พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการพิพากษาเกินคำขอและบทบัญญัติเกี่ยวกับโทษทางอาญาที่หนักที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดชิงทรัพย์กรรมหนึ่ง แล้วจึงฆ่าผู้ตายโดยเจตนาอีกกรรมหนึ่ง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์ผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเพียงอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้ตายโดยมีอาวุธ อันเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 339 วรรคสองเท่านั้น จะลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 339วรรคท้ายไม่ได้ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 และปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นอ้างเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสองศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิตเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 11 ดังนั้นโจทก์จึงฎีกาขอให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง หลังกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมใช้บังคับ
โจทก์ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532ใช้บังคับการพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ย่อมฎีกาไม่ได้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ครอบครองไม้หวงห้าม
จำเลยทั้งสองมีไม้สักแปรรูปและไม้ประดู่กับไม้รังแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกจำนวนและปริมาตรของไม้ทั้งสองชนิดต่างหากจากกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองก็เป็นความผิดตามมาตรา 48,73 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 บทมาตราเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การนำบทบัญญัติรับขนของมาปรับใช้
การที่บริษัทเดินเรือขนสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นมายังท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นท่าเรือปลายทางเป็นการรับขนของทางทะเลซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609วรรคท้าย บัญญัติให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น ปัจจุบันกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ในเรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าหรือสิ่งของที่ขนส่งทางทะเล ต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งปรับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนคดีอาญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเฉพาะ แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน
โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องเข้ากับคดีที่โจทก์อีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือ โดยขอให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เช่นนี้จำเลยหาอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6,8ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ไม่เพราะคดีอาญานั้นมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23,26บัญญัติเรื่องการโอนคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตราดังกล่าวมาปรับแก่กรณีของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษการกระทำผิดเลือกตั้งสุขาภิบาลต้องมีกฎหมายกำหนดโทษโดยเฉพาะ การนำบทบัญญัติกฎหมายอื่นมาใช้โดยอนุโลมไม่ได้
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้ พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 วรรคสุดท้ายมีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา 7(4)นั้น ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้ให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด จึงจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ เมื่อมีผู้กระทำผิดการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล จึงขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวจากการมีไม้สักและไม้แดงแปรรูป แม้บทบัญญัติกำหนดโทษต่างวรรคกัน
การที่จำเลยมีไม้สักแปรรูปและไม้แดงแปรรูปไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน ซึ่งบทมาตราที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษก็เป็นบทมาตราเดียวกัน เพียงแต่กำหนดประเภทไม้ทั้งสองไว้ต่างวรรคกันตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง (1) และ (2)จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีแต่งตั้งเทศมนตรี: สิทธิสมาชิกสภาเทศบาลและการขาดบทบัญญัติทางกฎหมาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีก็โดยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาลส่วนใหญ่ในที่ประชุมสภาเทศบาล จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งของโจทก์ที่ 3 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ทั้งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลขอให้บังคับผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไว้แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้นโจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการบังคับใช้บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนำเข้า
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้นเช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเดียวกันในการใช้เครื่องชั่งผิดอัตรา ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยมีเครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า และใช้เครื่องชั่งดังกล่าวในวันเวลาเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท.