คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลกระทบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ และผลกระทบของการต่อสู้เรื่องอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสิบเอ็ดร่วมกันละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 4 ที่ 8 และที่ 9 จะไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ และจำเลยอื่นมิได้ยื่นคำร้องให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็ได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้และคำร้องขอชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยที่ 3 และที่ 7ด้วย โดยถือการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความร่วมคนหนึ่งเมื่อกระทำไปแล้วย่อมถือว่าได้กระทำแทนคู่ความอื่นร่วมด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: พินัยกรรมปลอมและการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอม แต่พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอม จึงพิพากษายกฟ้อง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะในข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดในการใช้พินัยกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 268เพราะไม่รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิด แต่ปัญหาข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่นี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุด และหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความในคดีนี้ในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า พินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่อีก ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีนี้ซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่ 2 คดีนี้ จึงถือว่าปัญหานี้เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมมีผลต่อคดีแพ่ง จำเป็นต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะขาดเจตนา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมแต่พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1นั้นจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่2อุทธรณ์เฉพาะในข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่2ไม่มีเจตนากระทำความผิดในการใช้พินัยกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และ268เพราะไม่รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้นโจทก์และจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดแต่ปัญหาข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่นี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดและหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความในคดีนี้ในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่อีกในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีนี้ซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2คดีนี้จึงถือว่าปัญหานี้เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถอนฟ้องแล้ว ศาลยังเพิกถอนนิติกรรมได้หรือไม่? ผลกระทบต่อคู่ความภายนอก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่2แล้วการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยมีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นอันยุติและจำเลยที่2มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไปแต่กลับเป็นบุคคลภายนอกศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367-368/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและผลกระทบต่อที่ดินที่เหลือ
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 ที่กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่ดินของโจทก์ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อ 22 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 ประกอบกับมาตรา 5วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 9วรรคสี่ ประกอบมาตรา 21(2) หรือ (3) แต่ต่อมาหลังจากมีการฟ้องคดีแล้ว ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 1 ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และบัญญัติความใหม่แทนว่า "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21มาตรา 22 และมาตรา 24" ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29 กุมภาพันธ์ 2534 โดยข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศดังกล่าวบัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่ และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์ หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย" ดังนั้น เมื่อคดีของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงถือว่ากรณีของโจทก์นี้เป็นการเวนคืนซึ่งการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดตามความหมายของข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศดังกล่าว การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 1 โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยถือเกณฑ์ตามมาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยถือตามราคาตามมาตรา 21(2)หรือ (3) แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์จึงไม่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป รัฐก็มีหน้าที่ชดใช้ค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย เมื่อการเวนคืนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ที่ 3 ที่เหลือมีอาณาเขตไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่ลดลงเพราะการเวนคืนของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม แต่ขณะที่มีการเวนคืนที่ดินของโจทก์ที่ 3 ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคำนวณราคาที่ดินที่ลดลงออกมาใช้บังคับตามมาตรา 21 วรรคสี่ แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 ก็ตามแต่ตามมาตรา 5 ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ดังนั้นพระราชกฤษฎีกานี้จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับกับคดีนี้ได้จึงต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ 3 ส่วนที่เหลือที่ราคาลดลงโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อการเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 29 ตารางวา ของโจทก์ที่ 3 ถูกตัดขาดจากที่ดินเดิมจนไม่มีถนนเข้าที่ดินซึ่งเห็นได้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวย่อมมีราคาลดลงโดยสภาพ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์ที่ 3 รวมเป็นเงิน 144,440 บาทนั้นจึงเหมาะสมแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีและผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยันและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่นๆที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20บาทมาใช้บังคับสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้องและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายบัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยันหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา132(1)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือคำให้การชั้นสอบสวนที่ไม่สอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่น และผลกระทบต่อการรับฟังพยาน
ฉ. เบิกความว่า เห็นจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ไปบ้านของผู้เสียหาย แต่ตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ได้ความว่าได้เดินไปทั้งไปและกลับ นอกจากนี้ตอน ส.ไปรับอาวุธปืนของกลางที่กุฏิของ ป.ส.เบิกความว่า อาวุธปืนอยู่ในเป้อยู่ที่กุฏิ ป. ไม่พบจำเลยที่ 2 แต่ในคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนหยิบเป้ใส่อาวุธปืนให้ ส.ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การชั้นสอบสวนแตกต่างกับพยานโจทก์และพยานจำเลยที่นำสืบ ทั้งจำเลยที่ 2 โต้เถียงว่าถูกขู่ให้รับสารภาพ คำให้การชั้นสอบสวนจึงไม่ชอบ ไม่อาจใช้ยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134และ 135

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6284/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลทางธุรกิจ, ผลกระทบต่อความรู้สึกพนักงาน และการป้องกันปัญหา
จำเลยอุทธรณ์ว่า เงินค่าน้ำมันที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนโดยพิจารณาจากการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์เพียงอย่างเดียวซึ่งหน้าที่การทำงานปกติของโจทก์ต้องออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้านอกสถานที่ และโดยส่วนใหญ่โจทก์จะได้รับเงินดังกล่าวเต็มจำนวนทุกเดือน เงินดังกล่าวจำเลยจ่ายให้โจทก์ตามผลของการปฏิบัติงานของโจทก์ ก็คือการจ่ายตามผลงานนั้นเอง และเงินดังกล่าวจำเลยถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน จึงเป็นค่าจ้างและจะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้ไม่แน่นอนแล้วแต่การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์ตามส่วน เป็นเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถให้โจทก์ที่ต้องจ่ายจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างมีผลกระทบความรู้สึกของพนักงานส่วนหนึ่งที่ทราบเรื่องและไม่พอใจโจทก์ และการที่จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้นั้น แม้จะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดจริงก็ตาม แต่เมื่อเป็นการคาดการณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงที่สืบเนื่องจากผลแห่งการกระทำของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปตามเหตุที่มีอยู่จริงและเพื่อผลในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา หาได้มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
รถยนต์คันที่ ส.ขับมีผู้ตายทั้งสองนั่งโดยสารมาด้วย ส.ขับรถชนท้ายรถบรรทุกห้องเย็นอย่างแรง แล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ก.และท.ที่นั่งโดยสารมากับรถจำเลยในที่นั่งตอนหน้าได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย การที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก.และ ท.กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย แต่น่าจะเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ ส.ขับรถชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นมากกว่า จำเลยจึงไม่มีความผิดตามป.อ. มาตรา 291 แต่มีความผิดตามมาตรา 390

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและผลกระทบต่อสัญญาซื้อขาย รวมถึงการเลิกสัญญาสินค้า
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่า ผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลย คือบริษัทโจทก์ แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อน และเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้ นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท. ได้ระบุไว้ชัดว่า บริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลย ซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อ ดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไป จากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟ-เครดิตเสียก่อน เมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าว แม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้ โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืน ตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้
of 17