คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องประเด็นเดิมที่ยังมิได้วินิจฉัยในคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยชอบแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2หรือไม่ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การฟ้องซ้ำ คดีปลอมแปลงเอกสารเป็นคนละประเด็น
จำเลยกระทำการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 31 (1), 33 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วพนักงานอัยการได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์
ความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด ไม่ใช่เอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้ง – ประเด็นต่างกัน – ไม่อาจรวมพิจารณา
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกหนี้เงินตามสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปแล้วชำระคืนให้โจทก์ไม่ครบและขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และได้ชำระเงินที่กู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว แต่ปฏิเสธที่จะชำระในส่วนที่ค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าถูกโจทก์และบริษัท ด.หลอกลวงให้หลงเชื่อว่า บริษัทดังกล่าวเสนอขายที่ดินสวนเกษตรจะปลูกต้นมะขามหวาน โดยแบ่งเป็นแปลงละ 2 ไร่ พร้อมกับจัดให้มีสาธารณูปโภค จำเลยที่ 1 จึงได้ตกลงทำสัญญาจองและจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทดังกล่าว ต่อมาบริษัทดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามโครงการที่เสนอขายอันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินกู้ในส่วนที่ยังชำระไม่ครบคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างบริษัท ด. กับจำเลยที่ 1 โดยอ้างเหตุว่า บริษัทดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามโครงการจัดขายที่ดินสวนเกษตรจึงเป็นข้อเท็จจริงและหลักฐานที่จะนำสืบคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างไปจากฟ้องเดิมของโจทก์ที่ขอบังคับตามสัญญากู้เงินและจำนอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัท ด. และว.จึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นที่มิได้ว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
ข้อเท็จจริงที่ว่าตามธรรมเนียมประเพณีของการซื้อขายที่ดินในปัจจุบันโจทก์ควรได้ค่านายหน้าไม่เกินร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายที่ดินนั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์จะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่จะรับรองให้ฎีกาได้นั้นจะต้องเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ด้วย กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้งปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนสิทธิบัตร: คดีมีประเด็นเดียวกัน จำเลยซ้ำ และความรับผิดของกรรมการ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นละเมิดต่อโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือไม่มีไว้เพื่อขายซึ่งม่านเหล็กบังตาอันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิ์บัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรงจำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไปต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมาต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อนนอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้วจำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำ ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นละเมิด การฟ้องใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีที่จำเลยอ้างว่าเป็นฟ้องซ้ำ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าไม่มีข้อเท็จจริงที่บรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่อย่างใดที่จะต้องกระทำและละเว้นเสียตามคำฟ้องโจทก์จึงมิได้บรรยาย ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะ เป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิเสนอคดีต่อศาลได้ พิพากษายกฟ้อง เป็นเรื่องที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุการบรรยายฟ้องของโจทก์ ยังไม่เข้าลักษณะละเมิดโดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ในประเด็นแห่งคดีที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการรับโอนที่ดิน: เหตุทางออกที่ดินไม่ใช่ประเด็นหากไม่ได้กล่าวอ้างในฟ้อง
ตามคำฟ้องมิได้อ้างเหตุที่ดินพิพาทไม่มีทางออก ทำให้ธนาคารไม่ยอมอาวัลตั๋วเป็นเหตุขัดข้องในการรับโอนที่ดิน จึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทที่จะขายจะต้องเป็นที่ดินมีทางออกหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกข้ออ้างในชั้นฎีกา: ประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ จำเลยที่ 2ก็ไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นที่มิได้อุทธรณ์ และขอบเขตคำขอของคู่ความ
ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าสมควรเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ประเด็นนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาได้ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
of 20