พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการปิดกั้นลำราง และผลกระทบต่อการฟ้องละเมิด/บังคับเปิดลำราง
โจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้จำเลยปิดกั้นลำรางพิพาท.เท่ากับโจทก์เต็มใจยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนในอนาคต. จะถือว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ไม่ได้. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย. และไม่มีอำนาจฟ้องให้ศาลบังคับจำเลยเปิดลำรางพิพาท. ลำรางพิพาทจะเป็นลำรางสาธารณะหรือไม่ก็ตาม. จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความสมัครใจ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ไปจดทะเบียน
สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ได้ทำหนังสือหย่ากันเองด้วยความสมัครใจ มีพยาน 2 คนลงชื่อในหนังสือหย่า อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยสมัครใจ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม
สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ได้ทำหนังสือหย่ากันเองด้วยความสมัครใจ มีพยาน 2 คนลงชื่อในหนังสือหย่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการควบคุมโรงงานหลัง พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 พระราชกฤษฎีกาเดิมยังคงมีผลบังคับ
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยามคำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน " 17 โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะเป็นการตั้งแลเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขยายทางพิพาท แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลบังคับเป็นบุคคลสิทธิได้
การที่โจทก์จำเลยตกลงให้โจทก์ออกทุนขยายทางพิพาทให้กว้างเพื่อใช้ร่วมกัน แต่สัญญาข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 นั้น ย่อมไม่ทำให้โจทก์ได้ทรัพย์สิทธิเป็นภารจำยอม แต่การไม่จดทะเบียนฯดังกล่าวนั้นหาได้ทำให้สัญญาข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่ คือเป็นเพียงยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น โดยเหตุนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลก่อให้เกิดบุคคลสิทธิเรียกร้องบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ฉะนั้น โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยคู่สัญญามิให้ขัดขวางในอันที่โจทก์จะใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงในสัญญาได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเรียกจำเลยใหม่ ศาลพิพากษาบังคับจำเลยใหม่ได้หากคำฟ้องเดิมครอบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 - 2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไป ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 - 2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1 - 2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: ใช้กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิด และอายุความร้องทุกข์ต้องอยู่ในบังคับอายุความฟ้อง
ถ้าอายุความฟ้องคดีอาญาขณะกระทำผิดแตกต่างกับขณะฟ้อง ต้องใช้อายุความที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดบังคับ
ความผิดอันยอมความได้ ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้น ขาดอายุความตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 80 แต่ก็ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามกฏหมายลักษณะอาญา มาตรา 78 เพราะอายุความร้องทุกข์ต้องอยู่ในบังคับอายุความฟ้องคดี
ความผิดอันยอมความได้ ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้น ขาดอายุความตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 80 แต่ก็ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามกฏหมายลักษณะอาญา มาตรา 78 เพราะอายุความร้องทุกข์ต้องอยู่ในบังคับอายุความฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดด้วยความจำเป็น: เจ้าหน้าที่ถูกบังคับด้วยปืนในการแก้ไขคะแนนเลือกตั้งได้รับการยกเว้นโทษ
จำเลยเป็นข้าราชการและเป็นเจ้าหน้าที่ในการเลือกตั้ง แก้จำนวนคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งในเอกสารที่แจ้งผลการเลือกตั้งถึงนายอำเภอ เนื่องจากถูกบีบบังคับด้วยอำนาจปืน ถือว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นพอสมควรแก่เหตุ ย่อมได้รับการยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินแลกคืนใบเบิกทางของเจ้าพนักงานป่าไม้ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก หากไม่มีการข่มขู่หรือบังคับ
จำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ มีอำนาจที่จะยึดใบเบิกทางนำไม้ไว้ เพื่อตรวจสอบได้ และได้ยึดใบเบิกทางนำไม้ของคนอื่นจากผู้เสียหาย โดยมีเหตุผล แล้วจำเลยเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกเปลี่ยนกับใบเบิกทางนำไม้ที่จำเลยยึดไว้ ยังไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก เพราะไม่เข้าลักษณะบีบบังคับโดยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692-693/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานกรรโชก: การบังคับให้ส่งทรัพย์โดยขู่ฟ้องร้อง
กล่าวฟ้องใจความว่า จำเลยบังคับให้ผู้เสียหายสัญญาว่าจะส่งทรัพย์ให้ มิฉะนั้นจะดำเนินการฟ้องร้องให้ได้รับโทษ เช่นนี้อาจเป็นผิดฐานกรรโชกตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.303 และประมวลกฎหมายอาญา ม.337 หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่พฤติการณ์ ของรูปคดี ถ้าข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจำเลยพูดไกล่เกลี่ย ก็ไม่ผิดฐานกรรโชก แต่ถ้าพ้นเขตของการไกล่เกลี่ยโดยเป็นไปในทางบังคับให้เขาสัญญาว่าจะส่งทรัพย์ให้ ถ้าไม่ส่งจะดำเนินคดี เช่นนี้ เป็นการขู่เข็ญขืนใจโดยชัด ย่อมเป็นผิดฐานกรรโชก แม้ว่า จำเลยมีสิทธิตามกฎหมายในการจะฟ้องเรียกเงินจากผู้เสียหายก็ตาม หรือแม้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จับกุมฟ้องร้องดำเนินคดี และจำเลยบังคับผู้เสียหายเช่นกล่าวข้างต้นจนพ้นเขตของการไกล่เกลี่ย และการที่ผู้เสียหายต้องสัญญาว่าจะส่งทรัพย์ก็เพื่อมิให้ถูกดำเนินคดีฟ้องร้อง เพราะถูกขู่เข็ญขืนใจก็เป็นผิดฐานกรรโชกด้วย