คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศกระทรวงมหาดไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย: ประกาศกระทรวงมหาดไทยเฉพาะเจาะจงมีผลเหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 224 มาใช้บังคับหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย: ศาลยืนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่ง
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์ ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 กำหนดไว้ มิใช่จ่ายร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะจากการทำงาน: การคำนวณระยะเวลาจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สูญเสียอวัยวะหนังศีรษะใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังสูญเสียอวัยวะบริเวณดั้ง จมูกและโหนกแก้มทั้งสองข้างด้วย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยสูญเสียอวัยวะหนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง อันเป็นการสูญเสียอวัยวะตามประเภทที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) ถือเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)ซึ่งให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน 4 ปี 6 เดือน ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติ การจ่ายค่าทดแทนจึงต้องจ่ายให้เป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน มิใช่จ่ายค่าทดแทนจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5436/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้กฎหมายเฉพาะจะกำหนดคุณสมบัติพนักงานไว้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11)ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 บัญญัติว่านายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง กรณีสัญญาจ้างมี กำหนดระยะเวลาการจ้าง แน่นอนและมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการด้วย แต่จำเลยมิได้ให้การ ต่อสู้ถึงลักษณะงานว่าเป็นการจ้างตามที่กำหนดไว้ดังกล่าว แม้จำเลย จะฎีกาว่าเป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนก็เป็นฎีกาที่ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย การที่พนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี ตามพ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และให้รัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่การพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ถือ ว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างแล้ว เพราะโจทก์ต้องออกจากงาน โดยไม่ได้กระทำผิดตามข้อ 47.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกีฬาแห่งประเทศไทย ไม่เข้าข่ายกิจการที่ต้องคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 มาตรา 8บัญญัติว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(1) ส่งเสริมกีฬา (2) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา (3) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล (4) จัดช่วยเหลือ แนะนำและร่วมมือในการจัดและดำเนินการการกีฬา (5) สำรวจจัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา (6) ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร (7) สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการการกีฬา (8) ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของการกีฬา วัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ปรากฏว่าได้ระบุวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไว้เลย แม้ในมาตรา 10 มาตรา 10 มาตรา 12 และมาตรา 9 บัญญัติให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีทุน รายได้ เงินสำรองและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินเพื่อหารายได้ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ไม่มีระเบียบข้อบังคับใดเลยที่กำหนดให้นำรายได้ไปแบ่งปันแก่ผู้ใดในฐานะผลกำไรหรือเงินปันผล รายได้หลักของการกีฬาแห่งประเทศไทย มีรายได้จากเงินงบประมาณของแผ่นดินในอัตราเกินกว่าร้อยละเก้า สิบต่อปีของเงินรายได้ทั้งหมด กิจการของการกีฬาแห่งประเทศไทย จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 และไม่ต้องอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217-2218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรงและเป็นเหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กระทำผิดข้อบังคับของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงตามที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะถือเป็นเหตุให้โจทก์ออกจากงานได้ไม่ใช่จะมีเฉพาะแต่เหตุตามข้อที่โจทก์กล่าวอ้าง ทั้งกรณีของโจทก์ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้ข้อบังคับบริษัทจะถือว่าเงินสงเคราะห์เป็นค่าชดเชย
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่วไปของพนักงาน ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองและการที่จำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายดังกล่าวเพราะเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2521 ให้ความหมายของคำว่าเลิกจ้างไว้อันหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ เป็นการครอบคลุมถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้ว ข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าการจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แต่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อบังคับที่ขัดต่อประกาศดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับและการจ่ายเงินสงเคราะห์ดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชย จึงเป็นเงินประเภทอื่นที่ต่างหากไปจากค่าชดเชย ดังนั้นข้อบังคับของจำเลยจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1944/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: สินค้าของจำเลยไม่ใช่การลำเลียงทั่วไป จึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
งานขนส่ง หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของด้วยเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานส่งของ มีหน้าที่ติดไปกับรถของจำเลย เพื่อส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามคำสั่งของจำเลย ซึ่งสินค้าที่โจทก์นำไปส่งให้แก่ลูกค้านั้นเป็นสินค้าของจำเลยเอง ไม่ใช่เป็นการลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของทั่ว ๆไป ลักษณะงานที่โจทก์ทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) เมื่อ จำเลยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติ จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้ข้อบังคับจำเลยจะระบุเป็นเงินสงเคราะห์
พระราชบัญญัติญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9,11เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่วไปของพนักงานส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองและการที่จำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายดังกล่าวเพราะเกษียณอายุจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่6)ลงวันที่31กรกฎาคม2521ให้ความหมายของคำว่าเลิกจ้างไว้อันหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใดๆโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้เป็นการครอบคลุมถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้ว ข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าการจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแต่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อบังคับที่ขัดต่อประกาศดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับและการจ่ายเงินสงเคราะห์ดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างจากค่าชดเชยจึงเป็นเงินประเภทอื่นที่ต่างหากไปจากค่าชดเชยดังนั้นข้อบังคับของจำเลยจึงไม่มีผลใช้บังคับ
of 11