พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นเดียวกัน คู่ความเดิม ศาลห้ามรื้อร้องตามมาตรา 148
การอ้างฐานะในการใช้สิทธิต่างกันของโจทก์ทั้งสองที่ทรงสิทธิเดียวกัน หาได้ทำให้ฐานะของการเป็นคู่ความของโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนแปลง หรือต่างกันไปด้วยไม่ กล่าวคือโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายโจทก์รายเดียวกันกับคู่ความฝ่ายโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายของคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนพิพาทกันในประเด็นเดียวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน จึงห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองในคดีนี้รื้อร้องฟ้องกันใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ประเด็นกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นคดีนี้โจทก์ได้ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องขับไล่ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทรายเดียวกันนี้โดยอ้างเหตุว่า โจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาท จำเลยทั้งสองบอกกล่าวให้ออกไปแล้ว โจทก์ไม่ยอมออก โจทก์ให้การต่อสู้คดีโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับข้ออ้างตามคำบรรยายฟ้องของตนในคดีนี้ว่า จำเลยที่ 3ในคดีนี้ซื้อเฉพาะที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไปด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 2รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์บ้านพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ ต่อมาคดีที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ฟ้องขับไล่โจทก์ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วพิพากษาให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท คดีทั้งสองมีประเด็นเดียวกันว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทที่ศาลเคยตัดสินแล้ว แม้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้โจทก์ได้ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องขอให้ขับไล่ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทรายเดียวกันนี้ โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1ในคดีดังกล่าวให้การต่อสู้คดี โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับข้ออ้างตามคำบรรยายฟ้องในครั้งนี้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เมื่อฟ้องเดิมตกไปแล้ว การฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จะเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วยจึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้วศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยแล้ว การฟ้องคดีใหม่ประเด็นเดิมถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำแม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์และโจทก์ไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเอง ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกให้แก่จำเลยคดีนี้จำนวน 2 ไร่ 2 งาน คดีถึงที่สุด ปัญหาที่ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใดจึงเป็นประเด็นแห่งคดีในคดีก่อน ในชั้นบังคับคดีของคดีก่อนโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายบังคับคดีและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเฉลี่ยลดเนื้อที่ลงตามส่วนเพราะเนื้อที่ดินมรดกขาดไป 239 ตารางวาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว กลับนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยมีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกรรมสิทธิ์ จำนวน 2 ไร่ 2 งานเต็มตามคำพิพากษาในคดีก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนของศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937-4938/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำในประเด็นเดียวกัน แม้มีการเพิ่มข้อหา ย่อมเป็นฟ้องซ้อนที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีหนึ่งในขณะที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในเรื่องเดียวกันอีกแม้จะเพิ่มข้อหาและมีคำขออื่นเพิ่มเติมด้วย มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1) การที่โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนหลังจากฟ้องคดีนี้ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในคดีใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีถึงที่สุดแล้ว แม้มีการกระทำละเมิดต่อเนื่อง ก็ฟ้องไม่ได้ หากประเด็นสำคัญเหมือนเดิม
โจทก์เคยฟ้องคดีขับไล่จำเลยซึ่งในชั้นพิจารณาศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์แต่ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นที่ว่าจำเลยปลูกอาคารบ้านพักในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงพิพากษายกฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุด โจทก์จะมาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นการกล่าวอ้างในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ คดีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังว่า จำเลยไม่ได้ปลูกอาคารบ้านพักในเขตที่ดินของโจทก์นั้น ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความ โจทก์จะมากล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยยังคงกระทำละเมิดต่อโจทก์อยู่ตลอดเวลาและฟ้องเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่ เพราะประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในคดีก็คือ จำเลยปลูกอาคารบ้านพักในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับคดีที่ได้พิพากษาไปแล้วนั่นเองฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา หากข้อเท็จจริงเป็นประเด็นเดียวกัน
โจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ศาลในคดีอาญาฟังว่าจำเลยไม่ได้บุกรุกและพิพากษายกฟ้อง คดีอาญาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งฐานละเมิดซึ่งข้อเท็จจริงที่จะต้องวินิจฉัยเป็นมูลกรณีเดียวกันคือ จำเลยได้บุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ ศาลในคดีแพ่งจึงจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ว่าจำเลยมิได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ ตามบทบัญญัติมาตรา 46 แห่งป.วิ.อ..(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างซ้ำหลังคดีรับกลับเข้าทำงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นประเด็นเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยมิได้เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างซึ่งโจทก์สามารถเรียกร้องมาในคราวเดียวกันได้การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยมูลฐานเดียวกันกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: กรรมสิทธิ์ที่ดิน – ประเด็นเดียวกันต้องวินิจฉัยสอดคล้องกัน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกที่พิพาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องซึ่งเท่ากับฟังว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งหาว่าจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินโจทก์ขอให้ขับไล่ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46.