พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยผ่านตัวแทน: หน้าที่เสียภาษีของบริษัทต่างประเทศและผู้ทำการติดต่อ
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆของบริษัท ท. แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ไม่มีอำนาจทำสัญญาแทนบริษัท ท. วิธีการปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของโจทก์นั้น วิศวกรของโจทก์จะต้องไปสำรวจออกแบบและสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามา โดยโจทก์จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้ขายถ้าไม่มีใบสั่งซื้อ บริษัทผู้ขายจะขายให้ใครไม่ได้ ก่อนทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบระบาย อากาศกับบริษัท ต. ในประเทศ ไทย โจทก์ก็ให้วิศวกรของโจทก์ไปสำรวจออกแบบ แล้วแยกคำนวณราคาค่าเครื่องปรับอากาศกับค่าแรง ในการติดตั้งไว้ต่างหาก แต่เนื่องจากบริษัท ต. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร โจทก์จึงให้บริษัท ต. เป็นผู้สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากบริษัท ท. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยตรงการกระทำของโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าบริษัท ท. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศ ไทย เป็นเหตุให้บริษัท ท. ได้รับเงินได้ในประเทศ ไทย ถือได้ว่าบริษัท ท. ประกอบกิจการในประเทศ ไทยและโจทก์ผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรเกินขนาดและคนงานเกินจำนวน ถือเป็นโรงงานตามกฎหมาย แม้ไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย
จำเลยใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมเกินกว่าสองแรงม้าขึ้นไปและใช้คนงานเกินกว่าเจ็ดคนเพื่อดำเนินการประกอบ โครงเหล็กหลังคาสำหรับใช้ในการก่อสร้างขึ้นภายในอาคารสถานที่ของจำเลย แม้เป็นการชั่วคราวและมิได้ทำเพื่อจำหน่าย อาคารสถานที่ดังกล่าวก็เป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 5 แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้ออกใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 43 และ 44
การเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน นอกจากจะต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แล้ว ต้องเป็นการประกอบกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงท้ายพระราชบัญญัติโรงงานด้วย.
การเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน นอกจากจะต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แล้ว ต้องเป็นการประกอบกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงท้ายพระราชบัญญัติโรงงานด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรเกินกำหนด และจำนวนคนงานเกินเกณฑ์ ถือเป็นโรงงานตามกฎหมาย แม้ไม่มีเจตนาผลิตเพื่อจำหน่าย
จำเลยใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมเกินกว่าสองแรงม้าขึ้นไปและใช้คนงานเกินกว่าเจ็ดคนเพื่อดำเนินการประกอบโครงเหล็กหลังคาสำหรับใช้ในการก่อสร้างขึ้นภายในอาคารสถานที่ของจำเลย แม้เป็นการชั่วคราวและมิได้ทำเพื่อจำหน่าย อาคารสถานที่ดังกล่าวก็เป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 5 แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้ออกใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2512 มาตรา 43 และ 44 การเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน นอกจากจะต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แล้ว ต้องเป็นการประกอบกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงท้ายพระราชบัญญัติโรงงานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรและคนงานเกินเกณฑ์ ต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน
จำเลยใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมเกินกว่าสองแรงม้าขึ้นไปและใช้คนงานเกินกว่าเจ็ดคนเพื่อดำเนินการประกอบโครงเหล็กหลังคาสำหรับใช้ในการก่อสร้างขึ้นภายในอาคารสถานที่ของจำเลย แม้เป็นการชั่วคราวและมิได้ทำเพื่อจำหน่าย อาคารสถานที่ดังกล่าวก็เป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 5 แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้ออกใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 43 และ 44
การเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน นอกจากจะต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แล้ว ต้องเป็นการประกอบกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงท้ายพระราชบัญญัติโรงงานด้วย.
การเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน นอกจากจะต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แล้ว ต้องเป็นการประกอบกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงท้ายพระราชบัญญัติโรงงานด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากดอกเบี้ยรับ จำเป็นต้องพิสูจน์การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ได้กำหนดรายการที่ประกอบการค้าไว้ได้แก่ 'การออมสินที่มิใช่ของรัฐบาล การธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ' แม้คำว่าประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ นั้น หาจำต้องประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืมอย่างธนาคาร ดังที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้บัญญัติไว้ก็ตาม แต่การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายดังกล่าวจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารพาณิชย์ และจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วย คำว่า โดยปกติย่อมมีความหมายในตัวเองว่าได้มีการประกอบกิจการดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าการขายกิจการด้านการตลาดให้แก่บริษัท ซ.แล้วแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ก็ดี การให้บริษัท ล. กู้ยืมเงินไปสร้างโรงงานผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการให้บริษัท อ.กู้ยืมเงินไปซื้อเรือบรรทุกน้ำมันก็ดี แต่ละรายการล้วนแต่โจทก์ได้กระทำเพียงครั้งเดียวทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยปฏิบัติเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน จึงไม่มีทางจะแปลการประกอบกิจการของโจทก์ไปได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำโดยตลอดและได้ดอกเบี้ยต่ำโดยโจทก์ได้ประโยชน์ในการขยายกิจการและการผลิตการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น ก็หาทำให้กิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของประมวลรัษฎากรไม่ เมื่อกรณีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะได้ดอกเบี้ยก็จะถือเป็นรายรับอันจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 2.5 หาได้ไม่เพราะคำว่า'ดอกเบี้ย'ที่กำหนดไว้ในชนิด 1 ของประเภทการค้า 12 ต้องพิจารณาประกอบกับรายการที่ประกอบการค้าดังกล่าวคือ ต้องประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการเสียภาษีการค้า ดอกเบี้ย
ตามประมวลรัษฎากรบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า12ธนาคารชนิด1ได้กำหนดรายการที่ประกอบการค้าไว้ได้แก่'การออมสินที่มิใช่ของรัฐบาลการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์เช่นให้กู้ยืมเงินฯลฯ'แม้คำว่าประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์นั้นหาจำต้องประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทางเช่นให้กู้ยืมอย่างธนาคารดังที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505มาตรา4ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้บัญญัติไว้ก็ตามแต่การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายดังกล่าวจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารพาณิชย์และจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วยคำว่าโดยปกติย่อมมีความหมายในตัวเองว่าได้มีการประกอบกิจการดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าการขายกิจการด้านการตลาดให้แก่บริษัทซ.แล้วแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ก็ดีการให้บริษัทล.กู้ยืมเงินไปสร้างโรงงานผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และการให้บริษัทอ.กู้ยืมเงินไปซื้อเรือบรรทุกน้ำมันก็ดีแต่ละรายการล้วนแต่โจทก์ได้กระทำเพียงครั้งเดียวทั้งสิ้นไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยปฏิบัติเช่นเดียวกันนั้นมาก่อนจึงไม่มีทางจะแปลการประกอบกิจการของโจทก์ไปได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์แม้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำโดยตลอดและได้ดอกเบี้ยต่ำโดยโจทก์ได้ประโยชน์ในการขยายกิจการและการผลิตการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้นก็หาทำให้กิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของประมวลรัษฎากรไม่เมื่อกรณีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะได้ดอกเบี้ยก็จะถือเป็นรายรับอันจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ2.5หาได้ไม่เพราะคำว่า'ดอกเบี้ย'ที่กำหนดไว้ในชนิด1ของประเภทการค้า12ต้องพิจารณาประกอบกับรายการที่ประกอบการค้าดังกล่าวคือต้องประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้า กับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด 1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้าเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป อันเป็นการประกอบกิจการท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือ กับฎีกาว่าเรือสมิหลา 2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์จากกิจการดังกล่าว ก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือ กับฎีกาว่าเรือสมิหลา 2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์จากกิจการดังกล่าว ก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้ากับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่ และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้า เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่ เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปอันเป็นการประกอบกิจการ ท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลย ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค อันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือกับฎีกาว่าเรือสมิหลา2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสอง แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์ จากกิจการดังกล่าวก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่างๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำความผิด เกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรงย่อมถือว่าจำเลยที่ 2ร่วมกระทำ ความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
ประมวลรัษฎากรมาตรา78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าลำดับที่12 ถือว่าการประกอบกิจการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยจำกัดตัวบุคคลผู้กู้ และมีเงื่อนไขในการกู้ว่า ต้องนำเงินกู้นั้นไปปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมการค้าของโจทก์ก็ตาม ก็ย่อมไม่พ้นจากการประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงิน เพราะถึงอย่างไรโจทก์ก็ยังต้องการดอกเบี้ยจากผู้กู้อยู่นั่นเองเมื่อการให้กู้ยืมเงินของโจทก์เป็นการประกอบกิจการโดยปกติในทางการค้าของโจทก์ จึงถือเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ2.5 ของค่าดอกเบี้ยที่ได้รับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2525)
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์จะให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยจำกัดตัวบุคคลผู้กู้ และมีเงื่อนไขในการกู้ว่า ต้องนำเงินกู้นั้นไปปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมการค้าของโจทก์ก็ตาม ก็ย่อมไม่พ้นจากการประกอบธุรกิจในการให้กู้ยืมเงิน เพราะถึงอย่างไรโจทก์ก็ยังต้องการดอกเบี้ยจากผู้กู้อยู่นั่นเองเมื่อการให้กู้ยืมเงินของโจทก์เป็นการประกอบกิจการโดยปกติในทางการค้าของโจทก์ จึงถือเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ2.5 ของค่าดอกเบี้ยที่ได้รับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกระทง
กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดตั้งโรงงานดำเนินงานเป็น 2 ตอนการตั้งโรงงานต้องได้รับอนุญาต ตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 8 ฝ่าฝืนผิด มาตรา 43 ก่อนเปิดดำเนินการต้องได้รับอนุญาตตาม มาตรา 12 ฝ่าฝืนผิด มาตรา 44 จำเลยตั้งโรงงานประกอบกิจการซ่อมและพ่นสีรถยนต์ เป็นความผิด 2 กระทง