คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย: นับแต่วันผิดนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยทั้งสองให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งศาลชอบที่จะวินิจฉัยได้จากคำฟ้องประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายในคำฟ้องปรากฏข้อความชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองตกลงจดทะเบียนโอนที่ดินในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2528ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายก็ปรากฏข้อความว่าจำเลยทั้งสองจะทำการโอนกรรมสิทธิ์กันให้ถูกต้องตามกฎหมายในปี2528 อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนโอนที่ดินภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็นอย่างช้าที่สุด ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ดำเนินการทางทะเบียนให้แก่โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็นต้นไป เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องอยู่ในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/30บัญญัติไว้ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2538 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีในวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เกินกว่ากำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามบทบัญญัติ แห่ง ป.พ.พ. มาตรา193/9 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย: คำนวณจากวันผิดนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
ในคำฟ้องปรากฏข้อความว่าจำเลยตกลงจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้โจทก์ในวันที่ 11กุมภาพันธ์ 2528 ส่วนหนังสือสัญญาจะซื้อขายก็ปรากฏข้อความว่าจำเลยจะทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในปี 2528 แสดงว่าจำเลยต้องจดทะเบียนโอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม2528 เป็นอย่างช้าที่สุด ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ดำเนินการทางทะเบียนให้แก่โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2528 เป็นต้นไปและสิทธิเรียกร้องของโจทก์มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีอย่างช้าภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2538 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 1 กรกฎาคม2542 เกินกว่ากำหนด 10 ปี จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9660/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องได้ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับว่าศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องก่อนมีคำสั่ง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์ผิดนัด: จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อความตามแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อรถยนต์ของจำเลยมีว่า "จองวันนี้รับฟรีโทรศัพท์มือถือ โทรฟรีทั่วไทย บี.เอ็ม.ดับบลิว/เปอร์โยต์ ลักกี้เดย์ ทุกรุ่นทุกแบบผ่อนฟรีไม่มีดอกเบี้ย แถมประกันภัยชั้น 1 ฟรี" ถือว่าเป็นเงื่อนไขในข้อเสนอขายของจำเลย เมื่อโจทก์เข้าสนองตอบตามข้อเสนอขาย โดยเข้าทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท กับจำเลย แต่จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อความในแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนทั้งต่อมายังนำรถยนต์พิพาทกลับไปไว้ในความครอบครองของจำเลยไม่ส่งมอบคืนให้โจทก์ได้ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์พิพาท จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและฟ้องคดี ถือได้ว่าสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท เลิกกันโดยปริยาย มีผลให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยรับรถยนต์พิพาทกลับคืนมาไว้ในความครอบครองแล้วจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามสัญญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 378 (3) ส่วนการที่โจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์พิพาทก่อนที่จำเลยนำกลับคืนไป โจทก์จึงต้อง ชำระค่าใช้ทรัพย์และค่าเสียหายที่จำเลยเสียไปในการซ่อมแซมรถยนต์พิพาทให้คืนสภาพดีดังเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง เงินเพิ่มร้อยละ 15 ไม่บังคับใช้ แม้ไม่จ่ายตามกำหนด
เงินโบนัสที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานมิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ในคำนิยามของคำว่าสภาพการจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินค่าจ้างค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
คู่มือการบริหารงานบุคคลระบุว่า ธนาคารนายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานปีละ 2 ครั้ง พนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจะต้องปฏิบัติงานในงวดนั้นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และต้องอยู่ปฏิบัติงานจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีงวดแรกคือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ทำงานกับจำเลยมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสในงวดบัญชีแรกของจำเลยตามข้อบังคับของจำเลยและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายให้ครบถ้วนจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 แต่มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นภายหลังโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จัดทำขึ้นดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกรณีผิดนัดชำระเฉพาะค่าจ้าง, ข้อตกลงใหม่หลังพ้นสภาพงานไม่ผูกพัน
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานเท่านั้น มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง เงินโบนัสจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 เมื่อเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 9 วรรคสอง
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากผิดนัดจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ระบุข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2.2 ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เมื่อเช็คฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายนไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญามาครั้งหนึ่งแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือเอาข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวซึ่งเป็นเช็คชำระดอกเบี้ยในงวดที่ 2โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาค่าเสียหายจากการเช่าซื้อผิดนัดและการวินิจฉัยเรื่องการคืนรถในชั้นบังคับคดี
แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้าง แต่ตามคำบรรยายฟ้องและหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตามเอกสารฟ้องกล่าวว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดสัญญาต่อโจทก์ จนโจทก์บอกเลิกสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ในทางการค้าปกติคือ จำเลยที่ 1 ครอบครองใช้รถของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 6 ถึงวันบอกเลิกสัญญาเป็นเงิน 76,643 บาท กับค่าใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อวันละ 400 บาท นับแต่วันที่โจทก์ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อถึงวันฟ้องเป็นเงิน 68,400 บาท และนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาจนครบถ้วนพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายฐานใช้รถของโจทก์ ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองอยู่ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และชำระค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแต่ไม่เกินจำนวนเดือนที่ศาลกำหนดได้ ไม่เป็นการพิพากษา เกินคำขอและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกนั้น หมายถึง คำขอของโจทก์ในส่วนที่มิได้กล่าวไว้ในคำพิพากษา ส่วนการคืนรถยนต์แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
โจทก์กล่าวในคำแก้ฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามฟ้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: การคำนวณค่าเสียหาย, ค่าเสื่อมราคา, และดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆ ผู้เช่าซื้อจะชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วน เป็นวิธีการคำนวณค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อ มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด เงินที่ผิดนัดค้างชำระหมายถึงหนี้เงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ ศาลจึงบังคับให้ผู้เช่าซื้อชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก ส่วนราชการผู้จ่ายมีหน้าที่วินิจฉัยสิทธิ และถือเป็นผู้ผิดนัดเมื่อปฏิเสธการจ่าย
บำเหน็จตกทอดมิใช่ทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 41