พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาที่เปลี่ยนแปลง การส่งทางประกาศชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่สามารถส่งตามภูมิลำเนาเดิมได้
โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยตามภูมิลำเนาในคำฟ้องตามที่จำเลยระบุไว้ในสัญญากู้เงิน แต่การส่ง ณสถานที่ดังกล่าวไม่อาจกระทำได้เพราะจำเลยย้ายภูมิลำเนาและโจทก์ไม่อาจค้นหาภูมิลำเนาใหม่ได้ เพราะไม่ปรากฎว่าจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าและย้ายออกจากบ้านที่แจ้งไว้โดยทางทะเบียนจึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้ การที่ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลย โดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ขอ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดประกาศขายทอดตลาดไม่ชอบเมื่อไม่ปิดที่ภูมิลำเนาเจ้าของทรัพย์ ทำให้เจ้าของทรัพย์ไม่ทราบการขาย
เจ้าหน้าที่ศาลนำประกาศขายทอดตลาดไปส่งให้จำเลยที่ 3 ปรากฏว่าไม่พบ จำเลยที่ 3 จึงได้ปิดประกาศที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ที่ร้านค้าในหมู่บ้านอันเป็นที่ชุมนุมชนใกล้เคียงที่ทรัพย์ตั้งอยู่ และปิดไว้ที่ป้ายประกาศศาล การปิดประกาศดังกล่าวมิใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรกการปิดประกาศขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ การประกาศขอริบต้องระบุรายละเอียดชัดเจนเพื่อให้เจ้าของมีโอกาสคัดค้านก่อนศาลตัดสิน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกประกาศแก้ไขเครื่องวิทยุและเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตของกรมไปรษณีย์โทรเลขชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 11 กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่ คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆดังนั้น การที่มีประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข ฉบับลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2527 กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ประจำปี พ.ศ. 2528 ทำการแก้ไขเครื่องรับ-ส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ ไม่เกินย่าน 144-146 เมกะเฮิรตซ์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า"อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข" จึงถือได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจแล้ว และเป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกาศควบคุมราคาสินค้า ไม่กระทบความผิดที่เกิดขึ้นก่อนการยกเลิก
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฉบับที่ 86 พ.ศ. 2528 ซึ่งให้ ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่76 พ.ศ. 2527 เรื่อง กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิตการจำหน่ายและการป้องกันการกักตุนสินค้าควบคุม มีผลเพียงว่านับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2528 อันเป็นวันที่ประกาศฉบับที่86 พ.ศ. 2528 มีผลใช้บังคับ บุคคลซึ่งมีหน้าที่แจ้งปริมาณการจำหน่าย ปริมาณสินค้าคงเหลือและสถานที่เก็บสินค้าตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527 ก็เป็นอันไม่ต้องยื่นแบบแจ้งรายละเอียดดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกเท่านั้น จึงไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติว่า การกระทำของผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527 ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใดจึงไม่มีผลลบล้างการกระทำของ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดตามประกาศฉบับที่ 76 พ.ศ. 2527ที่ออกตามความใน พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฯซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น กรณีไม่ต้องตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือสำหรับสินค้าเคมีเหลวที่เข้าข่ายเป็น 'น้ำมันเชื้อเพลิง' ตามประกาศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยได้กำหนดให้สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำเรือไปจอดขนถ่ายสินค้านอกเขตท่าของจำเลยได้และยกเว้นให้ผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่า ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าสินค้าเคมีเหลวที่โจทก์นำเข้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพย์คำว่า น้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474มาตรา 3 และสินค้าเคมีเหลวดังกล่าวก็มีชื่อตรงกันกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 สินค้าเคมีเหลวของโจทก์จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและได้รับยกเว้นการเรียกเก็บค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่าตามที่จำเลยได้กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำกับการจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร: จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2529 ข้อ 2 กำหนดว่า ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) งานเกษตรกรรม ฯลฯ (2) งานอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด แสดงว่ากิจการที่ไม่อยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องมีการกำหนดขึ้นตามข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อยังมิได้มีการกำหนดว่า การจ้างแรงงานที่มิได้วัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไม่อยู่ในบังคับของประกาศนี้ซึ่งเป็นประกาศที่มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแรงงานต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานแล้ว การจ้างแรงงานดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ถือว่าทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งซ้ำ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ การแจ้งซ้ำไม่จำเป็น
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าต้องเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ไม่ใช่ตามมติที่ประชุม
การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าจะต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่ง ป.รัษฎากร แม้ในการประชุมพิจารณาการบริหารงานของสรรพากรเขตพื้นที่ครั้งที่ 6 จะมีมติว่าสำหรับผู้ประกอบการค้าที่เคยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เดิม ไม่เกินวันละ 10,000 บาท ซึ่งไม่ส่งแบบ ภ.ค.45คืน ให้กำหนดรายรับขั้นต่ำโดยวิธีคำนวณเพิ่มยอด รายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 ก็ตาม แต่มติของที่ประชุมดังกล่าวเป็นระเบียบหรือข้อปฏิบัติภายในที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 38) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมติที่ประชุมได้แล้ว การที่พนักงานของจำเลยกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ โดยคำนวณเพิ่มจากรายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 นั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวและไม่ชอบด้วยมาตรา 86 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 23 และ มาตรา 25 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีเงินได้มาไต่สวนและสั่งให้ผู้นั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเฉพาะ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเท่านั้น หากผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ แต่เรื่องการกำหนดรายรับขั้นต่ำเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจ มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้โดยเฉพาะ แล้วจึงไม่อาจนำมาตรา 23 และ 25 มาใช้บังคับในกรณีนี้ได้.