คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำเข้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถยนต์บรรทุกเก่า vs. ใหม่: การพิจารณาประเภทรถยนต์เพื่อการนำเข้าและข้อพิพาททางกฎหมาย
รถยนต์นำเข้าของโจทก์แม้โดยสภาพไม่สามารถบรรทุกสิ่งของหรือสัตว์เพราะไม่มีกระบะกั้นแต่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์บรรทุกเมื่อนำรถบรรทุกพ่วงมาประกบเกี่ยวพ่วงก็สามารถบรรทุกและรับน้ำหนักบรรทุกได้จึงเป็นรถยนต์บรรทุกตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกมาตรา4(20)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: การเปรียบเทียบราคาจากใบขนสินค้าที่นำเข้าวันเดียวกัน และการพิจารณาเกรดสินค้า
วันนำสินค้าเข้านั้น หมายถึงวันที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่วันที่ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าเพื่อชำระภาษีอากร เมื่อสินค้าของโจทก์และของบริษัท ท. นำเข้าวันเดียวกันโดยเรือลำเดียวกัน แม้โจทก์จะยื่นใบขนสินค้าก่อนก็ไม่ถือว่าโจทก์และบริษัท ท. ได้นำสินค้าเข้ามาต่างวันกันการเปรียบเทียบราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ากับราคาสินค้าที่บริษัท ท.นำเข้าซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการพิจารณาค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้า: พิจารณาเป็นภาษีอากรตามกฎหมาย
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และจำเลยได้ออกประกาศให้ผู้นำของเข้าที่จะขอคืนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการคืนเงินอากรขาเข้า โดยอนุโลม จำเลยจึงมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษและคืนค่าธรรมเนียมพิเศษที่ผู้นำเข้าได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียด้วย ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าเป็นภาษีอากรตามความหมายของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 3(4) โจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางได้ตามมาตรา 7(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคืนเงินภาษีอากร กรณีผู้รับของผิดพลาด ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อหรือนำเข้า
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า บัญญัติว่า"สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้า ฯลฯ" บทบัญญัติดังกล่าวใช้กับผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีและได้ชำระเงินค่าภาษีเกินไปจากที่ต้องเสียจริง อาจเรียกเงินอากรคืนได้ภายใน2 ปี นับแต่วันที่นำของเข้า แต่กรณีของจำเลยที่ 1 เป็นการสั่งซื้อและนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผู้ขายส่งสินค้าพิพาทมาให้โดยสับสนผิดพลาด จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้สั่งซื้อและนำของพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 ไม่ต้องมีหน้าที่รับผิดเสียอากรแก่โจทก์ที่ 1 กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ฟ้องแย้งเรียกคืนเงินค่าภาษีอากรของจำเลยทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 1มีสิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้นำของพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ทั้งสอง แม้ของพิพาทเป็นสินค้าบางส่วนที่ตรงกับที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะสั่งซื้อและนำเข้าก็ตาม โจทก์ต้องคืนเงินค่าภาษีอากรทั้งหมดแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องอาศัยราคาขายส่งเงินสดที่นำเข้า ณ เวลาใกล้เคียงกัน และการอุทธรณ์ภาษีอากรที่ล่าช้าทำให้ต้องรับผิดตามประเมิน
ราคาสินค้าที่โจทก์ที่ 1 นำมาเปรียบเทียบเป็นราคาสินค้าที่จะนำเข้ามาเพียง 2 ชิ้นซึ่งเป็นจำนวนเล็กน้อย จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการสั่งซื้อและนำเข้ามาเพื่อใช้เองมากกว่าจะนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย จึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นราคาขายส่งเงินสด ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง และ ว.นำเข้ามาเป็นระยะเวลาก่อนที่จำเลยนำเข้ามาเกือบถึง 1 ปี มิใช่เป็นการนำเข้า ณ เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อันจะนำมาเปรียบเทียบหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 นำราคาสินค้าที่ ว.นำเข้ามาเป็นเกณฑ์คำนวณหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แล้วประเมินราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าเพิ่มขึ้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวและย่อมส่งผลให้การประเมินให้จำเลยเสียอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ในส่วนของภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แม้การประเมินจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30ภาษีส่วนนี้จึงยุติ จำเลยต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามการประเมินที่ยุติไปแล้วนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การวางประกัน และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากรเมื่อส่งออกคืน
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันดังกล่าวคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันดังกล่าวเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อนดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้มาตรฐาน การวางประกันภาษี และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน จำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงค์โปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุญาติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงค์โปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาซื้อขายที่แท้จริงนำเข้า: การเปรียบเทียบราคาตลาดเพื่อประเมินมูลค่า
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาซื้อขายที่ลดหย่อนไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาต้องเปรียบเทียบกับราคาตลาด
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้า จึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่ยึดเพียงราคาสูงสุดที่ผู้อื่นนำเข้า
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่องการตรวจสอบและประเมินราคาสินค้า และคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่องระเบียบ ปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการ ตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โดยการเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นคำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ดุลพินิจ พิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควรแก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อน โจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด จึงต้องให้ ผู้อำนวยการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่งฉะนั้น การ ที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือ เอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าเป็น ราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ได้ ปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ ในการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้นราคาสูงและ ต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากัน เป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้.
of 17