พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีประนีประนอมหลังหย่า ต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องในคดที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมหลังการจดทะเบียนหย่าว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธาน-ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 12 ดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในการหย่าขาดจากกัน เป็นเหตุให้ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยให้จำเลยเป็นผู้ปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ทั้งสามและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวตามที่คู่ความได้ตกลงกันนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นแห่งบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวฉะนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่าจำเลย ไม่ได้ สละประเด็นเรื่อง อำนาจฟ้องอันเป็นการโต้แย้งข้อความที่ตกลงกันและมิได้มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3รับวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยไม่อาจฎีกาในประเด็นนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภารจำยอม: หลักประนีประนอมระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
ทางภารจำยอมเดิมเป็นที่ต่ำ ยามฝนตกน้ำท่วมขังต้องใช้ไม้พาดเป็นทางเดิน ส่วนทางที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์สร้างขึ้นใหม่เป็นคอนกรีตเดินได้ทุกฤดูกาลสะดวกกว่าทางภารจำยอมเดิม แม้จะคดโค้งหักงอเป็นข้อศอกแต่ก็ไม่ทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นมากนัก เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกของเส้นทางดังกล่าวซึ่งมีมากกว่าทางภารจำยอมเดิมประกอบกับประโยชน์ที่เจ้าของภารยทรัพย์ได้รับจากการปลูกสร้างบ้านในบริเวณที่เหมาะสมภายในที่ดินของตนโดยไม่ต้องรื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้างไว้ให้เสียหาย รวมตลอดถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่ต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ไม่ให้ถือเคร่งตามสิทธิเกินไป การย้ายทางภารจำยอมไปยังทางที่สร้างขึ้นใหม่จึงไม่ทำให้ความสะดวกของจำเลยลดน้อยลง โจทก์จึงเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และผลของการประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพน์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่ น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น.ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดหลังพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายล้มละลาย และผลของการตกลงประนีประนอม
การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปโดยไม่ชอบและโจทก์ต้องเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกระทำนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 คำร้องของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรือขอให้ประกาศขายทอดตลาดใหม่ก็เป็นคำร้องที่ได้ยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาที่จะยื่นคำร้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ไม่อาจขอให้ระงับการโอนที่ดินที่ขายหรือขอให้ดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้ขนส่งหลายคนในสัญญาขนส่ง และการระงับความรับผิดจากการประนีประนอมยอมความ
ดวงตราของโจทก์ที่ประทับในใบแต่งทนายความมีรูปร่างลักษณะ และรายละเอียดตัวอักษรในดวงตราเหมือนกับดวงตราที่จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกรมทะเบียนการค้าทุกประการต่างกันแต่เพียงว่ามีขนาดไม่เท่ากัน ดังนี้ เมื่อกรมทะเบียนการค้าไม่มีระเบียบข้อบังคับว่าดวงตราที่ใช้ประทับจะต้องมีขนาดเท่าดวงตราที่จดทะเบียนไว้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ดวงตราที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับประทับในใบแต่งทนายความ อีกทั้งในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความใหม่มีกรรมการของบริษัทลงชื่อและประทับตราถูกต้องตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ต่อศาลและให้สัตยาบันแก่กระบวนพิจารณาที่ทนายโจทก์ได้ดำเนินไปแล้วศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต การยื่นคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง มิได้ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรกอันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดมาแสดงจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ และไม่ตกอยู่ภายในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ข้อตกลงใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นว่า มีจำนวนเท่าใดแน่นอน จึงไม่ระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เครื่องจักรแม้จะมีราคาหลายล้านบาท แต่ก็เป็นสินค้าธรรมดาสามัญทั่วไปที่มีราคาสูงเท่านั้น ไม่ใช่ของมีค่าตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 จำเลยที่ 1 รับจ้าง ส. ขนเครื่องจักร แล้วไปติดต่อจำเลยที่ 3ให้จัดหารถบรรทุกเครื่องจักรให้ จำเลยที่ 3 ออกใบเสร็จรับเงินและใบรับของให้จำเลยที่ 1 และติดต่อหารถบรรทุกให้ ซึ่งเป็นรถที่จดทะเบียนใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งและดำเนินการรับจ้างขนส่งสินค้าในนามของจำเลยที่ 5 โดยระบุในหนังสือแสดงการจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 5 มีสิทธิครอบครองและใช้ประกอบการขนส่งไปบรรทุกเครื่องจักรให้ ส. พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5เป็นการขนส่งหลายคนหลายทอด ดังนั้นเมื่อเครื่องจักรบุบสลายระหว่างขนส่ง จะต้องร่วมกันรับผิด จำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดีรอผลคดีเพิกถอนสัญญาซื้อขายและประนีประนอมเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสินสมรส
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาจำเลย แต่จำเลยกลับทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลกับโจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากภริยาจำเลยก่อน ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระหว่างการบังคับคดีภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ดังนี้ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งงดการบังคับคดีไว้ได้เพื่อรอฟังผลคดีที่ภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมเฉพาะทางอาญา ไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลอาญาบันทึกไว้เพียงว่า โจทก์ได้รับเงิน 10,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อบรรเทาความเสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีทางอาญาแก่จำเลยที่ 1ต่อไปเป็นบันทึกว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ต่อไปเฉพาะในทางอาญาเท่านั้น มิใช่ตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่งไม่ทำให้หนี้ละเมิดระงับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการส่งคืนโฉนดที่ดินมีผลผูกพัน แม้มีการประนีประนอมในคดีอื่น ศาลสั่งให้บังคับตามข้อตกลงเดิม
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความให้จำเลยส่งคืนโฉนดให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยไม่มีเงื่อนไข และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงอื่นใดอีกหรือได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หลังจากทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์จำเลยมีกรณีพิพาทฟ้องร้องกันและกัน ซึ่งในที่สุดได้ตกลงประนีประนอมกันโดยต่างก็ถอนฟ้องของตนไปโดยไม่กล่าวถึงบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ข้อตกลงนั้นจึงมีผลใช้บังคับอยู่โดยสมบูรณ์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามข้อตกลงได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดเลขที่ 13424 แก่โจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบที่ดินโฉนดเลขที่ 13424 เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่อเนื่อง, การบอกเลิกสัญญา, อายุความ, การคิดเบี้ยปรับ และการประนีประนอม
เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า จำเลยยังมิได้ส่งมอบบ้านเช่าคืนโจทก์ ต่อมาผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้จัดประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยแสดงว่าโจทก์ได้รู้ถึงการที่จำเลยยังมิได้ออกจากบ้านเช่าด้วย จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570ค่าเช่าและเบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระค่าเช่าเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิมและสัญญาใหม่นี้ได้สิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 หลังจากครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญา ตัวแทนของจำเลยกับโจทก์ทำความตกลงกันเกี่ยวกับการยืดเวลาการย้ายกับค่ารื้อย้ายมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความกัน ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันให้นำเอาสัญญาเช่าที่สิ้นสุดไปแล้วมาบังคับใช้กันอีกต่อไปโจทก์จะให้จำเลยชำระค่าเช่าในระหว่างนี้ไม่ได้ โจทก์คิดเบี้ยปรับของค่าเช่าโดยเอาเบี้ยปรับและค่าเช่าที่ค้างชำระมาทบเข้ากับค่าเช่าของแต่ละเดือนเพื่อคำนวณหาจำนวนเงินเบี้ยปรับในเดือนต่อไป เป็นการคิดเบี้ยปรับจากเบี้ยปรับที่ค้างชำระ ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะเบี้ยปรับที่ค้างมิใช่ค่าเช่า จึงนำมาคิดเบี้ยปรับอีกไม่ได้ จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความละเมิดเพราะเกิน 1 ปีถือได้ว่าแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์ไม่ได้คัดค้าน ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นประเด็นในคดี แต่จำเลยให้การยกอายุความต่อสู้เฉพาะที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานละเมิดเท่านั้น ส่วนที่ศาลให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นเรื่องให้รับผิดตามสัญญาเช่า เรื่องอายุความสำหรับค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย