คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนและความถูกต้องในการจ่ายสินบนนำจับ โดยการจ่ายสินบนต้องควบคู่กับการลงโทษปรับ
จำเลยทั้งสองรวมกันทำไม้และแปรรูปไม้โดยใช้เลื่อยยนต์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติการที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำเลยจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับได้ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยด้วยเพราะจำนวนเงินค่าปรับต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเป็นจำนวนเท่าใดฉะนั้นเมื่อศาลพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองโดยไม่มีการลงโทษปรับด้วยจะให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา74จัตวาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน การทำไม้หวงห้าม และข้อยกเว้นความผิด
แม้ผ. จะได้ครอบครองที่ดินก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติประกาศใช้แต่ผ. มิได้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน90วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับจึงถือว่าผ. สละสิทธิหรือประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้วผ. จึงไม่มีสิทธิโอนที่ดินส่วนนี้ให้จำเลยการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจึงมีความผิด โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดว่าไม้พลวงไม้เขว้าและไม้มะค่าแต้ขึ้นอยู่ในหรือนอกเขตที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าไม้ดังกล่าวขึ้นอยู่ในที่ดินที่จำเลยแจ้งการครอบครองจึงมิใช่ไม้หวงห้ามแม้จำเลยตัดฟันแปรรูปและมีไว้ในครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้จำเลยก็ไม่มีความผิด ไม้ยางนั้นไม่ว่าจะขึ้นอยู่ณที่ใดในราชอาณาจักรก็เป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้นแต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยตัดฟันไม้ยางจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9170/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การรบกวนสิทธิระหว่างบุคคล แม้ไร้สิทธิโดยชอบธรรม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ที่ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น ดังนั้นหากโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วจำเลยบุกรุกไปครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิและเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ทำไม้ในเขตป่าสงวน ความผิดต่อเนื่องเจตนาเดียว
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกัน แต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 38 ต้น แล้วทอนออกเป็นท่อนได้ 250 ท่อน และใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าไปในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกัน และได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้น จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ตัดไม้ในเขตป่าสงวนฯ แม้ฟ้องแยกกรรม แต่เจตนาเดียว โทษฐานทำไม้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกันแต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน38ต้นแล้วทอนออกเป็นท่อนได้250ท่อนและใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้นจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานป่าสงวนมีอำนาจสั่งรื้อถอนและดำเนินคดีอาญาได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้าม
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ออกคำสั่งจังหวัด โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอน แก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน 30 วัน แม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตาม แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ป.ที่ดินมาตรา 9, 108, 108 ทวิ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ป่าสงวนออกคำสั่งรื้อถอนและการดำเนินคดีอาญา การขอคุ้มครองชั่วคราว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานก็เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานออกคำสั่งรื้อถอนที่ดินบุกรุกป่าสงวน การแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ใช่ละเมิดที่ศาลคุ้มครองชั่วคราวได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507ออกคำสั่งจังหวัดโดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตามแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา368ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108,108ทวิฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต การฟ้องร้องหน่วยงานรัฐด้วยสิทธิครอบครองเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทตามหนังสืออนุญาต สทก.1 มีกำหนดระยะเวลา5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2527 ถึง 1 ตุลาคม 2532 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทในปี 2533 อันเป็นเวลาหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาต สทก.1 ของโจทก์ สิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 16 ประกอบมาตรา 14 ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่เป็นส่วนราชการและเป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเอง ซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในป่าสงวนหมดอายุเมื่อใด? การฟ้องหน่วยงานรัฐเรื่องรื้อถนนขัดแย้งกับสิทธิเดิมหรือไม่?
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวตามหนังสืออนุญาตสทก. 1 มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ต่อมาสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จำเลยได้ก่อสร้างถนนผ่านที่ดินพิพาทหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวสิทธิการทำประโยชน์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมสิ้นสุดไปแล้วทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกัน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่เป็นหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ไม่ให้อำนาจฟ้องจำเลยรื้อและปรับสภาพถนนให้เป็นที่นาตามเดิมและใช้ค่าเสียหาย
of 18