คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมอำพราง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: ต้องมีเจตนาปิดบังตั้งแต่ทำสัญญาแรก การทำสัญญาภายหลังไม่ถือเป็นนิติกรรมอำพราง
การทำนิติกรรมอำพราง ขณะทำนิติกรรมคู่กรณีจะต้องมีเจตนาทำนิติกรรมอันหนึ่งขึ้นมาอำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง แต่ขณะจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. สามีโจทก์ โจทก์จำเลยยังไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทและสัญญาให้จำเลยอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทมาปิดบังอำพรางนิติกรรมที่จำเลยกู้ยืมเงินสามีโจทก์ สัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทและสัญญาให้อาศัยได้กระทำขึ้นภายหลัง ทั้งมิได้ทำขึ้นโดยบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีเดียวกัน จึงไม่อยู่ในความหมายของนิติกรรมอำพราง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาเช่าซื้อ: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อโต้แย้งเรื่องเจตนาที่ไม่สมัครใจ เพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต้องการกู้ยืมเงินโจทก์ไปซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 3 โจทก์มิได้มีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ที่เช่าซื้ออย่างแท้จริง เป็นการใส่ชื่อไว้แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้เปลี่ยนเจตนาเดิมมาผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ แต่เป็นการจำยอมทำสัญญาไปนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า ความประสงค์เดิมของจำเลยที่ 1 ต้องการกู้ยืมเงินโจทก์โจทก์ต้องการให้จำเลยที่ 1 โอนรถยนต์มาเป็นของโจทก์ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเปลี่ยนเจตนาเดิมมายินยอมผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่นิติกรรมอำพรางเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาขายฝาก-เช่า การงดชี้สองสถาน-สืบพยาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับซื้อฝากมาจากจำเลยและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต่อมาจำเลยเช่าจนครบกำหนดตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันเงินที่นาย บ.กู้ยืมไปจากโจทก์ ต่อมานาย บ.ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝาก จำเลยไม่เคยรับเงินตามสัญญาขายฝากหรือเช่าที่ดินพิพาทขอให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนให้ ดังนี้แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งยอมรับว่าสัญญาขายฝากและสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อประกันการกู้ยืมของนาย บ. ข้อเท็จจริงก็ยังฟังไม่ถนัดเสียทีเดียวว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด และสัญญาขายฝากกับสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่ทั้งสัญญาขายฝากถึงหากจะเป็นนิติกรรมอำพรางตกเป็นโมฆะ แต่เอกสารสัญญาก็ยังเป็นหลักฐานการค้ำประกันการกู้ยืมได้ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจำเลยก็ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเป็นการเช่าซึ่งต้องฟังข้อเท็จจริงโดยการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเสียนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากและเช่า การงดสืบพยานไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับซื้อฝากมาจากจำเลยและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต่อมาจำเลยเช่าจนครบกำหนดตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันเงินที่นาย บ. กู้ยืมไปจากโจทก์ต่อมานาย บ. ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝาก จำเลยไม่เคยรับเงินตามสัญญาขายฝากหรือเช่าที่ดินพิพาทขอให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนให้ ดังนี้แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งยอมรับว่าสัญญาขายฝากและสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อประกันการกู้ยืมของนาย บ. ข้อเท็จจริงก็ยังฟังไม่ถนัดเสียทีเดียวว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด และสัญญาขายฝากกับสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่ ทั้งสัญญาขายฝากถึงหากจะเป็นนิติกรรมอำพรางตกเป็นโมฆะแต่เอกสารสัญญาก็ยังเป็นหลักฐานการค้ำประกันการกู้ยืมได้สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจำเลยก็ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเป็นการเช่าซึ่งต้องฟังข้อเท็จจริงโดยการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเสียนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การโอนที่ดินเพื่อจำนอง มิใช่การโอนให้จริง
โจทก์ให้จำเลยยืมที่พิพาทไปจำนองธนาคาร ไม่มีความประสงค์ให้ผูกพันเป็นการโอนให้กันจริง ๆ จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม (มาตรา 155ที่แก้ไขใหม่) ที่พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่และจำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาเช่ารถยนต์ที่แท้จริงคือสัญญาเงินกู้
ก่อนรถยนต์และสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทจะโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ในปี 2527 จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์และเจ้าของสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทมาก่อน แต่ต่อมาจำเลยใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียนรถแทนด้วยการทำสัญญาเช่าจากโจทก์แทนสัญญากู้ยืมเงินกันจริง กรณีจึงต้องบังคับกันตามสัญญากู้ยืมที่อำพรางกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยอำพรางนิติกรรมและข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร
ที่พิพาทเป็นของมารดาโจทก์ แต่ใส่ชื่อ ก. พี่ชายโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมายกให้โจทก์โดยเสน่หาด้วยการจดทะเบียนโอนเป็นซื้อขายอำพรางนิติกรรมการให้เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ของผู้โอน อันมิใช่เป็นการทำโดยมุ่งค้าหากำไร การที่โจทก์นำไปจำนองหรือได้เสนอขายหน่วยราชการต่าง ๆ ก่อนขายให้การเคหะแห่งชาติล้วนเป็นการกระทำภายหลังจากได้ที่พิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เมื่อโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และการที่โจทก์ขายที่พิพาทให้การเคหะแห่งชาติเป็นการขายทั้งแปลงเพราะต้องการขายทั้งหมดก็มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การนำสืบพยานบุคคลในเรื่องการจดทะเบียนซื้อที่พิพาทว่าเป็นการถือกรรมสิทธิแทน และการจดทะเบียนซื้อขายเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องที่นำสืบว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง อุทธรณ์จำเลยที่ว่า โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้เพราะโจทก์นำเงินได้จากการขายที่ดินไปหาส่วนเฉลี่ยแล้วนำไปขอยกเว้นเป็นรายบุคคล ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดไปขอยกเว้นโดยไม่แบ่งเฉลี่ย เป็นข้อที่จำเลยมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว เพราะจำเลยให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นเพียงว่า เงินได้ของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันหมายถึงว่าไม่ได้รับยกเว้นเพราะโจทก์ได้ทรัพย์สินมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าโจทก์มิได้ยื่นขอยกเว้นโดยถูกต้อง จึงไม่ได้รับยกเว้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญาซื้อขาย ศาลต้องบังคับตามนิติกรรมที่แท้จริง
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันแต่ทำหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์มอบให้โจทก์เป็นหลักฐานนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงินและตกเป็นโมฆะ ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา155 วรรคสอง แม้จะต้องถือว่าหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์ใช้บังคับเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่แสดงเป็นสัญญาซื้อขาย ศาลยกฟ้องเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ซึ่งมีหนังสือหลักฐานการรับเงินขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงิน นิติกรรมการซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคแรก เดิม (มาตรา 155 วรรคแรกใหม่) และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคสอง เดิม (มาตรา 155วรรคสองใหม่) และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าหนังสือหลักฐานการรับเงินขายรถยนต์เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน จำเลยให้การต่อสู้ว่า ความจริงเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินกัน เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ ย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก เดิมและต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง เดิม และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้
of 21