คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติสัมพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในสัญญาเช่าซ้อน โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย สิทธิอยู่ที่ผู้ให้เช่า
โจทก์เป็นผู้ครอบครองตึกแถวตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งครบกำหนดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆในตึกแถวได้อีกการที่ส.ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวแม้จะฟังว่าจำเลยหลอกลวงส. ให้จำเลยเช่าตึกแถวที่โจทก์ครอบครองอยู่ส.ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยเท่านั้นจะใช้สิทธิบอกล้างหรือฟ้องให้เพิกถอนได้โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยจึงจะใช้สิทธิบอกล้างหรือฟ้องเพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวมิได้หากโจทก์เห็นว่าการที่ส. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะฟ้องส. มิใช่ฟ้องจำเลยส่วนการที่จำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ออกจากตึกแถวโดยอ้างว่าจำเลยได้เป็นผู้เช่าตึกแถวกับส. แล้วก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อขายต้องแปลงหนี้ใหม่ ผู้รับโอนสิทธิไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขายโดยตรง จึงไม่อาจฟ้องบังคับได้
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่ มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วย ผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้ เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้ จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายต่างตอบแทน: สิทธิของผู้รับโอนที่ดินเมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่ และนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และจำเลยที่3เป็นสัญญาต่างตอบแทนผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วยผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่3ผู้จะขายได้เพราะมีมีนิติสัมพันธ์ต่อกันเมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่3ผู้จะขายได้และจำเลยที่1ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่1ให้ร่วมกับจำเลยที่3จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วง และผู้รับเหมาชั้นต้น
ศาลแรงงานได้พิจารณาพยานหลักฐานที่ทุกฝ่ายนำสืบตามกฎหมายลักษณะพยานตลอดจนวิธีพิจารณาความแล้วข้อเท็จจริงปรากฎตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ความว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยหรือจำเลยร่วมเป็นเหตุชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเรียกร้องข้อบังคับให้จำเลยหรือจำเลยร่วมให้ต้องรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องสามารถสรุปผลในประเด็นแห่งคดีได้คือโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ต้องอาศัยเหตุผลจากพยานหลักฐานของจำเลยและจำเลยร่วมมาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์อีก คำวินิจฉัยในส่วนพยานหลักฐานจำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นในประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องมีนิติสัมพันธ์ก่อนการโอนทรัพย์สิน
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ต่อไปได้
ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว. ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้าน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเจ้าหนี้มีนิติสัมพันธ์กับลูกหนี้ก่อนการจำนองหรือไม่
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ต่อไปได้ ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว.ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยไม่มีสิทธิร้องทุกข์
ณ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ณ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่มีสิทธิร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย
ณ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ. ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยณ. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55, 142, 142(5), 246, 247
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์ แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สาม นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบ: นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเช็คเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้
แม้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คผู้ถือและอยู่ในความครอบครองของโจทก์แต่ฐานะผู้ทรงโดยการถือเช็คผู้ถือจะต้องเป็นไปโดยชอบตามที่อ้างเมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้บุคคลที่สามนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มี โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากบุคคลที่สามที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาทที่กำหนด ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
of 14