พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2999/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญามาตรา 140 ด้วยประกาศคณะปฏิวัติ และการพิจารณาความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกับพยายามฆ่า
จำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้อาวุธปืนประทุษร้ายก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ใช้บังคับ การพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 3 จึงคลาดเคลื่อน เพราะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 3 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 นั้น ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจะนำมาใช้ปรับบทแก่การกระทำผิดของจำเลยหาได้ไม่ ต้องพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานขณะเข้าทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมีอาวุธใช้ประทุษร้ายเป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 และมาตรา 289, 80 ไม่ใช่ 2 กรรม
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานขณะเข้าทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยมีอาวุธใช้ประทุษร้ายเป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 และมาตรา 289, 80 ไม่ใช่ 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติที่ส่งผลต่อโทษของจำเลย แม้ไม่ได้อุทธรณ์
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลย 4 คน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 จำเลยคนหนึ่งฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่เมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11ออกใช้บังคับ ข้อ 14ของประกาศดังกล่าวได้แก้ไขอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 ให้เบาลง ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติมาใช้แก่จำเลยและเมื่อศาลฎีกาพิพากษาแก้บทเป็นให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอีก 3 คนที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติเมื่อมีกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้จำเลยอื่นไม่ได้ฎีกา ก็มีผลถึงทุกคน
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลย 4 คน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 จำเลยคนหนึ่งฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่เมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11ออกใช้บังคับ ข้อ 14 ของประกาศดังกล่าวได้แก้ไขอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 ให้เบาลง ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติมาใช้แก่จำเลย และเมื่อศาลฎีกาพิพากษาแก้บทเป็นให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา340 วรรค 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอีก 3 คนที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาในคดีข่มขืนโทรมหญิง: กฎหมายใหม่ใช้บังคับกับเหตุการณ์ก่อนประกาศใช้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 เดิม ไม่มีข้อความซึ่งบัญญัติให้การกระทำโดยใช้อาวุธปืนและมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงมีโทษหนักขึ้นเหมือนอย่างที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมแล้วโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 7 จำเลยกับพวก ร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะโทรมหญิงก่อนใช้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ระหว่างพิจารณามีประกาศนั้นออกใช้ประกาศดังกล่าวข้อ 7ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงนำมาปรับบทแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์มีสิทธิฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญา ศาลมีหน้าที่ปรับบทกฎหมายให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริง
เมื่อข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องละเมิดหรือผิดสัญญาก.ม.ไม่ได้บังคับว่าโจทก์จะต้องเลือกฟ้องทางใดทางหนึ่งโจทก์เพียงบรรยายข้อเท็จจริงกับคำขอบังคับมาก็พอแล้ว ศาลก็มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยรับบท ก.ม.แก่คดีนั้นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ฟ้องได้ทั้งละเมิดและผิดสัญญา ศาลปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริง
เมื่อข้อหาของโจทก์อาจเป็นเรื่องละเมิดหรือผิดสัญญากฎหมาย ไม่ได้บังคับว่าโจทก์จะต้องเลือกฟ้องทางใดทางหนึ่ง โจทก์เพียงบรรยายข้อเท็จจริงกับคำขอบังคับมาก็พอแล้ว ศาลก็มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยปรับบทกฎหมายแก่คดีนั้นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาใหม่ให้เป็นคุณแก่จำเลย แม้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังการกระทำผิด
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่14) พ.ศ.2494 มาตรา 7 ที่ว่า "ผู้ใดอายุกว่าสิบเจ็ดขวบแต่ยังไม่เกินยี่สิบขวบกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนด ไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้" แม้ พระราชบัญญัตินี้จะประกาศใช้ภายหลังการกระทำผิดของจำเลยก็ดี แต่ถ้าคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล. ศาลนั้นก็มีอำนาจที่จะยก พระราชบัญญัตินี้ขึ้นปรับบทให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายและแก้ไขโทษในคดีทำลายป่าสงวน การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์และการยืนตามคำพิพากษา
คดีนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธารอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง (3) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีฯ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง และลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงต่ำกว่าระวางโทษขั้นต่ำ โจทก์จึงไม่เห็นด้วยและขอให้พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุกจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง (3) นั้น อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว นอกจากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ปรับบทให้ถูกต้องแล้วยังอุทธรณ์โต้แย้งโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยและขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 วรรคสอง (3) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำสูงกว่าโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลย ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์ที่จะให้เพิ่มเติมโทษ ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาแล้วเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามที่โจทก์อุทธรณ์ และมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะเปลี่ยนแปลงโทษที่จะลงแก่จำเลยให้เหมาะสมและเป็นไปตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกแก่จำเลย และไม่รอการลงโทษ ไม่คุมความประพฤติและไม่ปรับ จึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: ข้อผิดพลาดในการอ้างบทกฎหมาย-ฐานความผิด ศาลมีอำนาจปรับบท-แก้ไขฐานความผิดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเก็บหา นำออกไปและทำด้วยประการใด ๆ อันทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และนำอาวุธปืนเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเข้าลักษณะเป็นความผิดตามมาตรา 16 (2) (15) แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และมีบทลงโทษตามมาตรา 24, 26 และ 27 โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติว่า ฟ้องต้องมี "อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด" ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงแต่อ้างบทลงโทษตามมาตรา 24, 25 และ 27 โดยไม่ได้อ้างบทความผิดตามมาตรา 16 มาด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ถึงกับเป็นเรื่องเกินคำขอเสียทีเดียวหรือเป็นเรื่องที่มิได้กล่าวในฟ้อง และไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามฐานความผิดดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ แต่อย่างใด เมื่อข้อหาความผิดหนึ่งต้องมีบทความผิดกับบทลงโทษประกอบเข้าด้วยกัน โดยอาจจะอยู่ในมาตราเดียวกันหรือแยกกันอยู่คนละมาตราก็ได้ การที่โจทก์เพียงอ้างมาตราในกฎหมายที่เป็นบทความผิดหรือบทลงโทษเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นเรื่องโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานความผิดนั้นสมตามฟ้อง ทั้งบทลงโทษที่บัญญัติไว้ก็เชื่อมโยงไปถึงบทความผิด อันเห็นได้ถึงบทมาตราที่ถูกต้องครบถ้วน และการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดตามกฎหมายเช่นใด ก็อยู่ในขั้นตอนปรับบทกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของศาล ดังนั้น ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องนี้ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว กรณีปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า "(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว" อันเป็นการกำหนดไว้เฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมีบทลงโทษตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่าเลื่อยโซ่ยนต์คดีนี้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับความผิดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิพากษายกฟ้องความผิดข้อนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว กรณีปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า "(1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว" อันเป็นการกำหนดไว้เฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมีบทลงโทษตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่าเลื่อยโซ่ยนต์คดีนี้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับความผิดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิพากษายกฟ้องความผิดข้อนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยเหตุหย่าตามฟ้อง แม้ศาลจะปรับบทกฎหมายที่ใช้บังคับแตกต่างไป ก็ไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
การบรรยายฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง จะต้องให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น หมายความว่า เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่โจทก์ประสงค์จะใช้เป็นข้ออ้างในการฟ้องให้แจ้งชัด โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องถึงสาเหตุที่โจทก์ต้องฟ้องหย่าว่า เป็นเพราะจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์อุปการะเลี้ยงดู ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา กล่าวคือ จำเลยทั้งสองเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นด้วยกัน พักร่วมอยู่ในบ้านเดียวกัน ติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์กันเสมอเป็นเวลานาน ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังเป็นยุติจากการวินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นไปตามฟ้อง แม้จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ขับรถให้ คือขอให้พาจำเลยที่ 2 ไปร้านตัดเสื้อ ร้านแว่นตา ร้านทำผม เขียนบทกลอนส่งหากัน แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องแล้วทั้งสิ้น ไม่มีข้อเท็จจริงใดเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่นอกคำฟ้อง ส่วนศาลล่างทั้งสองจะเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุตินั้นเป็นเหตุหย่าหรือไม่ และเป็นเหตุหย่าที่ปรับได้กับบทบัญญัติกฎหมายมาตราใด กฎหมายมาด้วย แต่ก็ไม่ผูกพันว่าศาลจะต้องวงเล็บใดก็เป็นอำนาจหน้าที่และเป็นความเห็นของแต่ละศาล ไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างบทปรับบทตามฟ้องของโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลปรับบทกฎหมายแตกต่างจากฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือเป็นการวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง