คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปริยาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การแก้ไขข้อบังคับบริษัท และผลผูกพันต่อลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นส่วนหนึ่งของของสัญญาจ้างแรงงานนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยการตกลงกันโดยชัดแจ้งจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้โดยปริยายอีกด้วย เมื่อธนาคารนายจ้างออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและการแต่งตั้งพนักงานใช้บังคับอยู่แล้วและภายหลังลูกจ้างผู้นั้นเข้ามาเป็นพนักงานก็ได้มีคำสั่งแก้ไขข้อบังคับนั้นในเวลาต่อมา โดยแก้บัญชีอัตราเงินเดือนให้มีขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นและแก้ไขให้ผู้จัดการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ พนักงานทุกคนก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและยอมรับเอาผลจากการแก้ไขข้อบังคับด้วยดีตลอดมา ทั้งสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างผู้นั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมโดยปริยายต่อการเป็นตัวแทน และผลผูกพันตามสัญญา
บริษัทจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัดกระแสรายวันกับโจทก์ โดย มีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เซ็น สั่งจ่ายพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1โดย ไม่คำนึงถึง ป. กับกรรมการอื่น ซึ่ง เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตาม หนังสือรับรองของ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อจำเลยที่ 2ในนามของจำเลยที่ 1 ได้ ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อ โจทก์และยินยอมให้โจทก์เพิ่มดอกเบี้ย ในการกู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งได้ นำเงินฝากเข้าบัญชีและถอนเงินตลอดมา ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้จำเลยที่ 2 เชิด ตัวเองเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินบัญชีจำเลยที่ 1 จึงต้อง ผูกพันรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาโดยปริยายและการรับผิดในฐานตัวการของผู้ให้เช่ารถแท็กซี่
การที่บริษัทจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์แท็กซี่ออกแล่นรับคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผยและเป็นที่เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3 จะต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้ใช้ตราบริษัทจำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ข้างรถดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 เองการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เสมือนจำเลยที่1 เป็นตัวแทนของตน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไป ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีก เช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีก โดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 และมาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้าง การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไป ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน 2 ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีก เช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีก โดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 31และมาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุติข้อเรียกร้องแรงงานโดยปริยายและการย้ายลูกจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
การยุติและการถอนข้อเรียกร้องในกรณีที่ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องไม่ประสงค์จะเรียกร้องต่อไปไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือการที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องแล้วได้มีการเจรจากัน2ครั้งหลังจากนั้นเป็นเวลาถึง2ปีเศษไม่มีการเจรจากันอีกเช่นนี้ย่อมถือได้โดยปริยายว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจที่จะเจรจากันในเรื่องของข้อเรียกร้องนั้นต่อไปอีกโดยต่างยอมยุติข้อเรียกร้องนั้นหลังจากนั้นจำเลยย้ายโจทก์ซึ่งเป็นรองประธานสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้างไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา31และมาตรา52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4177/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความโดยอ้างเอกสารที่รับรองแล้ว ไม่ถือเป็นการเสียเปรียบ และการอนุญาตโดยปริยาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 113 บัญญัติห้ามมิให้พยานเบิกความโดยอ่านจากข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบในเชิงคดี การที่พยานเบิกความถึงตัวเลขตามที่พยานจดมาซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารที่พยานเบิกความรับรองส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลอยู่แล้ว และศาลก็พิจารณาตัวเลขจากเอกสารเองได้ จึงไม่ทำให้อีกฝ่ายเสียเปรียบในเชิงคดี และการที่ศาลชั้นต้นจดข้อความตามที่พยานอ่านข้อความที่จดมาเกี่ยวกับตัวเลขโดยไม่มีการทักท้วงถือได้ว่าพยานได้รับอนุญาตจากศาลให้อ่านข้อความที่จดมาได้โดยปริยายแล้ว ศาลจึงรับฟังข้อที่พยานเบิกความโดยอ่านข้อความที่จดมานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิเช่าเป็นอันยกเลิกโดยปริยาย เมื่อฝ่ายผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และอีกฝ่ายไม่เรียกร้องสิทธิ
โจทก์ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้จำเลยภายในกำหนดตามบันทึกข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่า จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อมาบริษัท ช. ตกลงซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวที่โจทก์ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยได้เป็นกรรมสิทธิ์เสียเอง เป็นข้อตกลงที่แสดงว่าฝ่ายจำเลยมิได้ใส่ใจที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่ว่าด้วยการโอนสิทธิการเช่า หรือชำระค่าเสียหาย ส่วนทางโจทก์เมื่อไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าได้และถูกบอกเลิกสัญญาเช่าแล้วก็เงียบหายไป มิได้ติตด่อกับจำเลยอีก พฤติการณ์ที่เป็นดังนี้ ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่าเป็นอันยกเลิกโดยปริยาย โจทก์จะอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญามัดจำโดยปริยาย การคืนเงินมัดจำและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญามัดจำไว้ว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินตามฟ้องจากจำเลยในราคาที่กำหนด โจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง กำหนดโอนกันให้เสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันทำสัญญามัดจำ แต่จะกำหนดวันเดือนใดคู่ความต้องบอกกล่าวความตกลงเห็นพร้อมกัน ในระหว่างกำหนดเวลาดังกล่าวนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้กำหนดวันเดือนใดที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันโดยบอกกล่าวความตกลงเห็นพร้อมกัน กล่าวคือโจทก์ไม่ได้ขอชำระหนี้เงินที่ค้างและให้จำเลยโอนที่ดิน ให้จำเลยก็ไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ แสดงว่าคู่สัญญาไม่นำพา ที่จะปฏิบัติตามสัญญาจนกำหนดเวลาตามสัญญานั้นสิ้นสุดลง ฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ การที่คู่กรณีปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมาทางอำเภอเปรียบเทียบแต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จากนั้นก็ไม่มีฝ่ายใด เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญา พฤติการณ์ของคู่กรณีแสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์จำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ได้รับไว้และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายและค่าปรับจากจำเลย
โจทก์จำเลยต่างตกลงทำสัญญามัดจำกันใหม่ โดยมีข้อความ ตามสัญญาเดิม และยกเงินมัดจำจำนวนตามสัญญาเดิมมาลงไว้ในสัญญาใหม่แล้ว ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำแล้วตามสัญญาใหม่และปรากฏตามคำให้การของจำเลยโดยชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับเงินมัดจำจำนวนดังกล่าวไว้แล้วด้วย จำเลยจะนำสืบเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และการต่อสัญญาโดยปริยาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทลงวันเดียวกัน 4 ฉบับมีกำหนด 10 ปี สามฉบับแรกมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ 3 ปี ฉบับสุดท้ายมีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 เมื่อสัญญาเช่าฉบับแรกสิ้นกำหนดแล้ว การที่จำเลยยังอยู่ในตึกพิพาทและโจทก์ไม่ทักท้วงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าเป็นอันระงับตามมาตรา 566 จำเลยต้องออกจากตึกพิพาท
of 7