คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บาดเจ็บ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตาม ถนนพหลโยธิน จากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึง สี่แยกพหลโยธินตัด กับ ถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดง เข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึง กลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่ง แล่นมาด้วยความเร็วจาก ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าไปตาม ถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรใน ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ขับรถด้วย ความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง และการรับสารภาพที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วยลายลักษณ์อักษรเพียงแต่มีรายละเอียดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9ส่วนจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นตัวการซึ่งโจทก์ได้อ้าง ป.อ. มาตรา83 มาด้วยแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใด ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1,2,4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องทำร้ายร่างกายร่วมกัน: ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ และการรับสารภาพมีผลอย่างไร
การฟ้องคดีอาญาด้วย วาจาต่อ ศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วย ลายลักษณ์อักษรเพียงแต่ มีรายละเอียดพอสมควร ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ ดี ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่ง กันและกัน โดย จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9 ส่วนจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 9ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ในฐานะ เป็นตัวการ ซึ่ง โจทก์ได้ อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาด้วย แล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่าง ทำร้ายซึ่ง กันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 124 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตาม คำฟ้องว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์
จำเลยเป็นพี่ชายผู้เสียหาย คนทั้งสองทำงานอยู่ด้วยกันกับบิดาก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยทะเลาะโต้เถียงด่าว่ากันอันเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน การที่จำเลยได้ใช้เหล็กขูดชาฟท์ยาวประมาณ 4 นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ชายโครงขวา 1 ครั้งแล้วหลบหนีไปโดยมิได้แทงซ้ำอีก ผู้เสียหายมีบาดแผลทะลุกะบังลมและตับต้องรักษาโดยการผ่าตัดและรักษาตัวต่ออีก 9 วัน จึงออกจากโรงพยาบาลบาดแผลต้องรักษาเป็นเวลา 4-6 อาทิตย์จึงจะหาย พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากละเมิด, ข้อจำกัดการฎีกา, และขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีบาดเจ็บ/เสียชีวิต
ในคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการละเมิด โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าโจทก์ที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 และที่ 21 แต่ละคนเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248
จำเลยอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์เคยสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวมาแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยหาอาจฎีกาต่อไปได้ไม่
การทนทุกข์ทรมานบังเกิดขึ้นจากสภาพร่างกายและจิตใจผิดปกติหรือเสื่อมสุขภาพอนามัย ทำให้หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพหรือทำให้ทางทำมาหาได้ลดน้อยลงกว่าปกติและการมีรอยแผลเป็นติดตัวหรือกรณีของโจทก์ที่ 9 ได้รับบาดเจ็บข้อเท้าขวาพิการทำให้เส้นประสาทขาขาดและขาลีบซึ่งพอถือได้ว่ามีรอยแผลเป็นติดตัวนั้น เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน และไม่ซ้ำซ้อนกับค่าสินไหมทดแทนในกรณีอื่น ทั้งการทนทุกข์ทรมานหรือเสื่อมสุขภาพอนามัยและการมีรอยแผลเป็นติดตัวเป็นผลโดยตรงแห่งการละเมิดของจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยผู้กระทำละเมิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา444 และ 446
การได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ต้องพักการศึกษาเล่าเรียนไม่มีกฎหมายในเรื่องละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิวาทโดยสมัครใจไม่ถือเป็นการละเมิด แม้จะได้รับบาดเจ็บสาหัส
การที่โจทก์สมัครใจวิวาทต่อสู้กับจำเลยจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส เป็นการยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บจากการใช้ปืนโดยประมาท และการครอบครองอาวุธปืนโดยผิดกฎหมาย
จำเลยใช้อาวุธปืนตีศีรษะ ว. ได้รับบาดเจ็บ แต่ปืนลั่นกระสุนปืนถูก ด.และส. ดังนี้มิใช่ผลของการกระทำพลาดไปถูกด.และส. ตาม ป.อ. มาตรา 60 การที่กระสุนปืนลั่นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยเป็นเหตุให้ ด.ตายและส. บาดเจ็บจำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ 390 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดโดยเจตนา เมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกระทำโดยประมาท จึงย่อมลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทใช้ปืนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตและบาดเจ็บ คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืน
จำเลยใช้ด้ามปืนตีศีรษะ ว. แตกเลือดไหลแล้วกระสุนปืนลั่นไปถูก ด.ตายและส. ได้รับบาดเจ็บ จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ว. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาใช้ปืนยิงเพื่อฆ่าหรือทำร้าย ว.กรณีจึงมิใช่เป็นการที่จำเลยมีเจตนากระทำต่อ ว. แต่ผลของการกระทำเกิดแก่ ด.และส. โดยพลาด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 290,295 ประกอบด้วยมาตรา 60 อย่างไรก็ตามเมื่อการที่กระสุนปืนลั่นเป็นผลให้ ด.ตายและส. ได้รับบาดเจ็บนั้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยในการใช้ปืนตี ว.จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 291,390 และถึงแม้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเช่นนี้ศาลก็ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของธนาคาร: ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
ผู้จัดการสาขาของธนาคารนายจ้างกำหนดให้โจทก์ลูกจ้างเป็นนักกีฬาประเภทกีฬาฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลของธนาคารตามระเบียบว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคาร แม้งานประจำของโจทก์ได้แก่การทำงานเป็นกิจการของธนาคาร ซึ่งเกี่ยวกับการให้กู้เงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปก็ตามเมื่อโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลให้ธนาคารที่จัดขึ้นในวันหยุดซึ่งอยู่นอกเวลาทำงานปกติแล้วได้รับบาดเจ็บกระดูกหน้าแข้งขวาอันเล็กหักย่อมเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายผู้อื่นด้วยการตบตีและขว้างสิ่งของบาดเจ็บเล็กน้อย ศาลลดโทษฐานทำร้ายร่างกายไม่ถึงอันตราย
จำเลยเพียงแต่ใช้มือตบตี และใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกขว้างผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่าไม้ไผ่ดังกล่าวมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับก็เป็นเพียงรอยถลอกไม่มีโลหิตไหล อีกแห่งหนึ่งเพียงแต่บวมเมื่อกดตรงที่บวมจึงเจ็บและจะรักษาหายได้ในเวลาประมาณ 5 วัน ซึ่งเป็นเพียงการคาดคะเนของแพทย์ความจริงอาจจะหายเป็นปกติภายในเวลาไม่ถึงกำหนดที่กะประมาณไว้ก็ได้ จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น
of 20