พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายกฟ้องอาญา: การแจ้งข้อผิดพลาดบัญชีและการทำเอกสารไม่เป็นความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157, 162 จำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีงบดุลร้านสหกรณ์ ห. ได้แจ้งต่อที่ประชุมกรรมการร้านสหกรณ์ว่าโจทก์ทำเงินขาดบัญชี และทำสินค้าขาดหายไปก็เนื่องจากจำเลยทั้งสามตรวจพบข้อผิดพลาดของบัญชีร้านสหกรณ์ดังกล่าว จึงไม่เป็นการกระทำโดยมิชอบอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 นั้น เอกสารที่โจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมกันทำเป็นความเท็จให้พนักงานอัยการเป็นหลักฐานดำเนินคดีกับโจทก์เป็นเพียงรายการสินค้าที่ระบุว่าสินค้าขาดหายไปเท่านั้น และไม่มีจำเลยคนใดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและรับรองเอกสารดังกล่าว แล้วพิพากษายืน ดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยร่วมกันทำเอกสารขึ้นตามหน้าที่ของจำเลยเพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวอันเป็นความเท็จพฤติการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมิชอบ และมีมูลที่ศาลจะรับพิจารณาต่อไปเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยร่วมกันทำเอกสารขึ้นตามหน้าที่ของจำเลยเพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวอันเป็นความเท็จพฤติการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมิชอบ และมีมูลที่ศาลจะรับพิจารณาต่อไปเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีที่จัดทำเพื่อรายงานสถานะทางการเงินต่อรัฐมนตรี ไม่ถือเป็นบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยทั้งห้าเป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. ตามความในมาตรา 57,59 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบริษัทได้ทุกประการ เมื่อจำเลยได้เข้าทำการตรวจสอบฐานะการเงินและการดำเนินงานของบริษัทแล้ว จึงได้ทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมี บัญชีทรัพย์สินหนี้สินของบริษัทรวมอยู่ด้วย บัญชีที่ทำขึ้นเพื่อรายงานกิจการและสถานะทางการเงินของบริษัทดังกล่าวนั้น หาใช่บัญชีตามความมุ่งหมายของ มาตรา 1206 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสมทบของพนักงาน: สิทธิในเงินสมทบและดอกเบี้ยยังเป็นของจำเลย แม้มีการตกลงนำฝากเข้าบัญชี
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุชัดว่าให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากสะสมของพนักงาน ซึ่งจำเลยได้ฝากเงินสะสมไว้ที่ธนาคาร ช. ในบัญชีเงินสำรองเลี้ยงชีพจำเลยก็ต้องฝากเงินสมทบเข้าบัญชีดังกล่าวที่ธนาคาร ช. จะฝากในนามจำเลยหรือฝากที่ธนาคารอื่นหาได้ไม่ และเมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพียงแต่ให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารเท่านั้น ข้อกำหนดอื่นจึงคงเป็นไปตามระเบียบเดิมที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินสมทบแก่พนักงานเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุ พนักงานที่ถูกลงโทษปลดออกไม่มีสิทธิได้รับเงินนี้ดังนั้น เงินสมทบจะตกเป็นของพนักงานเมื่อออกจากงานแล้วสิทธิในเงินสมทบยังเป็นของจำเลย ดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย หาใช่เป็นของพนักงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีต้องกระทำ ณ สถานการค้า การฝ่าฝืนถือเป็นเหตุไม่อาจอ้างเหตุสุดวิสัยได้
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า สถานการค้าหมายความว่าสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการค้าใช้ประกอบการค้าเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โจทก์ประกอบการค้าและเก็บสินค้าไว้ที่สำนักงานห้างโจทก์ เพียงแต่เก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่บ้านเลขที่ 137 เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 137 เป็นสถานการค้าหรือส่วนหนึ่งของสถานการค้าของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่สถานการค้า การประเมินภาษีเมื่อบัญชีถูกทำลาย และความรับผิดจากความผิดตามกฎหมายภาษีอากร
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า สถานการค้าหมายความว่าสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการค้าใช้ประกอบการค้าเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โจทก์ประกอบการค้าและเก็บสินค้าไว้ที่สำนักงานห้างโจทก์ เพียงแต่เก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่บ้านเลขที่ 137 เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 137 เป็นสถานการค้าหรือส่วนหนึ่งของสถานการค้าของโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ณสถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่2/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารละเลยไม่เรียกเก็บเงินจากเช็ค ทั้งที่บัญชีผู้สั่งจ่ายมีเงินพอ ทำให้ผู้รับเช็คเสียหาย ธนาคารต้องรับผิด
จำเลยเป็นธนาคาร ละเลยไม่เรียกเก็บเงินตามเช็คให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้า ทั้ง ๆ ที่เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีพอที่จะหักเข้าบัญชีให้โจทก์ได้ก่อนและบัญชีของผู้สั่งจ่ายก็อยู่ในธนาคารจำเลยเอง เป็นเหตุให้เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายกลับไม่พอชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์เพราะได้มีการถอนเงินรายอื่นหลายรายการจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายในวันนั้น และจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องและคืนเช็คให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีผู้ถือหุ้นเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้น การพิสูจน์หักล้างภาระหน้าที่ชำระค่าหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024 บัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการ ดังนั้น บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่กรรมการของบริษัทจำเลยนำส่งต่อนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจึงเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง รับฟังได้ในเบื้องต้นว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยและค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามนั้นจริง เว้นแต่ผู้ร้องจะพิสูจน์ได้เป็นประการอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การประทับตราอนุญาตชักลากไม้เท็จ และการทำบัญชีขนาดไม้เป็นเท็จ
ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ และตามคำสั่งของป่าไม้เขต ที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัด ประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจะต้องทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบูรณ์ การทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาต ชักลากไม้ก่อนแล้วจึงทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ ก็หาทำให้ การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจบัญชีและการแสดงบัญชีของหุ้นส่วนผู้จัดการ
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานลงรายการเท็จในบัญชี ต้องพิสูจน์การออกประกาศรัฐมนตรี กำหนดประเภทธุรกิจที่ต้องทำบัญชีตามกฎหมาย
ข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายนพ.ศ. 2515 ระบุโยงไปให้ใช้พระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช 2482 บังคับในกรณีที่ยังไม่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดธุรกิจที่ต้องขัดทำบัญชี ออกตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติการบัญชีฯมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496มาตรา 3 ก็บัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า กิจการประเภทใดในท้องที่ ใดที่จะต้องทำบัญชีขึ้น หาใช่ว่าบุคคลผู้ประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดทำบัญชีไม่ เหตุนี้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีสำหรับการประกอบกิจการในประเภทที่โจทก์ฟ้องให้เป็นการถูกต้องตามข้อ 31 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติการบัญชีฯดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ