พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: มารดาผู้มีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวให้ความยินยอมรับบุตรบุญธรรมได้
การที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่ากันโดยมีข้อตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของมารดานั้น มีผลทำให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520,1566(6) ฉะนั้น เมื่อมารดายินยอมให้บุตรผู้เยาว์ไปเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลภายนอกแล้วก็ชอบที่จะไปดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาซึ่งหมดอำนาจปกครองแล้วอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าและการยินยอมรับบุตรบุญธรรม
เมื่อบิดามารดาหย่าขาดจากกันโดยตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของมารดา ดังนั้น บิดาย่อมไม่มีอำนาจปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520,1566(6) อำนาจปกครองจึงตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว มารดาจึงมีอำนาจให้ความยินยอมในการที่บุคคลภายนอกจะรับบุตรผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้เพียงลำพังโดยไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: สิทธิในครอบครัวเดิมยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอันเกิดจากโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยให้สัญญาไว้ขณะจดทะเบียนหย่ากันนั้น แม้ภายหลังโจทก์ได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตาม ป.พ.พ. มาตรา1598/28 ดังนั้น การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จึงไม่เป็นผลที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและจดทะเบียนโอนทรัพย์ให้โจทก์ตามสัญญาจำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการรับบุตรบุญธรรม: สิทธิยังคงอยู่แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้านายทะเบียนว่า จำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์เป็นรายเดือน จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว แม้ภายหลังที่ยื่นฟ้องแล้วโจทก์จะได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของสามีใหม่ แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่เกิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1578/28 โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการรับบุตรบุญธรรม และการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะให้การจดทะเบียนการหย่าและหนังสือสัญญาหย่ามีผลผูกพันซึ่งโจทก์ก็ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงของจำเลยดังกล่าวและโจทก์เองก็ไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับจำเลย การจดทะเบียนหย่าและหนังสือสัญญาหย่าตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 117 นั้น เป็นฎีกานอกประเด็นจากที่จำเลยให้การต่อสู้คดีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ได้ยกบุตรผู้เยาว์ของโจทก์และจำเลยให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ อำนาจปกครองบุตรจึงตกแก่ ก. ผู้รับบุตรบุญธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฟ้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องดังฎีกาของจำเลยหรือไม่นี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จำเลยก็หยิบยกขึ้นอ้างอิงปัญหานี้ในชั้นฎีกาได้ โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ณ. บุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เดือนละ10,000 บาท แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา ดังนี้ แม้ว่าต่อมาโจทก์จะได้ยกเด็กหญิง ณ. ให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า ก. จดทะเบียนรับเด็กหญิง ณ.เป็นบุตรบุญธรรมภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว อีกทั้งบุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ด้วย การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวหามีผลทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ยอมชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือทวงถามถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม: ศาลยืนตามสิทธิเดิม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้านายทะเบียนว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์เป็นรายเดือนจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวแม้ภายหลังที่ยื่นฟ้องแล้วโจทก์จะได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของสามีใหม่แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่เกิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1578/28โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การยินยอมของภริยาไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
นาย ป.สามีแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม นาง ส.ภรรยาของนาย ป.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด บันทึกต่อท้ายทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเพียงหลักฐานที่นายทะเบียนได้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาง ส.ได้ยินยอมให้นาย ป.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แม้บันทึกดังกล่าวมีข้อความว่า นาง ส.ได้รับเป็นมารดาของผู้ร้องด้วย ก็ไม่มีผลเป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เพราะการรับบุตรบุญธรรมจะมีผลตามกฎหมายเมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อนาง ส.ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนาง ส. และไม่ใช่ทายาทของนาง ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การให้ความยินยอมของคู่สมรสไม่ถือเป็นการรับบุตรบุญธรรม
สามีผู้ตายได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ตายให้ความยินยอมและลงชื่อท้ายบันทึกทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมว่าเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม สามีผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม แม้บันทึกดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้ตายได้รับเป็นมารดาผู้ร้องด้วย ก็ไม่เป็นการรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เมื่อผู้ตายมิได้จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส กรณีสามีภรรยาแยกกันอยู่และขาดการติดต่อ
โจทก์ที่ 1 เป็นสามีของผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายต่อมาโจทก์ที่ 1 และผู้ตายต่างย้ายภูมิลำเนาจากที่เดิมไปอยู่ที่อื่นซึ่งเป็นคนละแห่งกันโดยมิได้มีการติดต่อเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวคราวให้แก่กันเลยเป็นเวลานานหลายปีจึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมในระหว่างที่แยกกันอยู่กับโจทก์ที่ 1 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/25 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส เมื่อสามี/ภรรยาขาดการติดต่อ
ขณะที่ ม. ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์สามี ม. ผู้ตายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้ รับข่าวคราวประการใด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีต้อง ด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้ รับความยินยอมของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/25 ดังนี้การจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วย กฎหมาย.