คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลประโยชน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้เข้าใจผิดเพื่อหวังผลประโยชน์ และการยอมความมีเงื่อนไขที่ไม่ทำให้สิทธิในการฟ้องอาญา ระงับ
จำเลยเพียงแต่หลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยจะช่วยติดต่อให้ผู้เสียหายเข้าทำงานเป็นสารวัตรทหารได้โดยไม่ต้องสอบเท่านั้นผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยไป ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้ข้าราชการทหารคนใดกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายใช้ให้ผู้ใดกระทำผิดกฎหมาย ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ได้ ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำบันทึกกันไว้ว่า ถ้าจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด ผู้เสียหายก็จะไม่เอาเรื่องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา มิใช่เป็นการยอมความโดยสิ้นเชิง หากแต่เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไข การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการขู่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ข่มขู่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานยศสิบตำรวจเอกได้พูดกับโจทก์ร่วมว่าร้านของโจทก์ร่วมเป็นเจ้ามือหวยเถื่อน อย่างนี้ต้องมีผลประโยชน์และให้เอาเงินใส่ซองมาให้บ้าง ถ้าไม่ให้จะตาม สวป. (สารวัตรปกครองป้องกัน) มาดำเนินการจับกุมเมื่อโจทก์ร่วมไม่ให้เงินแก่จำเลยจำเลยได้ไปแจ้งเหตุต่อสารวัตรปกครองป้องกันว่า พวกในตลาดกำลังเล่นการพนันสลากกินรวบขอให้ไปทำการจับกุมตามที่จำเลยขู่โจทก์ร่วมแต่ปรากฏว่าไม่มีการเล่นแต่อย่างใดถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจูงใจเพื่อให้โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้ โดยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชั่วคราวให้วางเงินจากผลประโยชน์กิจการ ไม่ใช่การบังคับเอาแก่ทรัพย์สิน
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์ก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 โดยให้จำเลยนำเงินที่ได้จากการบริหารกิจการโรงแรม น. มาวางศาลเดือนละ150,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีลักษณะเป็นการบังคับให้จำเลยนำผลประโยชน์ที่ได้รับในการบริหารกิจการโรงแรมดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีมาวางไว้ที่ศาล มิใช่เป็นเรื่องประสงค์จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำเลยจะขอวางหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสมของผู้ถูกเสนอชื่อตามข้อเท็จจริงและผลประโยชน์ของทายาท
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 หรือ น. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้อื่นหรือไม่เท่านั้น เมื่อพินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างไม่มีข้อความกำหนดแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยไปถึงว่า พินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต แม้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อรักษาผลประโยชน์ตนเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ทั้งสามในคดีนี้ แต่จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น และขอวิธีการชั่วคราวนั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามปกติส่วนจำเลยที่ 1 ขอให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน โดยอ้างหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคแรกถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามปกติ ยังไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 จงใจประวิงการบังคับคดีให้ล่าช้า และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องใหม่กับคดีเดิมเป็นคดีที่สืบเนื่องกันมิใช่เป็นการฟ้องคดีเรื่องอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 วรรคแรก ไม่เป็นการขอให้งดการบังคับคดีได้ และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 นำเงินที่จะต้องชำระแก่โจทก์ในคดีนี้ไปวางต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อโจทก์ทั้งสามขอรับเงินที่วางจำเลยที่ 1 แถลงคัดค้านมิให้จ่ายโดยอ้างว่าหากจ่ายไปจำเลยที่ 1 ชนะคดีจะทำให้ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้นั้นก็ไม่มีความสำคัญในทางคดี กรณีเพียงจำเลยที่ 1 พยายามดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางรักษาผลประโยชน์ตนอย่างจริงจัง แต่ไม่ถึงขั้นที่จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5820/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การรอให้กรรมการที่ชอบดำเนินการแทนก่อน
เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในฐานะผู้ถือหุ้นที่ใช้อำนาจครอบงำการจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนในบริษัทโดยฟ้องเพิกถอนรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ ย.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งกับพวกจัดทำอันเป็นเท็จ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทแล้ว ขั้นต่อไปย่อมเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งโดยชอบจะเข้ามาดำเนินกิจการ แล้วพิจารณาว่าสมควรฟ้องร้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ย.ในฐานะผู้แทนโดยมิชอบของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 หรือไม่ต่อไป โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหาได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะก้าวล่วงมาฟ้องในชั้นนี้เสียเองต่อบริษัทจำเลยที่ 7 ที่ 8 และจำเลยอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทภาษีการค้าและภาษีเงินได้ของตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ โดยพิจารณาจากลักษณะการกระทำและผลประโยชน์ที่ได้รับ
การที่จะพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ตาม ป.รัษฎากรนั้น จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ได้กระทำการของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้นแล้วว่าลักษณะของการกระทำเช่นนั้น เข้าในลักษณะของการประกอบการค้าในประเภทใดตามที่กฎหมายกำหนด จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารของผู้ประกอบการหรือการที่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้น มาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการค้าได้กระทำการประกอบการค้าที่จะต้องเสียภาษีการค้าในประเภทใดนั้น ย่อมไม่ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก กรณีของโจทก์นั้นมีข้อพิจารณาจากการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว 3 ประการด้วยกันคือ ข้อปฏิบัติของโจทก์กับบริษัท อ. ข้อปฏิบัติของโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและข้อปฏิบัติขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับบริษัท อ.ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ในการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวนั้น บริษัท อ.จะส่งใบแจ้งราคาและแคตตาล็อกมาให้โจทก์โดยไม่คิดเงิน โจทก์จะต้องจัดให้มีห้องแสดงสินค้าของบริษัท อ.ด้วย และต้องไม่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแข่งขันกับบริษัท อ.ทั้งห้ามมิให้โจทก์ส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศอื่นและจะเปิดเผยความลับทางธุรกิจให้ผู้อื่นทราบไม่ได้ ส่วนในการที่โจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น ราคาสินค้าที่โจทก์จำหน่ายเป็นราคาที่บริษัท อ.เป็นผู้กำหนด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท อ.และบริษัท อ.จะรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของสินค้า การซ่อมแซมสินค้าดังกล่าว บริษัท อ.จะส่งช่างเข้ามาซ่อมในประเทศไทยหรือส่งสินค้าไปให้บริษัท อ.ซ่อมที่ประเทศสวีเดนก็ได้และการจ่ายเงินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ่ายให้แก่บริษัท อ.ในประเทศสวีเดน โดยธนาคารโลกเป็นผู้จ่ายให้ในนามขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จากนั้นบริษัท อ.จะส่งราคาส่วนต่างระหว่างราคาตามที่ระบุไว้กับองค์การโทรศัพท์กับราคาที่โจทก์กำหนดไว้กับบริษัท อ.มาให้โจทก์ในประเทศไทย สำหรับสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น โจทก์มิใช่เป็นผู้ที่จะได้รับเงินค่าสินค้าตามสัญญาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการออกของและค่าใช้จ่ายในการขนส่งภายในประเทศรวมทั้งรับผิดชอบในการจัดเก็บอุปกรณ์ด้วย โจทก์ไม่มีหน้าที่อะไรจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับตัวสินค้าที่กำหนดในสัญญา ส่วนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยคงมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องส่งเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท อ.และได้ส่งให้ตามสัญญาโดยครบถ้วนแล้ว การกระทำของทั้งสามฝ่ายดังที่กล่าวข้างต้นนั้น ฝ่ายใดจะถือว่าเป็นผู้ขายหรือผู้ซื้อหรือตัวแทนของฝ่ายใดนั้นจะต้องพิจารณาจากความหมายของคำว่า "ขาย" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 77 เสียก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า ขาย นั้น จะต้องมีประโยชน์ตอบแทนด้วย และประโยชน์ตอบแทนในความหมายของมาตรานี้ก็คือราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินตามราคาตลาดของทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "มูลค่า" ดังที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกัน ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นนั้น บริษัท อ.มิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์ตามมูลค่าของสินค้าที่มีการขายเลย กลับจะต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามราคาส่วนต่างที่ตกลงกันไว้การกระทำระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงมิใช่ลักษณะของคำว่าขายตามนัยแห่งบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีการขายระหว่างกันเสียแล้วเช่นนี้ กรณีตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นผู้ซื้อและผู้ขายในระหว่างกันและตามสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันเสร็จสิ้นไปแล้วนั้น โจทก์มิได้รับเงินจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นคู่สัญญาตามมูลค่าของสินค้าที่ระบุไว้ในฐานะที่เป็นของตนเองแต่ประการใดข้อปฏิบัติมีการขายระหว่างกัน โจทก์จะนำการกระทำที่ปฏิบัติกันไปแล้วเช่นนั้นมาอ้างว่า กรณีเช่นนี้ตนเป็นผู้ประกอบการค้า ประเภทประกอบการขายของไม่ได้แต่คำว่า ขายนั้นมีขึ้นระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับบริษัท อ.เท่านั้นโจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละ 4 ของราคาขายมิได้รับค่าตอบแทนที่เป็นส่วนในมูลค่าของสินค้าที่ขายกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์จะไม่มีทางขาดทุนในการขายเลย อันเป็นการผิดหลักของการค้าขายโดยทั่วไปที่อาจจะต้องมีทั้งกำไรและขาดทุน ค่าตอบแทนของโจทก์ในลักษณะอย่างนี้เป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแทนบริษัท อ.นั่นเอง จึงต้องถือว่ากรณีที่เป็นข้อพิพาทกันนี้โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
การกระทำของโจทก์ในอาณาเขตของประเทศไทย โจทก์จะต้องจัดให้มีห้องแสดงสินค้าของบริษัท อ.ต้องไม่ขายสินค้าชนิดเดียวกันแข่งกับบริษัท อ. และขายสินค้าของบริษัทดังกล่าวได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นจะส่งไปจำหน่ายยังประเทศอื่นอีกไม่ได้ ต้องรายงานการขายให้บริษัทดังกล่าวทราบ และจะเปิดเผยความลับทางธุรกิจให้ผู้อื่นทราบไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าในการประกอบกิจการของโจทก์ ตั้งแต่ปี 2508-2515 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการประกอบธุรกิจในประเทศไทยของโจทก์ โจทก์ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะประกอบกิจการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น บริษัท อ.จึงต้องส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยตรง โจทก์เพียงอำนวยความสะดวกแก่พนักงานของบริษัท อ.ที่เข้ามาจำหน่ายโทรคมนาคมขนาดใหญ่ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น โดยในขณะนั้นโจทก์ไม่มีอำนาจในการเจรจาการทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า ผู้ขายที่แท้จริงคือบริษัท อ. ฐานะของโจทก์เป็นเพียงตัวแทนในการทำสัญญาเท่านั้น การที่โจทก์ตกลงทำสัญญาต่าง ๆ เพื่อหรือแทนบริษัท อ.อันเป็นวิสาหกิจสวีเดนในประเทศไทยโจทก์จึงมีฐานะเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท อ.อันเป็นวิสาหกิจสวีเดนในอาณาเขตของประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ในความตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากรายได้และจากทุนข้อ 2 ช. (4) 1. นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถ้อยคำว่า "สาขา"แล้วไม่มีนิยามไว้เป็นอย่างอื่น ในความตกลงดังกล่าวต้องถือตามความหมายที่กำหนดไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (2) อันเป็นกฎหมายของรัฐบาลคู่ภาคีตามที่กำหนดไว้ในความตกลงดังกล่าว ข้อ 2 (2) จึงย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร จึงต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อีกฐานะหนึ่งด้วย อันต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และภาษีที่โจทก์จะต้องเสียในอาณาเขตของรัฐบาลไทยอันเป็นคู่กรณีนั้น ไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่โจทก์จะได้รับประโยชน์จากความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
โจทก์มีฐานะเป็นสาขาและสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัท อ.ด้วย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้จ่ายเงินตามสัญญาให้บริษัท อ.โดยโจทก์เป็นตัวแทนในการทำสัญญาซื้อขายในประเทศไทยสัญญาที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นการซื้อขายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องจ่ายเงินตามสัญญาให้บริษัท อ.ในประเทศสวีเดนและได้มีการจ่ายกันไปแล้ว เหตุที่มีข้อสัญญาให้มีการจ่ายเงินในวิธีการดังกล่าวนี้ โจทก์อ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่จะไม่ต้องเสียค่าปริวรรตเงินตราถึงสองครั้ง ทำให้ราคาสินค่าต่ำลง แต่เมื่อพิจารณาถึงวิธีการจ่ายเงินตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเป็นสัญญาที่มีข้อตกลงในลักษณะพิเศษ มิได้เป็นไปตามปกติธรรมดาของการซื้อขายสินค้าทั่ว ๆ ไป ที่คู่กรณีในสัญญาจะต้องจ่ายเงินค่าสินค้าให้แก่กัน แต่กลับระบุให้จ่ายแก่บริษัท อ.ซึ่งมิได้ปรากฏในสัญญาว่าเป็นคู่สัญญากัน และการที่ตกลงจ่ายเงินกันในลักษณะอย่างนี้ ไม่อาจมองเห็นได้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ซื้อในประเทศแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยใช้เงินกู้จากธนาคารโลกในการซื้อสินค้าตามสัญญา และธนาคารโลกนั้นมีเงินหลายสกุลที่จะจ่ายให้ แม้กระทั่งเงินในสกุลของประเทศสวีเดนที่บริษัท อ.มีภูมิลำเนาอยู่ ถ้าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะตกลงจ่ายเงินสกุลนี้ในประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็มิต้องเสียค่าปริวรรตเงินตราแต่ประการใด คงมีแต่โจทก์หรือบริษัท อ.เท่านั้นที่จะต้องเสียประโยชน์ในการปริวรรตเงินตราหรือจะต้องเสียประโยชน์ในกรณีที่จะต้องจำหน่ายเงินนี้ออกไปจากประเทศไทย อันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่าข้อตกลงนี้มีขึ้นเพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้ประโยชน์ตกได้แก่โจทก์และบริษัท อ.ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปริวรรตเงินตราหรือการภาษีอากร ในเมื่อการเช่นนี้ถ้าทำตามหลักการค้าทั่วไปจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนที่ปรากฏตามสัญญาในประเทศไทย และอยู่ในบังคับความรับผิดในเรื่องภาษีอากรตามที่ ป.รัษฎากรกำหนด แต่ด้วยวิธีการในการทำสัญญาของโจทก์เป็นเหตุให้เงินจำนวนมากนี้มิได้เข้าจ่ายในประเทศไทย โจทก์เพียงใช้สถานที่ในประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์และบริษัท อ.ในต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่ประกอบการให้เกิดประโยชน์นั้นมิได้รับประโยชน์ในเงินส่วนนี้เลย ทั้ง ๆ ที่โดยความชอบธรรมแล้วเงินจำนวนนี้จะต้องตกอยู่ในประเทศไทย กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินดังกล่าวออกไปจากประเทศไทย
ในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้น บริษัท อ.เป็นผู้กำหนดราคาตามสัญญา และบริษัท อ.นั้น ประกอบธุรกิจในการขายเครื่องโทรคมนาคมในหลายประเทศมานานแล้ว แสดงว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเชิงธุรกิจด้านนี้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น ในการกำหนดราคาขายจะต้องมีการวิเคราะห์คำนวณถึงส่วนได้เสียที่ตนจะได้รับอย่างครบถ้วนแล้ว คงจะไม่กำหนดราคาขายเพียงเท่าต้นทุนการผลิตของตนและค่าใช้จ่ายที่เห็นชัดแจ้งล่วงหน้าแล้วเท่านั้นจะต้องรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า ในช่วงที่มีการทำสัญญาซื้อขายส่งมอบสินค้าและชำระเงินกันนั้น มีวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ผลกำไรที่คิดคำนวณไว้ที่จะได้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทำให้มีการขาดทุนขึ้น ดังนั้น เงินที่โจทก์ในฐานะเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท อ.จำหน่ายออกไปทั้งหมดนั้น จึงมิใช่เฉพาะส่วนที่เป็นเงินค่าสินค้าเท่านั้นแต่เป็นเงินที่เป็นส่วนของเงินกำไรรวมอยู่ด้วย และกำไรส่วนนี้เป็นกำไรที่เกิดจากการซื้อขายในประเทศไทย มิใช่กำไรส่วนที่อยู่ต่างประเทศ เมื่อโจทก์เป็นผู้ส่งเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการฉ้อโกง: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง มิใช่ผู้เสียผลประโยชน์ทางอ้อม
การที่จำเลยนำเช็คที่บริษัท ล. สั่งจ่ายให้โจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมสลักหลังให้จำเลยแล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารตามเช็คเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลย แม้จะเป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำต่อธนาคารและเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์ร่วม หากโจทก์ร่วมจะได้รับความเสียหายเพราะเสียสิทธิที่จะได้รับเงินตามเช็คไป ก็เป็นความเสียหายที่โจทก์ร่วมได้รับในความผิดฐานปลอมเอกสาร หาใช่ความเสียหายจากการหลอกลวงของจำเลยไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงและไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 12 ที่โจทก์ฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนการเรียกรับเงินและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
สภาตำบลซึ่งมีจำเลยเป็นประธานสภาเสนอโครงการสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก และได้รับอนุมัติ ต่อมาจำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมการปกครองกล่าวหาผู้เสียหายซึ่งเป็นนายอำเภอพุนพินว่าเรียกร้อง เงินค่าอนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวจากจำเลยจำนวน 2,000 บาท ซึ่งตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่ามีการเรียกร้องและรับเงิน 2,000 บาทจากจำเลย ฉะนั้น การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนดังกล่าวจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมในฐานะประธานสภาตำบลและราษฎรในตำบล กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนและการยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท
สภาตำบลซึ่งมีจำเลยเป็นประธานสภาเสนอโครงการสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก และได้รับอนุมัติ ต่อมาจำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมการปกครองกล่าวหาผู้เสียหายซึ่งเป็นนายอำเภอว่าเรียกร้องเงินค่าอนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวจากจำเลยจำนวน 2,000 บาท ซึ่งตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีน่าเชื่อว่ามีการเรียกร้องและรับเงิน 2,000 บาทจากจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนดังกล่าวจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมในฐานะประธานสภาตำบลและราษฎรในตำบล กรณีต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329(1)จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท.
of 14