คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดิน นส.3/นส.3ก. จดทะเบียนแล้ว: สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373
ที่ดินตาม น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. เป็นที่ดินที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินของสำนักงานที่ดินอำเภอ จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนที่ดินดังนั้นข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองย่อมรวมถึงที่ดินที่มี น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม เกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตาม ป.พ.พ. มาตรา443 วรรคสาม โดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่เข้าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
ใบสำคัญรับเงินค่ากระบือมิใช่สัญญาซื้อขายหรือจะซื้อขายใบสำคัญรับเงินดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ใช้บังคับเฉพาะกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานของโจทก์ในตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดซึ่งเบิกเงินทดรองไปจากโจทก์เพื่อจัดซื้อกระบือตามโครงการพระราชดำริ และเมื่อจ่ายค่ากระบือที่ซื้อแล้วมีเงินเหลือให้คืนเงินส่วนที่เหลือแก่โจทก์ อันเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336ไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าซ้ำและเจตนาทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 18
โจทก์ใช้คำว่า Reebok เป็นชื่อบริษัทและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่โจทก์ผลิตขายด้วย โจทก์ใช้ชื่อนี้ในประเทศอังกฤษมาก่อนจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และชื่อนี้เป็นคำเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีความหมายดังนี้ การที่บริษัท ท. โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ทดลองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าReebok ของโจทก์ แล้วต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นคำขอใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1และมีวงเล็บว่า ประเทศไทย จึงเป็นการที่จำเลยที่ 3 เอาคำว่า Reebok ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และได้ใช้ในต่างประเทศมาก่อนแล้วมาใช้เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวพันในการค้าของโจทก์หรือเป็นส่วนหนึ่งของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1ก็ไม่ควรใช้ชื่อซ้ำกับโจทก์ การจดทะเบียนบริษัทจำกัดของจำเลยที่ 1 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทรีบ็อค (ประเทศไทย) จำกัด จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการใช้นามของโจทก์โดยไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 18 เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของชื่อ Reebokเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ระงับการใช้ชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใช้ชื่อนั้นต่อไป และโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำที่พิพาทกันคือคำว่า Reebok ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่ารีบ๊อค ที่โจทก์อ้าง หรือคำว่า รีบ็อค ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเป็นเพียงการสะกดตัวอักษรที่แสดงถึงสำเนียงการอ่านคำภาษาอังกฤษดังกล่าวไม่ใช่สาระที่พิพาทกัน การที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองใช้คำว่า Reebok โดยวงเล็บคำว่า รีบ๊อคหรือรีบ็อคไว้หลังคำว่า Reebok จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์: องค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
แม้โจทก์จะเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฯ แต่การที่โจทก์ให้จำเลยใช้บริการ โทรศัพท์ แล้วคิดค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนดย่อมถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับจากการนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(7) ซึ่งโจทก์จะต้องเรียกร้องเอาค่าบริการ ภายใน 2 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้บริการเกิน 2 ปี คดีจึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ต้องเสียค่าบริการพูดโทรศัพท์ตามอัตราที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกำหนด ค่าใช้บริการจึงเป็นสินจ้างและถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าโดยรับทำการงานเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น หนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: ผู้ให้บริการถือเป็นผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำงานต่าง ๆ และเรียกร้องเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ปรากฏในสัญญาเล่นแชร์ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ถือเป็นหลักฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 ได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล่นแชร์ กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3ลงชื่อต่อท้ายสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน ถือว่าเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรตาม ป.รัษฎากร เอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการภายในกำหนด แต่หากไม่มีเวลาพอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็ขาดอายุความ
อายุความเรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 240ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 มิใช่เป็นการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 175 อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าบริการของรัฐวิสาหกิจ: พิจารณาจากฐานะผู้ค้าบริการตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2497 องค์การโทรศัพท์โจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์และธุรกิจที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการโทรศัพท์ และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า เพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การโทรศัพท์มีอำนาจรวมถึง...(3) กำหนดอัตราค่าเช่า ค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ค่าบริหารอื่น ๆ ของกิจการโทรศัพท์และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าต่าง ๆ ดังกล่าว ดังนั้นการที่โจทก์เรียกค่าเช่าค่าบริการที่จำเลยค้างชำระจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ2 ปี ไม่ใช่อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166.
of 11