าว เมื่อข้อตกลงการเป็นนายหน้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาบำเหน็จค่านายหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน สัญญาเป็นโมฆะเมื่อเงื่อนไขไม่สำเร็จ ผู้เป็นนายหน้าจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จ
ข้อตกลงเป็นนายหน้ามิได้ตกลงหรือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นประกอบกับสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จก็มิได้มีการเลิกสัญญาเช่นนี้ โจทก์จะเรียกค่าบำเหน็จ ค่านายหน้า จากจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา นายหน้า: กำหนดเวลาจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญ หากไม่ทำตามสัญญาภายในกำหนด สัญญาเป็นอันสิ้นสุด
จำเลยตกลง ให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้ามีข้อความว่า "...มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินให้เสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันทำสัญญานี้...ถ้า พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง" ดังนี้เห็นได้ ว่าคู่สัญญามีเจตนากำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้อง จด ทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จภายในกำหนดเวลา10 วัน นับแต่วันทำสัญญา กำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่ อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อ ที่ดินจากจำเลยก็ตาม แต่ เมื่อพ้นกำหนด 10 วัน ตาม สัญญาโจทก์ยังไม่สามารถจัดการให้มีการจดทะเบียนซื้อ ขายโอนกรรมสิทธิ์กันได้ ถือ ว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723-1746/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นนายหน้าและหน้าที่ในการเสียภาษีการค้า แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียว
โจทก์ชี้ชวนให้ผู้มีชื่อมาซื้อหุ้นของธนาคาร ก. และบุคคลเหล่านี้ได้ซื้อหุ้นดังกล่าวตามที่โจทก์ชี้ชวน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมเป็นบำเหน็จการชี้ชวนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง โจทก์จึงเป็นนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและจดทะเบียนการค้า
บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89 ทวิ เป็นบทบังคับที่ไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ประกอบการค้ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ โจทก์ไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 และ 89 ทวิ.
บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89 ทวิ เป็นบทบังคับที่ไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ประกอบการค้ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ โจทก์ไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 และ 89 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยมีฐานะเป็นนายหน้า ไม่ใช่ผู้จัดหางานโดยตรง
การกระทำของผู้จัดหางานที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7 ผู้จัดหางานจะต้องเรียกหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงาน เมื่อจำเลยไม่เคยเรียกร้องหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงาน แต่บริษัท ก. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเป็นผู้เรียกหรือรับค่าบริการเอง และจำเลยไม่ได้อยู่ในฐานะผู้จัดหางานตามความหมายของมาตรา 4 เพราะจำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนงานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างจำเลยเป็นเพียงนายหน้าผู้หวังจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัท ก. ในการหาผู้เสียหายไปสมัครงานเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดหางานหรือร่วมจัดหางานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยไม่ใช่ผู้จัดหางานแต่เป็นนายหน้าที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
การกระทำของผู้จัดหางานที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 นั้น ผู้จัดหางานจะต้องเรียกหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงาน ฉะนั้นเมื่อมีบริษัทก. เป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าบริการเองและจำเลยไม่อยู่ในฐานะผู้จัดหางาน แต่อยู่ในฐานะเป็นเพียงนายหน้าผู้หวังที่จะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทดังกล่าว และจำเลยยังไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ เลย เช่นนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดหางานหรือร่วมจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต.