พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของบุตรนอกกฎหมายและอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ในคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้ครองครองทรัพย์มรดกเหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกมากกว่าบุตรนอกกฎหมายที่ไม่ครอบครอง
ผู้ร้องเป็นภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แต่เป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์มรดก ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายได้รับรองแล้วแต่มิได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกับผู้ร้อง ถ้าให้ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันแล้วมีปัญหาขัดแย้งก็จะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากในการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกได้ ดังนั้น การให้ผู้ร้องซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงฝ่ายเดียวจึงเหมาะสมกว่า.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด: บุตรนอกกฎหมายของคนไทยและคนต่างด้าว ไม่ต้องทำบัตรคนญวนอพยพ
จำเลยเกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏว่าจำเลยเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดามีสัญชาติไทยย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7แห่งพ.ร.บ.สัญชาติการที่บิดาจำเลยเป็นคนญวนอพยพไม่ทำให้จำเลยเป็นคนญวนอพยพที่จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และไม่ต้องทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาและการแสดงออกถึงการยอมรับว่าเป็นบิดา ทำให้บุตรมีสิทธิได้รับมรดก
ชายไปอยู่กินกับหญิง และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผยเป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภริยา มีการจัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ เป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1629(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการรับผิดของทายาทในหนี้สินของผู้ตาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 หาใช่มุ่งหมายเฉพาะบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเท่านั้นไม่ แต่ยังหมายความรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์ที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรด้วย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค 2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค 2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของผู้ตาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627หาใช่มุ่งหมายเฉพาะบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเท่านั้นไม่ แต่ยังหมายความรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์ที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรด้วย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และอายุความฟ้องคดีจัดการมรดก
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 จึงมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของ ป. แต่นำสืบว่าโจทก์เป็นบุตรที่ป.รับรองแล้วไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่+วินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกเฉพาะส่วนของ ส. แล้วนำสืบว่า ป. มีสิทธิรับมรดกเพราะ ส. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ ป. หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทของป. จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่จัดการทรัพย์มรดกโจทก์ จึงขอให้บังคับให้จำเลยจัดการโอนให้ ดังนี้ เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกทายาทมีสิทธิฟ้องคดี ภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของ ป. แต่นำสืบว่าโจทก์เป็นบุตรที่ป.รับรองแล้วไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่+วินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกเฉพาะส่วนของ ส. แล้วนำสืบว่า ป. มีสิทธิรับมรดกเพราะ ส. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ ป. หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทของป. จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่จัดการทรัพย์มรดกโจทก์ จึงขอให้บังคับให้จำเลยจัดการโอนให้ ดังนี้ เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกทายาทมีสิทธิฟ้องคดี ภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิมรดก: พฤติการณ์แสดงเจตนาชัดเจนถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้ามรดกอยู่กินกับมารดาโจทก์โดยไม่จดทะเบียนสมรส มารดาคลอดโจทก์เมื่อมาอยู่ที่บ้านอื่น แต่เจ้ามรดกก็ยังมาดูแลแจ้งการเกิดว่าโจทก์เป็นบุตร ให้โจทก์ใช้นามสกุล และให้ ค่าเลี้ยงดูศึกษาเล่าเรียน เป็นพฤติการณ์ที่เจ้ามรดกรับรองว่า โจทก์เป็นบุตร รับมรดกได้เหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายของบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรอง
โจทก์ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณีที่รถของผู้ตายถูกรถจำเลยชนแทนผู้เยาว์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2087/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: สิทธิในการรับมรดกเทียบเท่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าเป็นพี่ผู้ตายขอให้พิพากษาว่าที่ดินที่ผู้ตายครอบครองอยู่เป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับจำเลยไม่มีสิทธิรับมรดกห้ามเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่าเป็นบุตรผู้ตายได้ยื่นเรื่องราวขอรับมรดกผู้ตายการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วนั้นจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การนอกประเด็นแต่ประการใด
บิดาแจ้งทะเบียนบุตรเกิด ให้ใช้นามสกุล มีพฤติการณ์รู้กันทั่วไปว่าเป็นบุตร รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา1627
บิดาแจ้งทะเบียนบุตรเกิด ให้ใช้นามสกุล มีพฤติการณ์รู้กันทั่วไปว่าเป็นบุตร รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา1627