พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด: การซื้อลดเช็คไม่อยู่ในขอบเขต แม้จะอ้างเป็นการให้กู้ยืมเงิน
การซื้อลดเช็คกับการให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมคนละประเภทมีกฎหมายรองรับในเรื่องรูปแบบและผลประโยชน์ผิดแผกแตกต่างกันดังนั้น การที่บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟังว่า การซื้อลดเช็คอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในหนี้จากการดำเนินธุรกิจบริษัทจำกัด: การแยกแยะความเกี่ยวข้องและความยินยอม
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อก่อตั้งบริษัทเบต้าทัวร์ จำกัด ต่อมาไม่ปรากฏว่าบริษัท หรือผู้เริ่มก่อการดังกล่าวได้ประกอบกิจการค้าแต่อย่างใด หลังจากนั้น 6 เดือนเศษ จำเลยที่ 6 กับพวกได้จดทะเบียนบริษัทเบต้า เทรเวล เซอร์วิส จำกัด จำเลยที่ 1 ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่ 6 เป็นกรรมการผู้จัดการ ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2, 3, 4 และ 8 ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จำเลยที่ 6 สั่งซื้อตั๋วเครื่องบินจากโจทก์ภายหลังที่จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว เช็คที่สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่โจทก์ก็เป็นเช็คที่จำเลยที่ 6 กับพวกลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2, 3, 4 และ 8 ร่วมรับผิด มิใช่หนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานจัดตั้งบริษัทเบต้าทัวร์ จำกัด และมิใช่หนี้ที่จำเลยที่ 6ก่อขึ้น โดยจำเลยที่ 2, 3, 4 และ 8 มอบหมายหรือรู้เห็นยินยอมให้กระทำ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะให้จำเลยที่ 2, 3,4 และ 8 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัดต่อหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทอื่น
จำเลยที่2ถึงที่8ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อก่อตั้งบริษัทเบต้าทัวร์จำกัดต่อมาไม่ปรากฏว่าบริษัทหรือผู้เริ่มก่อการดังกล่าวได้ประกอบกิจการค้าแต่อย่างใดหลังจากนั้น6เดือนเศษจำเลยที่6กับพวกได้จดทะเบียนบริษัทเบต้าเทรเวลเซอร์วิสจำกัดจำเลยที่1ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่6เป็นกรรมการผู้จัดการในการดำเนินกิจการของจำเลยที่1นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2,3,4และ8ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจำเลยที่6สั่งซื้อตั๋วเครื่องบินจากโจทก์ภายหลังที่จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1แล้วเช็คที่สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่โจทก์ก็เป็นเช็คที่จำเลยที่6กับพวกลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ทั้งสิ้นเมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2,3,4และ8ร่วมรับผิดมิใช่หนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานจัดตั้งบริษัทเบต้าทัวร์จำกัดและมิใช่หนี้ที่จำเลยที่6ก่อขึ้นโดยจำเลยที่2,3,4และ8มอบหมายหรือรู้เห็นยินยอมให้กระทำกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะให้จำเลยที่2,3,4และ8ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี
นายทะเบียนบริษัทขีดชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเสียจากทะเบียน และออกแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่โฆษณาแจ้งความดังกล่าว ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1246 (5) ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมาย ไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานถึงเหตุที่จะให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1246(6) บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกลับคืนขึ้นทะเบียนได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างในบริษัทจำกัด: กรรมการผู้จัดการรับเงินเดือนมีสิทธิคุ้มครองแรงงาน แม้มาจากการเลือกตั้ง
การที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและมีตำแหน่งเป็นกรรมการจัดการบริษัทจำเลยนั้น แม้โจทก์จะได้รับตำแหน่งด้วยการเลือกจากผู้ถือหุ้น และต้องอยู่ในตำแหน่งตามวาระที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์คือผู้บริหารงานของบริษัทซึ่งมีรายได้เป็นเงินเดือนหรือที่เรียกว่าค่าตอบแทนรายเดือนและโจทก์ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ในสวัสดิการของบริษัทเช่นเดียวกับพนักงานอื่นอีกด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทเพื่อรับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรายเดือน อันนับได้ว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามสลักหลังเช็คแทนบริษัทจำกัด ไม่ทำให้เกิดความรับผิดส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดและเป็นผู้ทรงเช็คที่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทลงบนลายมือชื่อสลักหลังเช็คดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการแสดงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยทางผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 อันอาจกล่าวได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 เอง และเห็นเจตนาได้โดยชัดแจ้งว่ากระทำในนามจำเลยที่ 2 แม้มิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2จำเลยที่ 3 ก็หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: การตรวจเอกสารบริษัท vs. การตรวจสอบบัญชีและกิจการ
การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเข้าไปตรวจดูเอกสารต่างๆของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1207 นั้นหมายถึงให้เข้าไปตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดเท่านั้นไม่ได้หมายถึงให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิตรวจบัญชีของบริษัทหรือมีสิทธิเข้าตรวจกิจการของบริษัทแต่อย่างใดผู้ถือหุ้นจึงมิอาจเข้าไปในบริษัทเพื่อตรวจสอบบัญชีและตรวจกิจการโดยลำพังได้ดังนั้นเมื่อคนยามเฝ้าประตูไม่ยอมให้ผู้ถือหุ้นเข้าไปในบริษัทตามคำสั่งของกรรมการผู้จัดการโดยมิได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ถือหุ้นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายเสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินอันเป็นการข่มขืนใจผู้ถือหุ้นกรรมการผู้จัดการจึงหามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่มีตราบริษัท โดยพิจารณาจากพฤติการณ์การทำสัญญาและการกระทำของกรรมการผู้จัดการ
ในการติดต่อกับบุคคลธรรมดาอื่น ๆ บริษัทจำเลยที่ 1 มักจะไม่ประทับตราของบริษัท แต่เมื่อติดต่อกับหน่วยราชการจึงจะใช้ตราประทับ และเมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์รับเหมาช่วงขุดคลองส่งน้ำของกรมชลประทานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อ แต่ไม่ได้ประทับตราบริษัท บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ผูกพันตามสัญญา ดังนั้นการที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากโจทก์หาเงินมาให้บริษัทจำเลยที่ 1 ใช้จ่ายในงานก่อสร้างที่รับเหมาจากกรมชลประทานแม้จะมิได้ประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำแทนบริษัทหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัดกับการค้ำประกัน: การตีความขอบเขตอำนาจตามหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามหนังสือบริคณห์สนธิของจำเลยที่ 3 ปรากฏในข้อ 3(6) ว่ามีวัตถุประสงค์ในการจำนอง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ ดังนี้ ต้องถือว่าการค้ำประกันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทจำกัด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลประกอบการค้า, การถือหุ้น, และผลขาดทุน
การที่บริษัทจำกัดทำผิดวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็ไม่ใช่เหตุที่จะปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 ที่จะให้ศาลสั่งเลิกบริษัทได้ และแม้บริษัทจะเริ่มประกอบการค้าเกิน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทก็ตามแต่มาตรา 1237 มิได้เป็นบทบังคับให้ศาลสั่งเลิกบริษัท เพียงแต่บัญยัติให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าสมควรสั่งให้เลิกบริษัทหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นชำระให้บริษัทจำเลยด้วยเงินสดและเช็คส่วนใหญ่ โจทก์ที่ 8ซึ่งเป็นกรรมการรักษาเงินเป็นคนเก็บรักษาและไม่ยอมมอบให้บริษัทจำเลยดังนั้น ที่บริษัทจำเลยไม่เริ่มทำการค้าภายใน 1 ปี อาจเป็นเพราะบริษัทจำเลยไม่มีทุนดำเนินการค้า จึงยังไม่สมควรที่จะสั่งเลิกบริษัทจำเลย
แม้บริษัทจำเลยจะขาดทุนมาทุกปะ แต่เมื่อรวมยอดขาดทุนแล้วก็เพียงร้อยละ 12 ขแงจำนวนทุนทั้งหมด และเหตุที่ขาดทุนเป็นเพราะโจทก์ที่ 8 กับบริษัทจำเลยมีข้อพิพาทฟ้องร้องกัน และเงินค่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ที่โจทก์ที่ 8ซึ่งไม่ให้ความร่วมมือโดยกักเงินค่าหุ้นไว้ เมื่อบริษัทจำเลยเรียกให้ชำระค่าหุ้นฝ่ายโจทก์ก็ไม่ยอมชำระ บริษัทจำเลยจึงไม่มีทุนดำเนินการค้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ดีบริษัทจำเลยได้ซื้อหุ้นของบริษัทอื่นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแสดงว่าบริษัทจำเลยยังมุ่งประกอบการค้าเพื่อให้ได้ผลกำไรอยู่ และมีลุ่ทางจะทำกำไรได้จึงย่อมไม่สมควรจะเลิกบริษัทจำเลย
แม้บริษัทจำเลยจะขาดทุนมาทุกปะ แต่เมื่อรวมยอดขาดทุนแล้วก็เพียงร้อยละ 12 ขแงจำนวนทุนทั้งหมด และเหตุที่ขาดทุนเป็นเพราะโจทก์ที่ 8 กับบริษัทจำเลยมีข้อพิพาทฟ้องร้องกัน และเงินค่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ที่โจทก์ที่ 8ซึ่งไม่ให้ความร่วมมือโดยกักเงินค่าหุ้นไว้ เมื่อบริษัทจำเลยเรียกให้ชำระค่าหุ้นฝ่ายโจทก์ก็ไม่ยอมชำระ บริษัทจำเลยจึงไม่มีทุนดำเนินการค้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ดีบริษัทจำเลยได้ซื้อหุ้นของบริษัทอื่นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแสดงว่าบริษัทจำเลยยังมุ่งประกอบการค้าเพื่อให้ได้ผลกำไรอยู่ และมีลุ่ทางจะทำกำไรได้จึงย่อมไม่สมควรจะเลิกบริษัทจำเลย