พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลโรคประจำตัวในการทำประกันชีวิต: อาการชักที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย
แพทย์ผู้เคยตรวจรักษาผู้ตายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเห็นว่า ผู้ตายมีอาการชักซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาการชักนี้อาจจะมิใช่เกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ ต้องพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งโรงพยาบาลที่แพทย์ประจำอยู่ไม่มี ดังนี้ แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ตายก็ยังวินิจฉัยไม่ได้ว่าอาการชักของผู้ตายเกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูหรือไม่และไม่ได้ยืนยันว่าอาการชักดังกล่าวเป็นโรคที่ร้ายแรง นอกจากนั้นยังปรากฏว่าผู้ตายเคยมีอาการชักมาเมื่อ 10 ปีที่แล้วก่อนที่จะให้แพทย์ดังกล่าวตรวจรักษาในครั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายทำงานไม่ได้เช่นคนปกติทั่วไปทั้งเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายมีโรคประจำตัวที่ร้ายแรง การที่ผู้ตายมิได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบในขณะทำสัญญาประกันชีวิตถึงอาการชักดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจะได้จูงใจจำเลยผู้รับประกันภัยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคแรกเมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยย่อมไม่อาจบอกล้างสัญญานั้น สัญญา-ประกันชีวิตตามฟ้องจึงหาตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ผู้เอาประกันเคยมีอาการชัก แต่ไม่ได้แจ้งข้อมูล เพราะอาการไม่ร้ายแรงและไม่ได้มีผลต่อการรับประกัน
แพทย์ผู้เคยตรวจรักษาผู้ตายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเห็นว่าผู้ตายมีอาการชักซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาการชักนี้อาจจะมิใช่เกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ ต้องพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งโรงพยาบาลที่แพทย์ประจำอยู่ไม่มีดังนี้ แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ตายก็ยังวินิจฉัยไม่ได้ว่าอาการชักของผู้ตายเกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูหรือไม่และไม่ได้ยืนยันว่าอาการชักดังกล่าวเป็นโรคที่ร้ายแรง นอกจากนั้นยังปรากฏว่าผู้ตายเคยมีอาการชักมาเมื่อ 10 ปีที่แล้วก่อนที่จะให้แพทย์ดังกล่าวตรวจรักษาในครั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายทำงานไม่ได้เช่นคนปกติทั่วไปทั้งเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายมีโรคประจำตัวที่ร้ายแรง การที่ผู้ตายมิได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบในขณะทำสัญญาประกันชีวิตถึงอาการชักดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจะได้จูงใจจำเลยผู้รับประกันภัยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรกเมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยย่อมไม่อาจบอกล้างสัญญานั้น สัญญาประกันชีวิตตามฟ้องจึงหาตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเบี้ยประกันภัยสละสิทธิเรียกร้อง ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิประกันชีวิตระงับ
เมื่อ อ. ถึงแก่กรรม โจทก์และ ก. ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายอ้างว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ย่อมเกิดข้อพิพาทขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยเสนอคืนเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์และ ก. แทนการชำระเงินตามที่โจทก์และ ก. เรียกร้องหรือคืนเงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 892 โจทก์และ ก. ก็ได้ตกลงยอมรับเอาเงินเบี้ยประกันคืนตามที่จำเลยเสนอและสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องเอาเงินหรือประโยชน์อื่นใดตามกรมธรรม์จากจำเลยอีกย่อมเป็นการที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยซึ่งมีอยู่นั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์และ ก. ที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกันชีวิตอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันชีวิตกรณีผู้เอาประกันภัยกระทำอัตวินิบาตกรรมภายใน 1 ปี
ผู้เอาประกันชีวิตได้ลงมือกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครของตนภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาประกันชีวิต แม้ผู้เอาประกันจะถึงแก่ความตายภายหลังระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาก็ตามผู้รับประกันภัยก็ได้รับยกเว้นความรับผิดไม่ต้องใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยกรณีผู้เอาประกันภัยทำอัตวินิบาตกรรม แม้เสียชีวิตหลัง 1 ปี
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895(1) บัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยเนื่องมาจากผู้เอาประกันภัยกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญานั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ผู้ทำสัญญาประกันชีวิตทำอัตวินิบาตกรรมอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อต้องการให้ผู้รับประโยชน์ได้รับเงินอันจะพึงใช้ตามสัญญาประกันชีวิตนั้น ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้รับประกันภัย ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยลงมือกระทำอัตวินิบาตกรรมด้วยใจสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันทำสัญญา แม้การกระทำจะเกิดผลสำเร็จโดยผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตายภายหลังระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาก็ตามแต่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำดังกล่าว ผู้รับประกันภัยก็ได้รับยกเว้นความรับผิดไม่ต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพในการทำประกันชีวิต: เด็กอายุ 8 ปีไม่มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเจ็บป่วย
นายล.ตัวแทนหาประกันชีวิตของจำเลยเอาแบบคำขอเอาประกันชีวิตให้เด็กหญิง ป. อายุเพียง 8 ปี ลงลายมือชื่อ ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความ แล้วนายล.นำแบบคำขอเอาประกันชีวิตดังกล่าวไปกรอกข้อความเอง เด็กหญิง ป. จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งข้อความเกี่ยวกับความป่วยเจ็บของตนให้ทราบได้ และไม่สามารถจะทราบความร้ายแรงของโรคที่ตนเป็นอยู่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 865 วรรคแรก คำขอเอาประกันชีวิตไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดโรคประจำตัว ทำให้สัญญาสิ้นผลผูกพัน
การที่ ล. ปกปิดข้อความจริงเกี่ยวกับการเป็นโรคตับต่อจำเลยที่ 1 ในเวลาทำสัญญาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยที่ 1รู้ว่า ล. เป็นโรคตับ อันเป็นโรคที่ร้ายแรง จำเลยที่ 1จะบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิต สัญญาจึงเป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบเหตุแห่งการบอกล้างวันที่ 13 กันยายน 2529และจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2529 บอกล้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มี ความผูกพันตามสัญญาที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปกปิดเจ็บป่วย สัญญาเป็นโมฆียะ
น. ผู้เอาประกันชีวิตกับจำเลยในขณะทำสัญญาประกันชีวิตมีสุขภาพไม่สมบูรณ์โดยป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคตับแข็ง และละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้จำเลยทราบ ซึ่งหากจำเลยทราบจะบอกปัดไม่ตกลงทำสัญญาประกันชีวิตกับ น.การปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่างจำเลยกับ น.จึงตกเป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยได้บอกล้างสัญญาแล้ว จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อโจทก์ ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบจะถือว่าการไม่ตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก่อนเป็นการละเว้นหาได้ไม่ แม้การประกันชีวิตในทุนประกันต่ำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับประกันภัยไม่ถือเอาเรื่องสุขภาพของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ สัญญาประกันชีวิตที่กระทำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก เป็นโมฆียะผู้รับประกันภัยย่อมใช้สิทธิบอกล้างได้ หากไม่ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้ จึงเป็นสิทธิของผู้รับประกันภัยจะบอกล้างหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น แม้ผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิบอกล้างแต่เพียงเฉพาะสัญญารายใดก็หาเป็นการไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพในสัญญาประกันชีวิต และสิทธิบอกล้างสัญญาของผู้รับประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันชีวิตซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคแรก มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาให้ผู้รับประกันภัยทราบ และจะถือว่าการที่ผู้รับประกันภัยไม่ตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก่อนเป็นการละเลยหาได้ไม่ แม้การประกันชีวิตในทุนประกันภัยต่ำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับประกันภัยไม่ถือเอาเรื่องสุขภาพของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ สัญญาประกันภัยชีวิตที่กระทำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก เป็นโมฆียะมีผลให้ผู้รับประกันภัยใช้สิทธิบอกล้างได้ หากผู้รับประกันภัยไม่ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้ จึงเป็นสิทธิของผู้รับประกันภัยจะบอกล้างหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น แม้ผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิบอกล้างแต่เพียงเฉพาะสัญญารายใดก็หาเป็นการไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพในการทำประกันชีวิต และผลกระทบต่อความโมฆียะของสัญญา
การที่สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ต้องเป็นกรณีที่ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขา นั้นรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะจูงใจ ให้ผู้รับประกันให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ ซึ่งกรณีตามคำฟ้องของโจทก์ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นคือบุตรโจทก์ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นเพียง ผู้รับประโยชน์ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะละเว้นเสียไม่เปิดเผย ข้อความจริงที่บุตรโจทก์เป็นโรคลมชักให้จำเลยผู้รับประกันภัย ทราบ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ.