คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9437/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมาย 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 675: โทรศัพท์มือถือไม่ใช่ของมีค่า
คำว่า "ของมีค่า" ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675 วรรคสอง หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตรหรือตั๋วเงิน ส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์และโทรศัพท์มือถือของโจทก์เป็นเพียงทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นปกติธรรมดา แม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ไม่จัดว่าเป็นของมีค่าตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยย้อนหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745 บังคับผู้รับจำนองว่าจะใช้สิทธิบังคับให้นำเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้เท่านั้นแต่มิได้ห้ามผู้รับจำนองให้เรียกดอกเบี้ยเกินห้าปีนับแต่วันฟ้อง ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปได้ ส่วนการเรียกดอกเบี้ยย้อนหลังแม้จำเลยผู้จำนองฎีกายินยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองเรียกได้เป็นเวลา 5 ปีตั้งแต่ก่อนวันฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่ทบต้นเป็นเวลาเพียงห้าปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 บัญญัติไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: โมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1507
พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วัน และถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรสก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้านจะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตนตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์ การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี และผลของการไม่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 หาได้บัญญัติให้การเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนการเช่าในทันทีหรือในขณะทำสัญญาไม่ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยสมัครใจทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือมีกำหนด 20 ปี 5 เดือนนั้น ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ 3 ปี และข้อกำหนดทุกข้อตามสัญญาโดยเฉพาะข้อที่ระบุให้ผู้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2536 โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนการเช่านั้นก็ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย เพราะข้อตกลงไปจดทะเบียนการเช่าภายหลังเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามที่มาตรา 538 กำหนดไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าภายในกำหนดที่ระบุในสัญญาแล้ว จำเลยไม่ยอมไป โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับใช้สิทธิดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าและข้อกำหนดยังมีผลบังคับได้ จำเลยจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์อันตรายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 437
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้อาคารที่จำเลยที่ 3 เช่ามาจากจำเลยที่ 1 เสียหาย และทำให้วัสดุที่ถูกเพลิงไหม้หล่นใส่รถยนต์ที่จอดอยู่หน้าอาคารที่เกิดเหตุเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาคารดังกล่าวโดยสายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดิมอยู่นั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยที่ 3 ผู้เช่าผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคสอง
ในปัญหาที่ว่าเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3 มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 3 นำสืบแต่เพียงว่า ได้เปลี่ยนสายไฟฟ้าในอาคารที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมด ขณะเกิดเหตุภายในอาคารไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และเปิดไฟฟ้าไว้ที่หน้าอาคารและในห้องครัวแห่งละ 1 ดวงเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อกระแสไฟฟ้าเกิดลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้อย่างไร จำเลยที่ 3 ไม่ทราบ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาประเภทคดีและระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง แต่เป็น ฎีกาในข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นับแต่เวลาที่จำเลยกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชี และการระงับหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
การที่จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร โจทก์เองก็ยอมรับว่าจำเลยได้โอนเงิน เข้าบัญชีโจทก์จริง จึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่น ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ย่อมทำให้หนี้กู้ยืม รายพิพาทระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม มาแสดงซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 และอายุความ 5 ปี
ในคดีที่วินิจฉัยได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 238 คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริง เป็นยุติว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อวันที่22 กุมภาพันธ์ 2530 จำเลยค้างชำระต้นเงินจำนวน27,652.07 บาท อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บ ได้ในขณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1) ที่กำหนดให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยที่ค้างชำระมีกำหนดอายุความ 5 ปี นั้นหมายความว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่ วันฟ้องย้อนหลังลงไปได้ไม่เกิน 5 ปี ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่ วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้นไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ตามความหมายแห่ง มาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ: จำเลยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ไม่ใช่มาตรา 428
กำแพงรั้วของโจทก์เกิดความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม ของผู้รับจ้างก่อสร้างจากจำเลย โดยจำเลยได้คอยควบคุม ดูแลอยู่ตลอดเวลา ถือว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามคำสั่ง ของจำเลยโดยตรง แต่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า ในระหว่าง การก่อสร้างบ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ปรากฏว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม โจทก์เกรงว่าอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่ง ให้จำเลยแก้ไขแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและยังใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรงสั่นสะเทือนหรือ เปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็ม อีกทั้งมิได้หาทางป้องกัน มิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อ ของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพงรั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ ที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีตได้รับความเสียหาย อันเป็น การบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการกระทำของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้ จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยาย ว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไรแม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่ คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดงให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาและคำขอ คำบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งแห่งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 การที่ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในที่ดินซื้อขาย สัญญาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 156
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทเพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยและส. หลอกลวงโจทก์ให้ซื้อที่ดิน แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทโดยสำคัญผิดว่าที่ดิน แปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลง หมายเลข 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 และต่อมาพบว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 2 ตามเอกสารหมายดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้นการแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยและ ส. หลอกลวงโจทก์เสนอขายและนำชี้ที่ดินว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เสนอขายเป็นที่ดินแปลงหมายเลข 1 ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องจนโจทก์หลงเชื่อเข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน คุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเข้าทำสัญญาของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลทำให้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นการกล่าวอ้างแล้วว่า โจทก์เข้าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156
of 42