พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานและผลผูกพันจากเอกสารการซื้อขาย แม้มีผู้รับมอบอำนาจช่วง และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบัญชีพยานอันดับ 1 ในช่องชื่อพยาน โจทก์ระบุว่าผู้รับมอบอำนาจขออ้างตนเองเป็นพยานโดยมิได้ระบุที่อยู่ของพยานเป็นการระบุถึงสถานะของพยานโจทก์ว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คือ ข. ส่วน ป. เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ข. แม้ตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ให้อำนาจข. มอบอำนาจช่วงได้ แต่สถานะของผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วงต่างกันจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ระบุ ป. เป็นพยาน แต่โจทก์นำ ป. มาเบิกความเพื่อประกอบเอกสารที่แสดงว่า จำเลยสั่งซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างคงนำสืบเพียงว่า การที่กรรมการของจำเลยลงชื่อในใบสั่งซื้อคนเดียวแสดงว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์นำ ป. เข้าเบิกความ จำเลยก็มิได้คัดค้าน กรณีไม่ปรากฏว่าโจทก์ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี อีกทั้งจำเลยไม่เสียเปรียบและไม่เสียหาย ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงรับฟังคำเบิกความของ ป. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
ตามหนังสือรับรองระบุว่า กรรมการของจำเลยมี 4 คน ซึ่งรวมทั้ง ว. ด้วย กรรมการ 2 คน ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยจึงมีผลผูกพันจำเลย แต่การที่ ว. ลงชื่อสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ใบสั่งซื้อซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลย เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่ง พนักงานของจำเลยได้รับสินค้านั้น และต่อมา ว. ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ โดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลยอีก ย่อมแสดงว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว แม้เป็นการยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์นั้นแต่ทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
ตามหนังสือรับรองระบุว่า กรรมการของจำเลยมี 4 คน ซึ่งรวมทั้ง ว. ด้วย กรรมการ 2 คน ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยจึงมีผลผูกพันจำเลย แต่การที่ ว. ลงชื่อสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ใบสั่งซื้อซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลย เมื่อโจทก์นำสินค้าไปส่ง พนักงานของจำเลยได้รับสินค้านั้น และต่อมา ว. ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ โดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลยอีก ย่อมแสดงว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว แม้เป็นการยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์นั้นแต่ทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีจำนองที่มีต่อคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการบังคับชำระหนี้
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้ มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น เพราะจำเลยจดทะเบียนจำนองประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม2529 ให้โจทก์ในฐานะผู้ร้องในคดีดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญในต้นเงินไม่เกิน 7,000,000 บาท เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคดีนี้ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงต้องฟังว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2529
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ทำสัญญาจะซื้อขายแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยที่ 2 มารดาเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ฝ่ายผู้จะซื้อแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญา แต่การแสดงออกดังกล่าวเป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 และการนำสืบว่าจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็หาจำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ไม่ ทั้งหาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อขายอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่ เพราะเป็นแต่เพียงการนำสืบความจริงว่าจำเลยที่ 2 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนเข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10872/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจากสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. สิทธิได้มาโดยครอบครองปรปักษ์: ผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันเฉพาะคู่กรณี แม้ศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็เพียงแต่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเท่านั้น แต่สิทธิของผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นด้วยผลของกฎหมาย เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดยืนยันสิทธิดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน ส. กับพวก ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันทุกคน และผลของคำพิพากษานั้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ให้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก่อนการจดทะเบียนสิทธิให้แก่โจทก์จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน ผลผูกพันคำเบิกความต่อโจทก์อื่น การไม่รับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ซึ่งกำหนดว่า "ผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ทุกคนตั้งแต่เริ่มคดีหรือตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีดังกล่าวผูกพันโจทก์ทุกคน" ฉะนั้นภายหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานในคดีจึงต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย คำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามเอกสารหมาย จ.20 และรายละเอียดแนบท้ายหนังสือดังกล่าวซึ่งระบุถึงจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง ถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำเบิกความผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน การไม่รับฟังพยานหลักฐานอาจเปลี่ยนแปลงผลคดีได้
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานจึงมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ทางพิจารณาโจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ได้สาบานตนและให้การต่อพนักงานตรวจแรงงงาน หรือเบิกความต่อศาลว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้าง ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 โดยมิได้พิจารณาคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำเบิกความของผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน การพิจารณาพยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟัง
การที่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีนั้น เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 35วรรคสามและวรรคสี่ ภายหลังได้รับแต่งตั้งแล้วโจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานอย่างไรก็ต้องถือว่าคำเบิกความดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ดังนั้นแม้โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จะมิได้เบิกความด้วยตนเองถึงเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามหนังสือที่ระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายแก่โจทก์แต่ละคนอย่างชัดแจ้งก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องดังกล่าวมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันแม้ระบุแหล่งเงินชำระหนี้ หากลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้
แม้หนังสือรับสภาพหนี้จะมีข้อความชัดเจนว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่บริษัทจำเลยที่ 1 ซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เพื่อนำไปก่อสร้างสถานบริการน้ำมัน โดยจำเลยที่ 2 จะได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัท บ. เมื่อได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าวแล้วจะชำระเงินให้แก่ห้างฯ โจทก์ทันทีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์และผิดนัด จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ตามกฎหมาย ส่วนเงินที่นำมาชำระหนี้จะนำมาจากที่ไหนเป็นเรื่องของจำเลยที่ 2 ดังนั้น ข้อความที่ระบุว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัท บ. และนำมาชำระหนี้แก่โจทก์นั้น จึงมีความหมายเพียงว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จะนำมาชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้มาจากที่ไหนเท่านั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขในการชำระหนี้อันจะทำให้โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องรวมทายาทผู้รับมรดกเป็นคู่ความหรือไม่?
โจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินสาขา จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ ม. มารดาซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วออกจากโฉนดที่ดินและน.ส.3 โดยอ้างว่า ว. บิดาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ก่อนตายม. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวมาแต่ต้น อันถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมและการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยการแก้ไขข้อสัญญาหลังมีคำพิพากษาทำไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความแห่งข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีข้อความว่าจำเลยทั้งสองสัญญาว่าจะชำระเงินภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป และสัญญาข้อ 2.1 มีข้อความว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้ว แต่ไม่เกิน 1 ปีดังกล่าวในข้อ 2 เห็นได้ว่า ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีความหมายชัดเจนแปลความได้โดยนัยเดียวว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญา ข้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้ขัดกัน
กรณีที่จะต้องมีการตีความแห่งข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีข้อความว่าจำเลยทั้งสองสัญญาว่าจะชำระเงินภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป และสัญญาข้อ 2.1 มีข้อความว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้ว แต่ไม่เกิน 1 ปีดังกล่าวในข้อ 2 เห็นได้ว่า ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีความหมายชัดเจนแปลความได้โดยนัยเดียวว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญา ข้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้ขัดกัน