พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ โดยไม่แสดงเหตุผลที่สมควร ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตและงดสืบพยาน
++ เรื่อง ประนีประนอมยอมความ ค้ำประกัน ++
++ (ชั้นฎีกาคำสั่งที่ไม่ให้เลื่อนคดี)
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ จำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยบ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งจะมาเบิกความเป็นพยานป่วยบ้าง ติดต่อกับพยานที่จะมาเบิกความไม่ได้บ้าง รวมแล้วจำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นอนุญาตมาแล้วถึง 4 ครั้งครั้งสุดท้ายทนายจำเลยขอเลื่อนคดีโดยแถลงรับรองว่าในนัดหน้าจะนำพยานมาสืบให้ได้หากถึงวันนัดไม่มีพยานมาศาลจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีโดยได้กำชับทนายจำเลยว่า ถึงวันนัดหากไม่มีพยานมาสืบถือว่าจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน แต่ทนายจำเลยก็ขอเลื่อนคดีอีกและไม่ปรากฏว่ามีพยานจำเลยมาศาลที่ทนายจำเลยกล่าวอ้างว่า พยานจำเลยมาศาลนั้นก็ไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่นำพาต่อกำหนดนัดของศาล เป็นการประวิงคดี ประกอบกับในคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยท้องเสียกะทันหัน ไม่สามารถจะมาศาลได้ จึงขอเลื่อนการพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 ถึงแม้ทนายโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริงและปรากฏตามใบรับรองแพทย์ซึ่งยื่นในภายหลังตามเอกสารท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสามว่าทนายจำเลยป่วย แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทนายจำเลยป่วยจริงซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่าขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไรเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยชอบแล้ว
++ (ชั้นฎีกาคำสั่งที่ไม่ให้เลื่อนคดี)
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ จำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยบ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งจะมาเบิกความเป็นพยานป่วยบ้าง ติดต่อกับพยานที่จะมาเบิกความไม่ได้บ้าง รวมแล้วจำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นอนุญาตมาแล้วถึง 4 ครั้งครั้งสุดท้ายทนายจำเลยขอเลื่อนคดีโดยแถลงรับรองว่าในนัดหน้าจะนำพยานมาสืบให้ได้หากถึงวันนัดไม่มีพยานมาศาลจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีโดยได้กำชับทนายจำเลยว่า ถึงวันนัดหากไม่มีพยานมาสืบถือว่าจำเลยทั้งสามไม่ติดใจสืบพยาน แต่ทนายจำเลยก็ขอเลื่อนคดีอีกและไม่ปรากฏว่ามีพยานจำเลยมาศาลที่ทนายจำเลยกล่าวอ้างว่า พยานจำเลยมาศาลนั้นก็ไม่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่นำพาต่อกำหนดนัดของศาล เป็นการประวิงคดี ประกอบกับในคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยอ้างเหตุว่าทนายจำเลยป่วยท้องเสียกะทันหัน ไม่สามารถจะมาศาลได้ จึงขอเลื่อนการพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดีเป็นครั้งที่ 5 ถึงแม้ทนายโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าทนายจำเลยไม่ป่วยจริงและปรากฏตามใบรับรองแพทย์ซึ่งยื่นในภายหลังตามเอกสารท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสามว่าทนายจำเลยป่วย แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทนายจำเลยป่วยจริงซึ่งเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ แต่คำร้องขอเลื่อนคดีระบุเพียงว่าขอเลื่อนคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งในคำร้องว่าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไรเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: การเลื่อนคดีซ้ำๆ แสดงถึงการประวิงคดี ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตให้เลื่อน
ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามมาตรา 8 ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ โดยมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ดังนั้นการพิจารณาว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของผู้ร้องมีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตหรือไม่จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องสองนัดแรก ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ และระบุในคำร้องนัดที่ 2 ว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องเสียศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปอีก รวมระยะเวลาที่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ นับได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยให้โอกาสแก่ผู้ร้องอย่างมากแล้วแต่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในการไต่สวนคำร้องนัดที่ 4 โดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าผู้ร้องจงใจประวิงคดีให้เนิ่นช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจึงชอบแล้ว มาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ หาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่โดยทำความเห็นและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณา จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 9 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิการสืบพยานเพิ่มเติมเมื่อจำเลยแถลงหมดพยานหลักฐานแล้ว การยื่นพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการประวิงคดี
การที่จำเลยแถลงยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่า ยังติดใจสืบพยานอีกเพียงปากเดียวก็เป็นอันหมดพยานจำเลย และขอส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ที่ศาลจังหวัดเลย โดยไม่ขอเลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ศาลจึงอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว การที่ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าโจทก์ให้จำเลยยืนยันยอดหนี้ที่ค้างชำระกับโจทก์ตามเอกสารที่ส่งมาให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม คดีจึงไม่มีประเด็นว่ายอดหนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องถูกต้องหรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยดังกล่าวที่มีลักษณะเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า และไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานจำเลยเข้าสืบต่อไป จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังศาลอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่นแล้ว ถือเป็นการไม่ประวิงคดี
จำเลยแถลงยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่า ยังติดใจสืบพยานปาก ศ. อีกเพียงปากเดียว ก็เป็นอันหมดพยานจำเลย และขอส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ที่ศาลจังหวัดเลย โดยมิให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้นหากคู่ความขอเลื่อนคดีให้รีบส่งประเด็นคืนศาลเดิม ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานปาก ศ. ดังกล่าว และคดีมีการส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยที่ศาลอื่นซึ่งทำให้คดีล่าช้ามากอยู่แล้ว การที่ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าโจทก์ให้จำเลยยืนยันยอดหนี้ที่ค้างชำระกับโจทก์ตามเอกสารที่ส่งมาให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลย เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม คดีจึงไม่มีประเด็นว่ายอดหนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องถูกต้องหรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยดังกล่าวที่มีลักษณะเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า และไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานจำเลยเข้าสืบต่อไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน: การโต้แย้งและการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยต่อศาลชั้นต้น แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอีกนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้วจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การหลังรับสารภาพ: ศาลมีดุลยพินิจพิจารณาเหตุผลความสมควรและเจตนาประวิงคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง กฎหมายให้โอกาสแก่จำเลยที่จะขอแก้คำให้การได้ก่อนศาลพิพากษาในเมื่อมีเหตุอันสมควร แม้กระนั้นกฎหมายก็ยังให้อยู่ในดุลพินิจของศาลอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพขณะมีทนายความคอยให้คำปรึกษาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันแถลงถึงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่จะปฏิบัติต่อกันให้ศาลทราบ ตลอดจนขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว หากจำเลยทั้งสองผิดนัดหรือชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว คู่ความจะขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเพื่อมีคำพิพากษาหรือถอนฟ้องนั้น เป็นการรับสารภาพด้วยความสมัครใจของจำเลยทั้งสองมิได้เกิดขึ้นโดยความสำคัญผิดแต่อย่างใด และการที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้คำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีก โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งค้นพบพยานหลักฐานซึ่งจะนำมาอ้างปฏิเสธความรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้นั้น เห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองแก้คำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าสินไหมทดแทนจากการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ที่ไม่มีมูลเพื่อประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งได้
หากศาลเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์สำหรับความเสียหายที่อาจจะได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องของ ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง (1) แม้กรณีจะยังไม่ปรากฏความเสียหายชัดแจ้ง แต่เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโจทก์ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินตามคำพิพากษาตามยอมมีอำนาจยื่นคำร้องขอและศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องวางเงินได้ และการ วางเงินดังกล่าวเป็นคนละประเภทกับเงินค่าขึ้นศาลซึ่งต้องเสียและวางต่อศาลในกรณีที่แตกต่างกัน เมื่อปรากฏว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้ต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์เพียง 672,095 บาท แต่ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ราคา 3,200,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ผู้ร้อง วางเงินต่อศาลจำนวน 800,000 บาท จึงสูงเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดจำนวนเงินประกันค่าสินไหมทดแทนเสียใหม่ เป็นเงิน 200,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีระบุพยานไม่ชอบ, ประวิงคดี: การรอสืบพยานต้องมีขอบเขต, ศาลไม่ปล่อยให้ประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4 ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ระบุที่อยู่พยานในบัญชีระบุพยาน และผลกระทบต่อการดำเนินคดี การประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้ นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบจนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยานและไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายมิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือไม่สมควร
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว