คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 719 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12565/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2537 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ทวิ (2) คือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2537 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2542 พ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12488/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของป้ายที่แท้จริงมีหน้าที่เสียภาษีป้าย การประเมินภาษีป้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาให้สิทธิและดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางรวม 250 หลังที่ทำกับจำเลยเป็นผลให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้ว รวมทั้งป้ายโฆษณาที่ติดตั้งไว้ที่ศาลาที่พักผู้โดยสารดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าของป้ายทั้งหมดนับแต่วันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของป้ายพิพาทในปี 2544 จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายในปีภาษี 2544 แม้จำเลยจะยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อสำนักงานเขตก็ไม่ทำให้จำเลยซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายกลับกลายเป็นต้องเสียภาษีขึ้นมา การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ทำการประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้ายสำหรับปีภาษี 2544 จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่การอุทธรณ์การประเมินตาม พ.ร.บ. ภาษีป้ายฯ มาตรา 30 นั้น ใช้บังคับเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายก็ไม่มีเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิให้การต่อสู้ได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์เป็นการไม่ชอบ และเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานโจทก์ไม่ชอบดังวินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็ไม่สามารถบังคับให้จำเลยชำระภาษีป้ายให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12199/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยราคาสินค้าจริง หากราคาที่สำแดงถูกต้อง การประเมินเพิ่มเติมจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 แม้อธิบดีกรมสรรพากร โจทก์ที่ 2 จะมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร และจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบว่า การประเมินของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าคงเหลือที่ขาดหาย การตรวจสอบพยานหลักฐานตามมาตรา 20 พ.ร.รษฎากรชอบแล้ว
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าขาดบัญชี: ศาลยืนตามการประเมินตามหลักฐาน มิใช่ตามนิยามภาษีมูลค่าเพิ่ม
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีทั้งรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8915/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารที่ขายก่อนเสร็จและให้แก่ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักลดหย่อนและการประเมิน
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ข้อ 2 (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขายไปภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประกาศดังกล่าวมิได้กำหนดว่าอาคารที่ขายต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์หรือต้องขายในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แม้อาคารที่โจทก์ขายจะยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และขายให้แก่บริษัท ป. จำกัด ซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวก็ต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
อาคารแม้จะก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับ กับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับ ไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีข้อหารวม 18 ข้อหา ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาประเมินเมื่อราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด และการปกปิดราคาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
ป. รัษฎากร มาตรา 78 (เดิม) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยกำหนดความหมายของคำว่า "รายรับ" ไว้ในมาตรา 79 ว่า หมายความว่า เงินทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำกับลูกค้าบางห้อง มีราคาสูงกว่าราคาตามสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดิน แสดงว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดราคาอันแท้จริงที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้า และราคาซื้อขายห้องชุดดังกล่าวที่จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินมิใช่ราคาขายอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินรายรับของโจทก์ตามมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับ โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ และมีอำนาจประเมินภาษีการค้าเพิ่มขึ้น พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ ตามมาตรา 87 (1) (2) และ 87 ทวิ
ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องนำรายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/5 (6) มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่รายรับดังกล่าวต้องเป็นรายรับที่เป็นจริงและควรได้รับตามปกติจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในวันที่มีการจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีเมษายน 2535 และปรากฏว่าในขณะจดทะเบียนโอนขายอาคารชุดนั้น สำนักงานทะเบียนที่ดินเก็บค่าธรรมเนียมและอากรแสตมป์โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยโจทก์ไม่โต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโดยกำหนดรายรับของโจทก์จากการขายอาคารชุดที่โจทก์ควรจะได้รับ หรือควรจะขายได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/15 และ 91/16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เสียภาษีต้องยื่นรายการและมีสิทธิโต้แย้งการประเมินตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่บริษัทจำเลยใช้ในปี 2539 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีของโจทก์ทำแบบแจ้งรายการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ให้แก่จำเลยซึ่งได้รับทราบแล้ว หากไม่พอใจจำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 ได้ และหากยังไม่พอใจในการชี้ขาดการประเมินก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้แต่ต้องกระทำภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ของโจทก์ไม่ชอบจำเลยต้องรับผิดชำระค่าภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 43(4) เนื่องจากจำเลยมิได้นำเงินมาชำระภายใน 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10251/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้สิทธิสถานีบริการน้ำมันกับการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ศาลยืนตามประเมินของเจ้าหน้าที่
ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินค่ารายปีและภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย และคำชี้ขาดของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรงเรือนพิพาทตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาสัญญาการให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการซึ่งเป็นโรงเรือนพิพาทที่ปรากฏในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า การที่โจทก์ได้รับค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า เพราะเป็นสัญญาที่ตกลงให้คู่สัญญาสามารถใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินและคู่สัญญาต้องเสียค่าตอบแทนในการเข้าไปใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ค่าใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเพียงค่าเช่าบางส่วน การที่จำเลยกำหนดค่ารายปีสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ต่ำกว่าอัตราค่าเช่าที่โจทก์ได้รับ นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วปรับกับข้อกฎหมายตามประเด็นข้อพิพาท จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็นพิพาทตามที่โจทก์อุทธรณ์
โจทก์ทำสัญญาให้บริษัท ฮ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเพื่อจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ โดยสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการดังกล่าวมีเงื่อนไขในสัญญาว่า โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้า เทคนิคการบริหาร การตลาดและการใช้เครื่องบริภัณฑ์ และระบบต่าง ๆ ของโจทก์ โดยบริษัทดังกล่าวต้องจ่ายค่าใช้สิทธิในสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 85,000 บาท และแต่ละเดือนบริษัทดังกล่าวต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีเพียงสิทธิอาศัยในสถานีบริการน้ำมันและที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า ไม่อาจถือได้ว่าค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวรวมค่าเช่าโรงเรือนรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขายสินค้า, การประเมินภาษี, และอำนาจการลดเบี้ยปรับของเจ้าพนักงาน
โจทก์ได้รับการว่าจ้างให้ติดตั้งหางพ่วงกระบะดัมป์เข้ากับรถยนต์บรรทุกของผู้ว่าจ้างจำนวน 7 คัน ในเดือนเมษายน 2540 โจทก์อ้างว่าโจทก์ต่อหางพ่วงกระบะดังกล่าวตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างโดยใช้แบบของผู้ว่าจ้าง แต่ในวันที่เจ้าพนักงานไปตรวจสินค้าของโจทก์ยังมีหางพ่วงเก็บอยู่ในโกดังของโจทก์อีก 17 คัน โดยไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งว่าจ้างจากผู้ใด และแบบหางพ่วงดังกล่าวโจทก์ได้ขออนุญาตกรมการขนส่งทางบกไว้ตั้งแต่ปี 2532 แบบดังกล่าวจึงเป็นแบบของโจทก์เองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกมีไว้สำหรับผลิตรถพ่วงเพื่อขาย เมื่อเจ้าพนักงานตรวจพบว่าหางพ่วงกระบะขาดหายไปจากรายการสินค้าและวัตถุดิบของโจทก์จำนวน 7 คัน ถือได้ว่าเป็นการขาย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 77/1 (8) (จ) โจทก์จึงต้องรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 78 (1)
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 ข้อ 3 เป็นเรื่องของการลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมาตรา 89 (10) กำหนดไว้ชัดเจนให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ ซึ่งหมายความว่าให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาว่าจะลดเบี้ยปรับให้ จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ จึงไม่ลดเบี้ยปรับให้เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
ขณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 ถูกยกเลิกไป โดยอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งใหม่เป็นคำสั่งที่ ท.ป. 81/2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2542 คำสั่งใหม่ดังกล่าวระบุไว้ชัดเจนในข้อ 3 ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้เฉพาะกรณีที่เห็นว่าบุคคลที่จะต้องเสียเบี้ยปรับไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ จึงไม่งดหรือลดเบี้ยปรับให้ โดยมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 72