คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914-2915/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่พอใจ และการปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีใจความว่า หากพนักงานที่บริษัทพิจารณาเห็นว่ามีผลงานประจำปีไม่เป็นที่พอใจพนักงานผู้นั้นจะไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนตามผลงานพนักงานจะได้รับการตักเตือนหรือบอกกล่าวถึงข้อบกพร่องของตนเพื่อให้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขตนเอง หากยอมปรับปรุงก็จะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนในปีถัดไป ส่วนผู้ที่มีผลงานไม่เป็นที่พอใจอย่างยิ่งหรือมีผลงานไม่ดีติดต่อกันเป็นเวลานานอาจถูกปลดออกจากงานได้นั้น การที่ลูกจ้างมีผลงาน ไม่เป็นที่พอใจนายจ้าง ได้ถูกตักเตือนถึงข้อบกพร่องหลายครั้งหลายหนตลอดมาเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหลายครั้ง หลังจากนั้นนายจ้างจึงได้ปลดลูกจ้างออกจากงาน ถือได้ว่าลูกจ้าง ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้วตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658-2659/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระค่างานที่ทำไปแล้วตามสภาพผลงานจริง และค่าฤชาธรรมเนียม
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วเพราะจำเลยทั้งสองทำผิดสัญญา จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยผิดสัญญา อันเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองยังไม่เลิกกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงรวมอยู่ในประเด็นที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองเลิกกันแล้วหรือยังด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว ดังนี้ ที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่อีกนั้น จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยจ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคาร ในสัญญาจ้างแบ่งเงินค่าจ้างออกเป็นงวดๆ โดยงวดสุดท้ายกำหนดชำระเป็นจำนวนเกือบจะเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาต่อกันโดยกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังเป็นอยู่เดิม ส่วนการงานที่โจทก์ได้กระทำให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้น จำเลยทั้งสองจำต้องใช้เงินให้โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว ค่าแห่งการงานที่จะต้องชดใช้กันนั้นไม่จำต้องมีราคาตรงตามงวดของงานที่ระบุไว้ในสัญญา ต้องพิจารณาถึงผลงานที่ทำให้ไปแล้วทั้งหมด
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างเหมาผลงาน การบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ
จำเลยจ้างโจทก์ว่าความ โจทก์ทำฟ้องและคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไปยื่น ศาลนัดไต่สวนและยังไม่ได้รับประทับฟ้อง จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เป็นผลให้โจทก์ต้องหยุดดำเนินคดีให้จำเลย โจทก์ยังดำเนินคดีไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่โจทก์
ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม: สิทธิเรียกร้องเงินยืมทดรองเมื่อผลงานไม่ได้รับการอนุมัติ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบสร้างคานเรือ150,000 บาท จำเลยผ่อนชำระ 50,000 บาท ที่เหลือไม่ชำระ จึงขอให้ศาลบังคับ จำเลยให้การว่าไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ดังกล่าว แต่จำเลยใช้ให้โจทก์ออกแบบสร้างคานเรือในฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างส่วนตัวของจำเลย ถ้าการท่าเรือกรุงเทพฯ ตกลงรับแบบการสร้างคานเรือของโจทก์จำเลยจะให้บำเหน็จรางวัลเป็นเงินโบนัสสิ้นปีแก่โจทก์ตามสมควร ส่วนเงิน 50,000 บาท นั้น จำเลยได้ให้แก่โจทก์ไปจริง คือให้โจทก์ยืมทดรองไปใช้ก่อน ถ้าการท่าเรือกรุงเทพฯ ไม่ได้ใช้แบบสร้างคานเรือของโจทก์ โจทก์จะต้องคืนให้จำเลย บัดนี้ การท่าเรือกรุงเทพฯไม่ได้ใช้แบบสร้างคานเรือของโจทก์ จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกเงิน 50,000 บาทคืนจากโจทก์ ดังนี้คำฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง ศาลต้องรับคำฟ้องแย้งไว้ดำเนินการต่อไปตามกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำไม้ ค่าจ้างตามผลงานบางส่วน และการชดใช้เงินเกินจำนวน
ผู้รับจ้างทำงานสำเร็จบางส่วนแต่ผู้ว่าจ้างก็ยอมรับเอาศาลอาจให้ผู้ว่าจ้างใช้ค่าจ้างให้เพียงบางส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าจ้างงานโดยมิได้มีลูกจ้างจริง แต่ได้ผลงานและไม่มีความเสียหาย จึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเป็นผู้กำกับแขวงการทาง ได้จ้างเหมาบุคคลภายนอกขนลูกรังมากองตามถนนสายที่กำลังก่อสร้าง แล้วทำบัญชีเป็นว่ามีคนงานของแขวงการทางนั้นทำการขนลูกรังเองแล้วเบิกจ่ายเงินค่าจ้างรายวันพร้อมทั้งเงินเพิ่มพิเศษประจำเดือนชั่วคราวและเงินยังชีพให้แก่คนงานเหล่านั้น โดยกรอกชื่อบุคคลต่างๆ ลงในบัญชีกับให้ลงลายมือชื่อว่าได้รับเงินค่าจ้างในฐานเป็นคนงานของแขวงการทางนั้นจากจำเลยแล้ว ซึ่งความจริงบุคคลที่ลงชื่อในบัญชีดังกล่าวมิได้เป็นคนงานของแขวงการทางเลยหากจำเลยได้เอาเงินที่เบิกมาได้นั้นจ่ายให้แก่ผู้รับเหมาไป ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าวิธีที่จำเลยให้บุคคลภายนอกรับงานไปทำนั้น ได้ผลงานดีกว่าที่จะให้คนงานรายวันของกรมทางทำเอง ค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้รับเหมาก็ย่อมเยาและจำเลยได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้ผู้รับเหมารับไปจริงๆไม่มีการเบียดบังเอาไว้เลยจึงไม่มีการเสียหาย จำเลยย่อมไม่ผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา133, 230 ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 736,737/2478,1189/2480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18803-18804/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างอิงถึงผลงานผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการศึกษาและนำแนวคิดมาสร้างสรรค์
เนื้อหาในภาพยนตร์เรื่อง "เปนชู้กับผี" ไม่ถึงกับแสดงว่ามีการดัดแปลงมาจากนิยายผีของ ห. การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์จากนิยายผีของ ห. นั้น การได้แรงบันดาลใจนั้นอาจเป็นเพียงความคิดเท่านั้น ซึ่งลำพังแนวความคิดไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 วรรคสอง งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองต้องมีการนำความคิดมาแสดงออกเป็นงานแล้ว เมื่อมีแต่บางส่วนที่มีแนวความคิดคล้ายกันหรือใช้แนวความคิดของ ห. ที่ได้เป็นแรงบันดาลใจ ก็ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงงานวรรณกรรมนิยายผีที่ ห. เป็นผู้สร้างสรรค์มาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "เปนชู้กับผี"
ภาพผีไต่ลงจากเสาห้อยหัวลงปรากฏว่าเคยมีคนใช้แนวคิดลักษณะเช่นนี้มาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นแนวคิดจินตนาการลักษณะอาการของผีให้น่ากลัว หาใช่ว่าบุคคลใดใช้แนวความคิดวาดภาพเช่นนี้แล้วจะหวงกันให้ผู้อื่นไม่มีสิทธิใช้แนวคิดนี้ไปสร้างงานของตนได้
แม้การโฆษณาอาจทำให้เข้าใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากงานวรรณกรรมของ ห. แต่โฆษณามีรายละเอียดต่อมาอีกมาก เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นการยกย่องผลงานของ ห. และจำเลยที่ 1 ได้แรงบันดาลใจจากผลงานดังกล่าว นอกจากนี้ ในฉากจบยังมีข้อความว่า "ความดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ขออุทิศแด่ ห. บรมครูศิลปินผู้เป็นแรงบันดาลใจ" ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 เกรงว่าคนจะเข้าใจผิด ก็ได้รีบเชิญสื่อมวลชนมารับทราบว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่ได้สร้างจากนิยายผีของ ห. แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ต้องการยกย่องและแสดงถึงการสร้างภาพยนตร์โดยได้แรงบันดาลใจจากงานของ ห. จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้โจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 ต้องเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10660/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความที่ไม่สุจริต: ศาลปรับลดค่าจ้างตามผลงานจริง แม้สัญญาจะระบุอัตราตามทุนทรัพย์
แม้สัญญาจ้างว่าความระบุให้โจทก์ในฐานะทนายความจำเลยดำเนินคดีต่อศาลแรงงานกลางเรียกร้องค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินโบนัส ค่าเสียหายในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่ค้างชำระ และเงินรางวัลขยันระหว่างปี แต่การที่โจทก์ซึ่งทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด กลับระบุในคำฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายบางส่วน สูงเกินสิทธิที่จำเลยจะได้รับ และบางส่วนจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเลย ทั้งนี้เพื่อให้จำนวนทุนทรัพย์ในคดีสูงเกินจริงเพื่อประโยชน์ในค่าจ้างว่าความที่ตนจะได้รับจากจำเลยในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนทุนทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างว่าความ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ไม่อาจถือเอาจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างว่าความตามสัญญาจ้างว่าความได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ได้กระทำการตามสัญญาจ้างว่าความจนศาลแรงงานกลางและศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยได้รับชดใช้ค่าเสียหายไปบางส่วนจนคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำเป็นจำนวน 15,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลงานมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อย
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะของเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นโดยวิธีใด ๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลงานไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยไม่ต้องตักเตือนก่อน หากเป็นกรณีความสามารถในการปฏิบัติงาน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุให้สิทธินายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุขาดสมรรถภาพไว้ว่า "ในกรณีที่พนักงานไม่สามารถจะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทโดยที่บริษัทได้ให้การอบรมหรือฝึกสอนแล้วก็ตาม หรือจากการขาดงานบ่อย ๆ หรือจากการขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจงาน หรือได้รับการประเมินต่ำจากผู้บังคับบัญชาหลายครั้ง และบริษัทได้ตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษอย่างอื่นมาแล้ว" สิทธิของนายจ้างที่จะเลิกจ้างดังกล่าวแยกได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ กรณีลูกจ้างไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของนายจ้างกรณีหนึ่ง และกรณีที่ลูกจ้างขาดงานบ่อย ๆ หรือขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจงาน หรือได้รับการประเมินต่ำจากผู้บังคับบัญชา โดยกรณีแรกนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ก็โดยนายจ้างให้การอบรมหรือฝึกสอนแล้วลูกจ้างก็ยังไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของนายจ้างได้ ซึ่งเป็นกรณีความสามารถของลูกจ้างที่ไม่อาจปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของนายจ้างได้ ส่วนในกรณีหลังซึ่งเป็นกรณีที่ลูกจ้างขาดงานบ่อย ๆ หรือขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจงาน หรือได้รับการประเมินต่ำจากผู้บังคับบัญชาหลายครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นกรณีเกี่ยวกับความประพฤติของลูกจ้างซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ในกรณีหลังนี้นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างเคยตักเตือนเป็นหนังสือหรือเคยลงโทษลูกจ้างมาแล้ว แต่ลูกจ้างไม่ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นจนเป็นที่พอใจของผู้บังคับบัญชา ดังนั้น ข้อที่ว่านายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษมาแล้วจึงหาเป็นบทบังคับไปถึงกรณีแรกด้วยไม่ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จากการประเมินผลงานของโจทก์หลายครั้ง ผลงานของโจทก์ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและยังไม่ได้มาตรฐานของจำเลยอันเป็นกรณีโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษอย่างอื่นมาก่อน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แม้จะไม่ได้ตักเตือนเป็นหนังสือหรือลงโทษโจทก์มาก่อน จึงชอบด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 5